ตีแตกความเข้าใจผิดเรื่องลดอ้วน (ที่ทำให้ไม่ผอมสักที!)

ตีแตกความเข้าใจผิดเรื่องลดอ้วน (ที่ทำให้ไม่ผอมสักที!)

ตีแตกความเข้าใจผิดเรื่องลดอ้วน (ที่ทำให้ไม่ผอมสักที!)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

1. Sugar-free และ Low Fat

เพื่อนๆ ที่ลดน้ำหนักมักจะเลือกกินผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำตาล (Sugar - free) หรือไขมันต่ำ (Low Fat)เวลาเราอยากกินอะไรหวานๆ แล้วกินขนม ลูกอม หรือเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล โดยเข้าใจว่ากินแล้วไม่อ้วน เป็นเพียงความรู้สึกหลอกลิ้น แต่หลอกสมองไม่ได้ เพราะสมองสามารถแยกความแตกต่างของน้ำตาลและน้ำตาลเทียมได้ เมื่อร่างกายยังไม่ได้รับน้ำตาล สมองจะสั่งการให้เรากินอาหารอื่นเพิ่มเพื่อสนองความต้องการให้สมบูรณ์

นอกจากน้ำหนักไม่ลด ยังเสี่ยงต่อโรคเบาหวานฯลฯ และยังไม่มีการยอมรับในวงการแพทย์ว่ากินแล้วไม่อ้วนส่วนผลิตภัณฑ์ไขมันต่ำ (Low Fat) แม้จะมีการลดปริมาณไขมันแต่ก็มักเติมรสหวานเข้าไปแทนที่ เพื่อเพิ่มรสชาติให้น่ากิน ถ้าเพื่อนๆเข้าใจว่ากินเท่าไรก็ไม่อ้วน อาจได้รับพลังงานเกินความต้องการของร่างกาย ทำให้น้ำหนักเพิ่มในที่สุดทางที่ดีควรอ่านฉลากโภชนาการที่ระบุพลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริโภค จะได้รู้ว่าควรกินในปริมาณมากน้อยแค่ไหน



2. ไม่กินแป้งและไขมันแล้วจะผอม

เพื่อนๆ หลายคนไม่ยอมกินข้าวเลย เพราะกลัวอ้วน จริงอยู่ การไม่กินแป้งทำให้น้ำหนักลด แต่เฉพาะช่วงแรกเท่านั้นเพราะเมื่อน้ำหนักลดแล้ว ร่างกายจะมีอาการโหยหาแป้ง และน้ำตาล เสี่ยงต่อการกินแบบสะบั้นหั่นแหลก ทำให้กลับมาอ้วนแบบตั้งรับไม่ทัน!ถ้าอยากลดน้ำหนักให้ได้ผล เลือกกินแป้งที่ร่างกายดูดซึมได้ช้าและช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ เช่น ถั่ว ผลไม้ เช่น แอ๊ปเปิ้ล กล้วย ฝรั่ง มะละกอ ฯลฯ ข้าวซ้อมมือ เส้นสปาเกตตีก็เป็นหนึ่งในอาหารที่ดูดซึมช้า แต่ควรกินไม่เกิน 1 ถ้วย

อาหารที่ต้องระวังเป็นพิเศษ เช่น ขนมปังขาว แครกเกอร์ มันฝรั่ง ข้าวโพด ฯลฯ แม้จะอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก ร่างกาย ก็ต้องการคาร์โบไฮเดรตวันละประมาณ 60 - 80 กรัม ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องอดแป้งก็ผอมได้นอกจากแป้งแล้ว บางคนยังไม่กินไขมันเลย ถ้าร่างกายขาดไขมันอาจเกิดภาวะพร่องไขมัน ผิวแห้ง หน้าตาหม่นหมองผมร่วง และประจำเดือนขาด ไขมันเป็นสารอาหารที่จำเป็นเพียงแต่อย่ากินเกินวันละ 2 ช้อนชา

3. กินสลัดเพื่อลดน้ำหนัก

น้อยคนนักที่จะกินสลัดผักสดโดยไม่ราดน้ำสลัดหลายคนชอบราดน้ำสลัดแบบครีมข้น หรือมีส่วนผสมของมายองเนส 2 - 3 ช้อนชาให้พลังงานประมาณ 100 แคลอรี หรือมากกว่าข้าวขาว 1 ทัพพี นอกจากน้ำสลัดแล้ว บางคนยังชอบใส่ข้าวโพด เผือก กล้วยตาก แห้ว ฯลฯ ในสลัดจานโปรด หรือไม่พอ กินสลัดแล้วไม่อยู่ท้อง ต้องกินอย่างอื่นเพิ่ม ทำให้ได้พลังงานมากเกินจนน้ำหนักเพิ่มได้

4. กินผลไม้ไม่อ้วนหรอก

บางคนเข้าใจว่ากินผลไม้แล้วไม่อ้วน จึงกินมากหรือกินแทนอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง แม้จะเป็นน้ำตาลจากผลไม้ แต่ถ้ากินมากก็อ้วนได้ แถมบางชนิดมีน้ำตาลสูงปรี๊ด เช่น กล้วยไข่ เงาะ มะม่วงสุกลองกอง ลำไย ฯลฯหากรู้ตัวว่าวันไหนกินผลไม้มาก ควรลดอาหารพวกแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว

เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงเกินไปกินผลไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ส้ม ฝรั่ง ชมพู่ แอ๊ปเปิ้ล ฯลฯ ทุกวัน วันละไม่เกิน 2 ผลเล็ก ได้ประโยชน์ แถมยังไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม



5. ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน แทนข้าวหรือขนม

บางคนพอดื่มเครื่องดื่มรสหวานแล้วรู้สึกอิ่ม โดยไม่ต้องกินข้าว จึงเข้าใจว่าน่าจะช่วยลดน้ำหนักได้ เครื่องดื่มหลายชนิดให้พลังงานสูงโดยที่เราคาดไม่ถึง เช่น นมรสหวาน 1 กล่อง ให้พลังงานประมาณ 250 kcal ถ้าดื่มวันละ 2 กล่อง ให้พลังงานใกล้เคียงกับ กินข้าวไข่เจียว 1 จาน!ระวัง!

เครื่องดื่มประเภทชาและกาแฟ ใส่นม ครีม และน้ำตาล หรือน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้มคั้น น้ำฝรั่ง น้ำอ้อย ฯลฯ ให้พลังงานประมาณ 250 - 300 kcal ดื่มวันละ 2 แก้ว ไม่แตกต่างจากการกินข้าวเพิ่มวันละ 1 มื้อ ทำให้น้ำหนักขึ้น เดือนละ 2 - 3 กิโลกรัม

6. แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ

จริงอยู่ที่การแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ ช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ต่ำจนรู้สึกโหยแล้วกินทุกอย่างที่ขวางหน้าแต่เพื่อนๆ บางคนอาจเข้าใจและทำผิดวิธี กลายเป็น กินจุบจิบทั้งวัน แถมยังมีมื้อดึกเพิ่มอีกหนึ่งมื้อวิธีแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ อย่างถูกต้องคือเพิ่มจากมื้อหลัก 1 - 2 มื้อ เช่น เลือกมื้อใดมื้อหนึ่งระหว่างมื้อว่างเช้าและมื้อว่างบ่าย หรือจะเพิ่มทั้งสองมื้อนี้ก็ได้ของว่างที่ไม่ทำให้อ้วน

เช่น แอ๊ปเปิ้ล ส้ม 1 ผล ถั่ว 1 กำมือ ขนมปังหรือแครกเกอร์โฮลวีตทาแยมบางๆ1 แผ่น สาหร่ายทะเลอบ 1 ซองเล็ก ชาไม่ใส่น้ำตาล ฯลฯข้อควรระวังคือ ไม่กินขณะที่ทำอย่างอื่นไปด้วย เพราะทำให้รู้สึกกินเพลินจนหยุดไม่ได้อยากกินของว่างเป็นพวกขนมแนะนำขนมที่กินแล้วอิ่มนาน (แต่ต้องมั่นใจนะว่าไม่หวานมาก) เช่น เต้าทึง วุ้นผลไม้ หรือเฉาก๊วย 1 ถ้วยเล็ก กินเป็นของว่างสัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ลองสิ



7.ออกกำลังกายมากๆ หุ่นจะได้ผอมเพรียว

หลายคนออกกำลังกายทุกวันเพื่อลดน้ำหนัก แต่น้ำหนักกลับไม่ลด ซ้ำยังเพิ่มจากเดิม ถ้าอยากลดน้ำหนัก ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 15 - 20 นาทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ร่างกายดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงาน ถ้าเราใช้เวลาในการออกกำลังกายสั้นกว่านั้นแทนที่ร่างกายจะดึงไขมันที่สะสมมาใช้ กลับดึงกลูโคสในกระแสเลือดมาใช้แทน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ รู้สึกหิวและกินมากขึ้นทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล

แถมบางคนยังคิดว่า ขอตามใจปากก่อน เดี๋ยวค่อยไปออกกำลังกายเผาผลาญทีหลัง ก็ทำให้ลดน้ำหนักไม่สำเร็จ เช่นกันนอกจากนี้การออกกำลังกายมากเกินไปจะให้ผลลัพธ์ในทาง ตรงกันข้าม คือ แทนที่จดูสดชื่นแจ่มใส กลับรู้สึกอ่อนเพลีย และดูโทรม

ออกกำลังกายแบบไหนดีล่ะ

ออกกำลังกายที่เคลื่อนไหวร่างกายต่อเนื่อง เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานฯลฯ ควบคู่กับฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อ เช่น ยกเวต ฝึกกายบริหาร ฯลฯ เพื่อลดน้ำหนักและช่วยให้หุ่นเฟิร์ม แถมยังเป็นการลดไขมันในเส้นเลือด และเพิ่มการเผาผลาญว่ายน้ำ (ขึ้นอยู่กับการออกแรง) 1 ชั่วโมง

เผาผลาญ 250 - 650 kcal

เดินเล่น 1 ชั่วโมง เผาผลาญ 120 kcal

เต้นรำ 1 ชั่วโมง เผาผลาญ 300 kcal

กายบริหาร 1 ชั่วโมง เผาผลาญ 220 kcal

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook