กรดไหลย้อน กับ คุณแม่ตั้งครรภ์

กรดไหลย้อน กับ คุณแม่ตั้งครรภ์

กรดไหลย้อน กับ คุณแม่ตั้งครรภ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

สภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย จนบางครั้ง ทำให้คนในยุคปัจจุบันปล่อยปะละเลยปัญหาสุขภาพที่อาจมองเป็นเรื่องเล็กน้อย อย่างโรคกรดไหลย้อน และเชื่อว่าหลายๆ คน คงจะได้ยิน และรู้จักโรคนี้มาบ้าง เพราะถือเป็นโรคยอดฮิตติดอันดับต้นๆ รวมไปถึงกลุ่มคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ด้วย และเชื่อว่า คุณแม่หลาย ๆ ท่านคงจะเคยได้ยิน โรคอาหารไม่ย่อย และกรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์ แล้วเกิดความสงสัยว่าโรคนี้เป็นอย่างไร?

ซึ่ง โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้จึงได้ร่วมมือกับ บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ "กรดไหลย้อน" กับ คุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อให้ความรู้ และแนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ และคนในครอบครัว ได้รับรู้ถึงโรคนี้ พร้อมร่วมมือป้องกันได้อย่างถูกต้อง

ซึ่งในงานเสวนาดังกล่าว ได้รับเกียรติจากคุณแม่ท้อง และครอบครัว ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาสุขภาพ, คุณแม่เซเล บริตี้คนดัง ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคและอาการดังกล่าว ได้แก่ คุณมอส-ปฏิภาณ ปฐวีกานต์ และภรรยา คุณเกม- ดวงพร ปฐวีกานต์, คุณลิฟท์-สุพจน์ จันทร์เจริญและลูก และคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ นพ. ธวัช มงคลพร อายุรแพทย์ระบบทางเดินอาหารและตับ และ พญ. สิรนาถ นุชนาถ สูติ-นรีแพทย์ ร่วมงานเสวนา พร้อมทั้งยังได้รับเกียรติจากเภสัชกรหญิงผู้มากความสามารถ คุณโน๊ต-ณัฐกานต์ ประสพสายพรกุล รับหน้าที่พิธีกรดำเนินการพูดคุยในบรรยากาศที่เป็นกันเองด้วย ณ ห้องประชุมบัญชา ล่ำซำ ชั้น 6 โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เปิดเผยว่า ‘โรคกรดไหลย้อน' หรือชื่อทางการแพทย์คือโรค GERD (Gastro Esophageal Reflux Disease) คือภาวะการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารขึ้นสู่หลอดอาหาร เนื่องจากความผิดปกติของหูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารทำให้หูรูดปิดไม่สนิท ทำให้น้ำย่อยมีฤทธิ์เป็นกรดสูง เมื่อไหลย้อนขึ้นมาถึงหลอดอาหาร จะกัดกร่อนผนังหลอดอาหารสร้างความเสียหายต่อผนังหลอดอาหาร และเกิดอักเสบของหลอดอาหารขึ้น หากเป็นเรื้อรัง อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เยื่อบุหลอดอาหาร ซึ่งในที่สุดอาจกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ อาการที่พบบ่อยคือ แสบร้อนบริเวณด้านหลังของกระดูกหน้าอก (Sternum) อาจจะเกิดร่วมกับอาการอึดอัดไม่สบายบริเวณลิ้นปี่ ลำคอ ด้านนอกในช่องคอ และด้านหลังในช่องคอ

 

 

นอกจากนั้นยังอาจจะเกิดอาการ เรอ กลืนลำบาก รู้สึกร้อนในกระเพาะ แล้วมีน้ำในปริมาณค่อนข้างมากในปาก สำหรับอาการเหล่านี้ มักเป็นในช่วงหลังอาหาร หรืออาจจะเกิดช่วงกลางคืน ยิ่งถ้างอตัว อาการก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้น และเมื่อตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และระบบภายในร่างกาย จึงทำให้เกิดโรค กรดไหลย้อนได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ ส่งผลทำให้กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร จึงทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นได้จาก (1) แรงบีบของหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง ที่ต่อกับส่วนต้นของกระเพาะอาหารทำงานลดน้อยลง (2) มดลูกที่มีทารกเติบโตขึ้นตามอายุครรภ์นั้น ขยายขนาดขึ้นจนกดและดันกระเพาะอาหาร (3) แล้วหากเป็นโรคนี้อยู่แล้ว คุณแม่อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการมากขึ้น แต่หากดูแลรักษาตัวเองดี อาการก็จะไม่เกิดขึ้น

อาการที่คุณแม่จะสามารถสังเกตได้ว่าตนเองกำลังเป็นโรคนี้หรือไม่ ก็คือ เกิดความไม่สบายตัวต่างๆ แล้วตามอาการที่บอกข้างต้น แต่หากคุณแม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ ก็จะไม่เกิดปัญหาต่อคุณแม่และลูกในท้อง แต่ในระยะยาวหากคุณแม่ยังเป็นโรคนี้อยู่ ก็อาจเกิดการอักเสบของหลอดอาหารเรื้อรังที่รุนแรงมากขึ้น เช่น Barrett's Esophagus ซึ่งเป็นภาวะที่อาจจะกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารในอนาคตได้

การรักษาโรคกรดไหลย้อนนี้ ต้องเริ่มต้นที่การปฏิบัติตัวครับ วิธีง่าย ๆ เลยก็คือ หลีกเลี่ยงอาหารและปัจจัยที่ทำให้โรคนี้รุนแรงมากขึ้น รวมถึงนอนหนุนศีรษะสูง ส่วนใหญ่แล้ว อาหารหลายชนิดทำให้คุณแม่ที่เมื่อเป็นโรคนี้แล้วมีอาการเพิ่มขึ้น เช่น ช็อกโกแลต อาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน อาหารมัน เปปเปอร์มินท์ แอลกอฮอลล์ น้ำส้ม หรือน้ำแอ๊ปเปิ้ล รวมไปถึงการรับประทานอาหารมากเกินไป หรือรับประทานอาหารมื้อดึกที่รับประทานเสร็จแล้วนอน สูบบุหรี่ โรคอ้วน รวมไปถึงยาแก้โรคหอบหืดบางชนิด และยาที่เกี่ยวกับโรคหัวใจบางชนิด ที่ทำให้การบีบตัวของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างลดลง

นอกจากการดูแลวิถีการใช้ชีวิตแล้ว คุณหมอจะใช้ยาที่ไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เช่น กลุ่ม Alginates จัดเป็นยากลุ่มใหม่ในประเทศไทย ยาในกลุ่มนี้สกัดจากสาหร่ายธรรมชาติ ยากลุ่มนี้แตกต่างจากยากลุ่มเดิมๆ ที่มีในท้องตลาด กลไกการออกฤทธิ์: ยากลุ่มนี้จะทำงานโดยสร้างเป็นชั้นเจลป้องกันลอยตัวอยู่บนน้ำย่อย ยับยั้งไม่ให้กรดย้อนขึ้นสู่หลอดอาหาร จึงเป็นยาที่เหมาะสมในการใช้รักษาโรคกรดไหลย้อน ข้อดี ออกฤทธิ์เร็วสามารถบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกใน 5 นาที และฤทธิ์คงอยู่ได้นานกว่ายาลดกรด, จัดเป็นยาที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงต่ำ,ไม่มีผลต่อการดูดซึมตัวยาอื่นๆ, สามารถใช้ได้ในสตรีมีครรภ์ใช้ได้อย่างปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และคุณลูก แต่ควรใช้ตามคำสั่งของแพทย์ครับ คุณหมอกล่าวทิ้งท้าย

ด้าน ‘มอส' ได้เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า มอสเป็นอีกคนที่เป็นโรคกรดไหลย้อนครับ เพราะเวลาที่ทำงานไม่เป็นเวลา ออกกำลังกายก็จะทำตอนดึก เล่นกีฬาเสร็จแล้วก็กินดึก จากนั้นก็นอนเลย แรกๆ เสียงหายครับ 1 อาทิตย์เต็มๆ พอไปพบคุณหมอคุณหมอบอกว่าเป็นกรดไหลย้อน 30% จึงเริ่มหันมาดูแลตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครับ โดยเฉพาะอาหารมัน พยายามหลีกเลี่ยงเลยครับ พร้อมกับถือคติการกินที่ว่า ‘หนักเช้า เบาเที่ยง เลี่ยงเย็น งดดึก' ตอนนี้ก็ปกติดีแล้วครับ แต่ยังต้องควบคุมพฤติกรรมการกินครับ คุณเกมก็ช่วยดูแลในส่วนนี้ด้วยครับ

แต่ที่น่าตกใจเห็นจะเป็นครอบครัวของ ‘ลิฟท์' ที่ตอนท้องภรรยาก็เป็นโรคกรดไหลย้อน แล้วพอน้องพราวอายุได้ 2 เดือนก็พบว่า น้องพราวเป็นโรคกรดไหลย้อนในเด็ก สาเหตุเพราะลิ้นปี่ปิดไม่แข็งแรง ต้องใช้ยาช่วย จึงอยากฝากให้ทุกคนว่าถ้ามีอาการผิดปกติในภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ หรือ ลูกๆ ตามอาการที่คุณหมอบอกข้างต้นก็อย่างนิ่งนอนใจ ต้องรีบไปปรึกษาหมอโดยด่วนครับ

 

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ กรดไหลย้อน กับ คุณแม่ตั้งครรภ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook