ทำอย่างไรกับชีวิตหลังแต่งงาน

ทำอย่างไรกับชีวิตหลังแต่งงาน

ทำอย่างไรกับชีวิตหลังแต่งงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     

 

     เจ้าสาวหมาดๆ หลายต่อหลายคนประสบกับภาวะสับสนในตัวเองหลังแต่งงาน ภาวะที่ว่านี้เกิดขึ้นหลังจากแต่งงานได้ไม่นาน หนึ่งในสิบของเจ้าสาวประสบกับภาวะนี้จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณมีอาการนี้หรือเปล่า และจะรับมือกับภาวะนี้ได้อย่างไร ไม่ต้องวิตกกังวลไปเรามีคำแนะนำให้

      หลังจากใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือเป็นปีในการเตรียมพิธีแต่งงาน แต่พอพิธีการอันศักดิ์สิทธิ์จบสิ้นลง แขกเหรื่อแยกย้ายกันกลับ พร้อมกับการประกาศให้โลกได้รู้ว่าเป็นสามีภรรยากันแล้ว เมื่อนั้นล่ะฉากแรกของชีวิตคู่จึงได้เริ่มขึ้น คู่แต่งงานใหม่หลายคู่ประสบกับภาวะหดหู่ทางอารมณ์หลังพิธีแต่งงาน ดร.เอริก้า ลอเรนซ์ ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาและที่ปรึกษาชีวิตแต่งงานและครอบครัวให้ความเห็น โดย ดร.เอริก้า กล่าวว่า นักบำบัดบางท่านเรียกอาการนี้ว่า ภาวะจิตตกหลังแต่งงาน แต่ไม่ต้องวิตกไป เพราะภาวะจิตตกหลังแต่งงานไม่ได้เหมือนกับภาวะจิตตกหลังคลอดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมนของมารดา แต่ภาวะจิตตกหลังแต่งงานส่วนใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากเรื่องทัศนคติและพฤติกรรม อย่างไรก็ดีไม่ใช่เรื่องยากที่จะสนุกสนานและมีความสุขไปกับสองสามเดือนแรกของชีวิตแต่งงาน คุณสามารถกำจัดช่องว่างทางอารมณ์นี้ได้

ทำไมคู่แต่งงานใหม่จึงพบกับภาวะจิตตก

     นั่นเพราะชีวิตจริงกับความฝันต่างกัน เจ้าสาวหลายคนไม่เคยนึกถึงชีวิตหลังแต่งงานเลย เฝ้ารอแต่วันสำคัญคือวันแต่งงาน ทำให้เกิดช่องว่างขนาดใหญ่ขึ้นระหว่างความตื่นเต้นในงานแต่งงานกับชีวิตแต่ละวันหลังแต่งงานแล้ว ซึ่งแน่นอนมันส่งผลกระทบต่อการทำงาน งานอดิเรก และชีวิตสังคมของคุณ

     เจ้าสาวหมาดๆ บางคนอาจถึงขั้นโหยหาชีวิตโสด ความจริงแล้วการแต่งงานเปิดโอกาสให้คุณก้าวไปอีกขั้นของความสุขในชีวิตคู่ แต่ภาวะจิตตกทำให้เจ้าสาวเกิดอาการสับสนตัวเอง และยากที่จะปรับตัวจากชีวิตที่เคยโสดและเป็นอิสระมาสู่การใช้ชีวิตคู่

ลองทำแบบทดสอบนี้ดูว่าคุณจะรับมือกับชีวิตหลังแต่งงานอย่างไร

1.สถานะการทำงานของคุณเป็นเช่นไร
A) ฉันสนุกกับงานที่ทำ แต่จริงๆ แล้วชีวิตรักของฉันสะท้อนความเป็นตัวฉันได้มากกว่า
B) ฉันหลงรักงานของฉันอย่างถอนตัวไม่ขึ้น (แม้แต่สามีฉันยังแอบอิจฉา)
C) ชีวิตมันบ้าสิ้นดี แต่ตอนนี้ง่ายขึ้นละ เพราะฉันมีคนมาคอยซัพพอร์ตแล้ว
D) ฉันไม่เคยต้องการความช่วยเหลือใดๆ ฉันสามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง และการแต่งงานก็ไม่ได้ทำให้อะไรเปลี่ยนแปลง

2.คุณอธิษฐานขอให้งานแต่งงานคุณเป็นอย่างไร
A) สนุกกับงานแต่ง และรอที่จะกลับไปสนุกกับการจัดปาร์ตี้อีกครั้ง
B) แม่ฉันมักพูดเสมอว่า "ถ้าทำให้มันดีไม่ได้ ก็อย่าไปทำมันเลยดีกว่า"
C) ตราบที่ทุกคนสนุก ฉันก็ไม่มีปัญหาอะไร
D) สองเดือนทีเดียวที่ฉันใช้เวลาตามหาผ้าลินินเฉดสีที่ต้องการกว่าจะได้

3.คุณทั้งคู่มักเถียงกันเรื่องอะไร
A) บางครั้งเราก็ระเบิดใส่กันเหมือนเด็กๆ แต่เรามักจะคุยกันแบบผู้ใหญ่ในที่สุด
B) เฮ้! เราทั้งคู่รักกัน และไม่เคยทะเลาะกันเลย
C) ด้วยความนับถือ เราไม่อนุญาตให้มีการทะเลาะกันเกิดขึ้น
D) มันมักเกิดขึ้นซ้ำๆ เรามักเถียงกันเรื่องเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

4.ชีวิตแต่งงานจะเป็นยังไง
A) เหมือนกับการผจญภัย ฉันแทบรอไม่ไหวที่จะได้ใช้ชีวิตคู่
B) มีความสุขอย่างไม่น่าเชื่อ ฉันพบเจ้าชายของฉันเข้าแล้ว
C) ไม่มีอะไรที่เราเข้ากันได้เลย
D) ดีกว่าแต่ก่อนเยอะ

5.คุณดูแลตัวเองอย่างไรก่อนถึงวันสำคัญ
A)เข้าสปาอาบน้ำแร่แช่น้ำนม ประโคมคอร์สเจ้าสาว
B) แทบจะไม่มีเวลา เพราะมัวแต่ยุ่งกับ ไหนจะดอกไม้ ไหนจะเค้กแต่งงาน
C) พยายามนอนให้เยอะที่สุด ทานให้ครบทุกมื้อ ออกกำลังกายและพยายามอยู่กับปัจจุบัน
D) อืม เห็นรายการที่ต้องทำนี้ไหม ฉันจะทำหลังจากงานแต่งงาน

ผล : ถ้าคะแนนส่วนใหญ่ที่ได้คือ A และ C แสดงว่าคุณเข้าสู่ขั้นแรกของชีวิตการแต่งงานแล้วล่ะ ถ้าคะแนนส่วนใหญ่คือ B และ D คุณอาจต้องเตรียมรับมือกับการหามาตรการป้องกันภาวะจิตตกหลังแต่งงาน ลองอ่าน 5 วิธีหยุดยั้งภาวะจิตตกหลังแต่งงานก่อนเริ่มต้น

5 วิธีหยุดยั้งภาวะจิตตกหลังแต่งงานก่อนจะเริ่ม

     การปะทะกันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้วสำหรับชีวิตคู่ แต่ก็มีอยู่หลายวิธีเช่นกันที่จะสามารถป้องกันภาวะจิตตกหลังแต่งงานที่จะเกิดขึ้นตามมาได้

1 อย่าลืมความเป็นตัวเอง สาวๆ หลายคนสารภาพกับเวดดิ้งแพลนเนอร์ว่า เธอเปลี่ยนเป็นอีกคนหลังแต่งงาน คำแนะนำของเราก็คือพยายามเติมเต็มชีวิตและความสุขของตัวเองเหมือนเดิม เช่น หาหนังสืออ่าน เล่นโยคะ นัดแฮ้งเอาท์กับเพื่อน ช่วยบรรเทาความสับสนและความรู้สึกจิตตกลงได้ในการเริ่มบทใหม่ของชีวิต

2 จงซื่อสัตย์ ความวิตกกังวลก่อนวันแต่งงานเป็นเรื่องปกติของเจ้าสาวทั่วไป มันอาจดูน่าอายที่จะยอมรับ แต่การที่เราตระหนักและยอมรับอย่างซื่อสัตย์ว่าเราวิตกกังวลกับชีวิตการแต่งงานที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้นนั่นเป็นสิ่งที่ดี ลองปรึกษาความวิตกกังวลนี้กับเพื่อนสนิท หรือที่ปรึกษาปัญหาครอบครัว เพื่อไม่ให้ปัญหาตามติดไปกับชีวิตคู่ของคุณ

3 แชร์ปัญหาร่วมกัน ภรรยาหลายๆ คนเกรงใจสามีหมาดๆ ไม่กล้าแชร์ปัญหาให้ฟัง เพราะมองว่าเป็นภาระจึงไม่อยากรบกวน แต่จริงๆ แล้วการแต่งงานควรทำให้คนสองคนใกล้ชิดกันเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แยกให้ห่างจากกัน

4 จดจำสิ่งสำคัญ คุณเพิ่งแต่งงานมาได้แค่วันเดียวและมันจะคงอยู่ไปตลอดชีวิต ดังนั้นคุณควรร่วมแบ่งปันความคิดเห็นสำคัญและมุมมองต่างๆ กับคู่ชีวิต

5 วางแผน เตือนตัวเองว่าการแต่งงานเป็นการเริ่มต้นใหม่ ไม่ใช่จุดจบ เปลี่ยนความตั้งใจของคุณโดยการวางแผนทำกิจกรรมหรือโปรเจ็กต์อะไรที่สนุกๆ หลังพิธีแต่งงานเสร็จสิ้น บางคู่เลื่อนการฮันนีมูนไปอีกสองสามเดือนเพื่อเรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกันก่อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook