คู่มือการ ปั๊มนมแม่ สำหรับคุณแม่มือใหม่

คู่มือการ ปั๊มนมแม่ สำหรับคุณแม่มือใหม่

คู่มือการ ปั๊มนมแม่ สำหรับคุณแม่มือใหม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถึงแม้คุณแม่จะต้องไปทำงานหลังครบกำหนดลา ก็ใช่ว่าจะต้องหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะยังสามารถใช้การ ปั๊มนมแม่ เก็บเอาไว้ให้ลูกกินได้ในระหว่างวัน ถ้าคุณแม่มือใหม่ไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรในเรื่องนี้ การปั๊มน้ำนมควรทำเวลาไหน ทำอย่างไร และเมื่อได้นมแม่แล้ว จะมีวิธีการเก็บรักษาอย่างไร นำนมแม่มาอุ่นได้หรือไม่ เรามีคู่มือการปั๊มนมแม่มาให้แล้ว

เวลาในการปั๊มนม

คุณแม่ส่วนใหญ่จะปั๊มนมในตอนเช้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน การปั๊มนมอาจทำหลังจากให้นมลูก 30-60 นาที หรือก่อนให้นมลูกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ภายใน 24 ชั่วโมงคุณแม่อาจปั๊มน้ำนม 8-10 ครั้ง โดยปริมาณนมแม่ที่เหมาะสมคือ 750-1,035 มิลลิลิตรใน 1 วัน การให้นมลูกไปด้วย และปั๊มนมไปด้วย อาจไม่เหมาะกับคุณแม่บางคน คุณแม่จึงอาจปั๊มนมหลังจากให้นมลูก 1 ชั่วโมงแทน คุณแม่และลูกน้อยแต่ละคนมีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงควรจัดเวลาในการปั๊มนม ให้เหมาะกับตัวเอง

วิธีปั๊มนม

  • อ่านคู่มือการใช้เครื่องปั๊มนมให้ละเอียด
  • นั่งในท่าสบายๆ
  • ตรวจสอบอุปกรณ์การปั๊มนมให้เรียบร้อย
  • เครื่องปั๊มนมต้องพอดีกับเต้านมคุณแม่
  • การปั๊มนม จะคล้ายเวลาให้นมลูก คุณแม่สามารถปรับระดับขณะใช้เครื่องปั๊มนมได้

การปั๊มนม ต้องไม่เจ็บ

เวลาปั๊มนมลูกต้องไม่รู้สึกเจ็บ อาจจะมีความรู้สึกคัดตึงเต้านม หรือรู้สึกไม่สบายตัว แต่ไม่ควรจะมีความรู้สึกเจ็บ หากรู้สึกเจ็บ ต้องลองเปลี่ยนที่ปั๊มนม ให้เป็นขนาดที่เหมาะสมกับหน้าอก แต่ถ้าลองเปลี่ยนขนาดที่ปั๊มแล้วยังมีอาการเจ็บอยู่ ควรหยุดใช้ และอาจปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการ

เก็บนมแม่ อย่างไรดี

ควรเก็บนมในแก้ว หรือขวดที่สะอาด ที่สำคัญคือต้องเขียนวันที่ติดไว้ที่ข้างขวดด้วย คุณแม่สามารถเก็บนมไว้ในตู้เย็นได้ และถ้าจำเป็นต้องแช่แข็งจริงๆ ก็สามารถแช่แข็งได้ แต่การแช่แข็งจะทำลายแอนตี้บอดี้ในน้ำนม ทำให้คุณประโยชน์ของนมแม่ลดลง แต่ลูกน้อยยังคงกินนมได้อยู่ หลังจากที่นำนมแม่ที่แช่แข็งไปละลายแล้ว

การอุ่นนม

หากแช่นมในตู้เย็นแล้วต้องการทำให้อุ่น คุณแม่อาจนำขวดนมมาวางไว้ในน้ำอุ่นเพื่ออุ่นนม หรือหากต้องปั๊มนมบ่อยๆ อาจซื้อขวดที่เก็บอุณหภูมิมาใช้เพื่อความสะดวก เนื่องจากคุณแม่จะได้ไม่ต้องอุ่นนมบ่อยๆ นอกจากนี้หลังจากที่อุ่นนมแล้ว นมจะอยู่ในตู้เย็นได้ 24 ชั่วโมง หรือในอุณหภูมิห้องประมาณ 1 ชั่วโมง ข้อควรระวัง คือ ห้ามใช้ไมโครเวฟเด็ดขาด เพราะจะทำให้สารอาหารในนมแม่หายไป และยังทำให้นมร้อน จนอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยได้

น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐฯ กล่าวว่า นมแม่สามารถเก็บได้ในอุณหภูมิห้อง 6-8 ชั่วโมง หรือถ้านำไปแช่ตู้เย็น โดยอุณหภูมิในตู้เย็นอยู่ระหว่าง 0-3.9 องศาเซลเซียส นมแม่จะอยู่ในตู้เย็นได้ 8 วัน Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook