สำรวจ ‘ยา’ ต้องเลี่ยง ช่วงแม่ท้อง

สำรวจ ‘ยา’ ต้องเลี่ยง ช่วงแม่ท้อง

สำรวจ  ‘ยา’  ต้องเลี่ยง  ช่วงแม่ท้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ก่อนที่เวลาจะเดินหน้าไปถึงจุดหมายปลายทางของการคลอด เชื่อว่าสิ่งต่างๆ ที่จะเข้าสู่ร่างกาย ย่อมต้องผ่านการคิดแล้วคิดอีกของคุณแม่ โดยเฉพาะเรื่องยา ปกติคุณหมอไม่แนะนำให้กินยาโดยเฉพาะช่วง 3 เดือนแรก เพราะเป็นระยะที่มีการสร้าง และพัฒนาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ยาบางชนิดอาจไปขัดขวางจนส่งผลร้ายต่อลูกอย่างคาดไม่ถึง อยากรู้ใช่ไหมว่ายาใดบ้างที่ต้องระวังให้ดี เรามีบัญชียาสารพันชนิดที่ส่งผลกับชีวิตลูกมาฝากค่ะ




สำรวจชนิดยา ค้นหาความเสี่ยงภัย


ยารักษาความดันโลหิต

 

Nifedipine : ใช้กรณีที่อาการรุนแรงแล้วใช้ยาอื่นไม่ได้ผล ยาอาจยับยั้งการคลอดได้ ควรหลีกเลี่ยงระยะใกล้คลอด

Enalapril : ไตรมาส 2 - 3 ยาอาจทำให้ทารกผิดปกติ มีความดันโลหิตต่ำ รุนแรง ไตทำงานบกพร่อง ควรหลีกเลี่ยง

Atenolol : ถ้าใช้ในไตรมาสแรกทารกอาจมีภาวะรูท่อปัสสาวะเปิดใต้องคชาติ ถ้าใช้ในไตรมาส 2-3 อาจทำให้น้ำหนักตัวทารกน้อย

Amlodipine : ยังไม่มีข้อสรุปควมปลอดภัย แต่ก็ไม่ควรใช้ในขณะตั้งครรภ์

 

Propranolol : การใช้ในไตรมาสที่ 2-3 ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย ควรหลีกเลี่ยง

Verapamil : หากจำเป็นให้ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ในระยะใกล้คลอด เพราะยาอาจมีผลคลายกล้ามเนื้อมดลูกได้

 

 

ยาขับปัสสาวะและลดความดัน

 



Acetazolamide ยาโรคหัวใจในกลุ่มขับปัสสาวะ : ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในไตรมาสแรก

Furosemide : อาจทำให้รูท่อปัสสาวะทารกเปิดใต้องคชาติ ควรหลีกเลี่ยงในไตรมาสแรก

Spironolactone : ควรหลีกเลี่ยง ยกเว้นผู้ที่มีโรคหัวใจร่วมด้วย

Hydrohlorothiazide (HCTZ) : แม่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน มีความดันโลหิตต่ำ ทำให้ทารกเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ถ้าใช้ในระยะใกล้คลอด อาจทำให้คลอดช้า ควรหลีกเลี่ยง

Amiloride +HCTZ (Moduretic) : ถ้าใช้ในไตรมาสแรกจะเสี่ยง ทารกอาจเสียชีวิตจากการที่แม่มีความดันโลหิตต่ำ ถ้าใช้ระยะใกล้คลอด อาจทำให้มดลูกไม่บีบตัว ทำให้คลอดช้า ไม่ควรใช้

 

ยาฆ่าเชื้อ



Chloramphenicol : แม่ที่ได้รับในระยะท้ายอาจทำให้ลูกเกิดภาวะขาดออกซิเจน ควรระวังการใช้ในขนาดสูง

Clarithromycin : งดใช้ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ยาอื่นรักษาเชื้อแบคทีเรียแทน ควรหลีกเลี่ยงในระยะตั้งครรภ์ครึ่งแรก

Ciprofloxacin : อาจทำให้ข้อต่อกระดูกทารกผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงในไตรมาสแรก ใช้ยาอื่นที่ปลอดภัยกว่าแทน

Erythromycin : ฮอร์โมนในปัสสาวะแม่อาจลดลง ลูกแรกเกิดน้ำหนักน้อย อาจแท้ง ระวังการใช้ไตรมาสแรก

Fluconazole : ไม่ใช้ต่อเนื่องในไรมาสแรก อาจทำให้ทารกผิดปกติ แม้ใช้น้อยแล้วเสี่ยงน้อยกว่า แต่ก็ควรระวัง

Norfloxacin และ Ofloxacin : งดใช้ในไตรมาสแรก หรือใช้ยาต้านจุลชีพกลุ่มอื่นที่ปลอดภัยกว่า

Tetracycline : งดใช้ในช่วงตั้งครรภ์ 5-6 เดือนขึ้นไป เพราะกระดูกและฟันที่กำลังสร้างตัวจะผิดปกติ ฟันเปลี่ยนสี ทารกพิการแต่กำเนิด และเป็นพิษต่อตับแม่

Metronidazole : งดใช้ยารักษาโรคติดเชื้อของแม่เพราะอาจทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด อาจทำให้แท้งในไตรมาสแรก

Indomethacin : งดใช้ยารักษาโรคข้อกระดูกอักเสบติดต่อกันนานเกิน 48 ชั่วโมง หรือหลังอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติ คลอดช้า

 

ยาลดไข้

Aspirin : ไม่ควรใช้ขนาดสูงต่อกันนาน เพราะระบบเลือดแม่ลูกอาจผิดปกติได้ งดใช้ไตรมาส 3 เมื่อใกล้คลอด เพราะจะยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของลูกในครรภ์ แม่ลูกเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ เลือดไหลไม่หยุดและคลอดช้า

Oseltamivir (Tamiflu) : ให้ใช้ยารักษาไข้หวัดใหญ่ชนิด A นี้ได้ ถ้าพิจารณาแล้วไม่ทำให้แม่และลูกเกิดความเสี่ยง

รู้ทันยา : ยาแก้ไข้หวัดมักประกอบด้วยยาลดไข้พาราเซตามอล ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก โดยทั่วไปไม่มีอันตราย ถ้าใช้นานควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยาชุดตามร้านขายยา เพราะอาจมียาแก้แพ้อักเสบบางอย่าง และสเตียรอยด์ปนมาด้วย

 

 

 

 

ยาแก้ปวด ลดอักเสบ

Diclofenac : ไม่ควรใช้ไตรมาสสุดท้าย ระยะใกล้คลอด เพราะจะทำให้คลอดช้า ไตทารกทำงานบกพร่อง

Tramadol : แม้ตัวยาไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ก็ไม่ควรใช้ในช่วงตั้งครรภ์ต้นๆ

Morphine sulfate : ใช้ในไตรมาส 1 และ 2 ได้บ้างแต่ห้ามใช้ติดต่อกันนาน หรือใช้ในไตรมาสสุดท้าย ถ้าใช้ต่อเนื่องกันนาน ใช้ขนาดสูงใกล้คลอด จะทำให้กดการหายใจของทารกได้

Hyoscine-N-butylbromide : ใช้ลดการปวดเกร็งท้องให้แม่ได้ แต่งดเมื่อใกล้คลอด เพราะทำให้ลูกหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

Mefenamic acid : ห้ามใช้ในไตรมาส 3 โดยเฉพาะระยะใกล้คลอด

Iduprofen : ใช้ในไตรมาส 1-2 ได้ แต่ห้ามใช้ในไตรมาส 3 ระยะใกล้คลอด เพราะอาจทำให้คลอดช้า

Colchicine : งดใช้ยารักษาข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ ส่วนผู้ชายอาจทำให้จำนวนอสุจิลดลง บางรายงานชี้ว่ายาอาจมีผลให้อสุจิกลายพันธุ์ ทำให้เกิดความผิดปกติในทารก เช่น เกิด Down's syndrome ได้

Methotrexate : งดใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบหรือสะเก็ดเงิน เพราะจะกดการทำงานของไขกระดูกทารก เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ถ้ายาตกค้างอยู่ในร่างกายนาน ทำให้ทารกผิดปกติได้ แม้จะหยุดใช้หลายปีก็ตาม

รู้ทันยา : ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่ใช้กันบ่อย แม้เจ็บคอเพียงเล็กน้อย หรือเป็นหวัดก็อาจซื้อมากินแล้ว ที่จริงไข้หวัดมักเกิดจากเชื้อไวรัส การใช้ยามักไม่ได้ผล นอกจากเสียเงินยังอาจทำให้ดื้อยา จึงไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ ผู้หญิงทั้งที่ท้องหรือไม่ท้อง ถ้าใช้ยานี้บ่อยจะทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา โดยมีอาการตกขาวและคันในช่องคลอดมากอีกด้วย

 

ยาแก้ไอ

Bromhexine : ยังมีข้อมูลจำกัด ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในไตรมาสแรก

Diazepam : ถ้าใช้ในไตรมาสที่ 1 ทารกอาจปากแหว่ง เพดานโหว่ ไตรมาส 2 ระบบเลือดและหัวใจอาจผิดปกติ ถ้าใช้ต่อเนื่องนาน ใช้ขนาดสูงช่วงใกล้คลอด อาจทำให้กล้ามเนื้อทารกอ่อนแรง เซื่องซึม ไม่ดูดนม เกร็ง สั่น ท้องเสีย

Actifed : ควรงดใช้ไตรมาสแรก มีรายงานว่ายาแก้แพ้อากาศนี้ อาจทำให้ระบบหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ และแท้งได้

ยาแก้ไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีน : ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมอง

รู้ทันยา : อาการไออาจมีสาเหตุจากการกินยาบางอย่างหรือเป็นอาการเรื้อรังของโรคทางเดินหายใจ ยาจิบแก้ไอ หรือระงับอาการไอที่ดีที่สุด คือ น้ำอุ่น การใช้ยาอม เช่น ยาอมมะแว้ง สามารถลดอาการไอได้ แต่สตรีมีครรภ์หรือเด็กเล็กก็ไม่ควรใช้ยานี้จิบแก้ไอ

 

ยาฆ่าเชื้อรา

Ketoconazole : ใช้ได้ถ้าจำเป็น โดยเฉพาะแม่ที่ติดเชื้อเอช ไอ วี เพื่อป้องกัน รักษาการติดเชื้อราในช่องคลอด

Itraconazole : ควรงดใช้ เพราะอาจมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

Griseofulvin : งดใช้ ถ้าใช้ในไตรมาสแรกอาจทำให้ทารกผิดปกติมากกว่าไตรมาส 2-3 เช่น หัวใจผิดปกติ ถ้าเป็นแฝดอาจแยกตัวได้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะถ้าใช้ภายใน 20 วันแรกหลังไข่ตก

 

ยาลดกรด

Allopurinol : ใช้ได้ถ้าไม่มีทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยกว่า หรือโรคที่เป็นอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตแม่และลูกในครรภ์

Antacid : ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ขนาดสูงๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน

Magnesium hydroxide : ใช้ได้ แต่ไม่ควรใช้ขนาดสูงๆ ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

Omeprzole : งดใช้ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ครึ่งแรก เพราะเคยพบว่าเสี่ยงต่อทารก

รู้ทันยา : ยาลดกรดที่มีส่วนผสมแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย เป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง

 

ยาขยายหลอดเลือด

Cinnarizine : งดใช้ถ้าไม่จำเป็น ไม่ใช้ยาต้านฮิสตามีนนี้ในช่วง 2 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติของกระจกตาได้

Salbutamol : อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ แม่มีความดันโลหิตต่ำรุนแรง เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทั้งแม่และลูกในครรภ์ ลูกอาจเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ถ้าจำเป็นต้องใช้ให้เฝ้าระวังใกล้ชิด

Theophylline ยาขยายหลอดลม : การใช้ในไตรมาสสุดท้ายระยะใกล้คลอด อาจทำให้ทารกมีภาวะหัวใจเต้นเร็ว

 



ยารักษาเบาหวาน


Glibenclamide และ Glipizide : ทารกอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถ้าแม่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่คงที่ ควรงดใช้ชนิดกินหันไปใช้ Insulin แทนจนกว่าจะคลอด

Metformin : ไม่พบว่ายาทำให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อทารกในครรภ์ แต่เนื่องจากยาอาจให้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในแม่ได้ไม่ดีนัก ไม่ควรใช้ ใช้ Insulin จะปลอดภัยกว่า

รู้ทันยา : ยารักษาเบาหวานถ้าเป็นชนิดฉีดอินซูลินใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดกินอาจทำให้น้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ และเคยมีรายงานว่ายากลุ่มนี้ทำให้ทารกพิการได้

 

ยารักษาอาการชัก

Phenobarbital : ถ้าใช้ในไตรมาส 1 และ 3 อาจทำให้ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด เลือดไหลไม่หยุด หากจำเป็นให้ใช้น้อยที่สุดเพื่อควบคุมการชักของแม่

Phenytoin : ควรงดใช้เพราะยาอาจทำให้กะโหลกศีรษะใบหน้าทารกผิดปกติ นิ้ว เล็บมือไม่สมบูรณ์ ปากแหว่ง เพดานโหว่ หัวใจผิดปกติ แต่ถาขาดยาแล้วชัก แม่ลูกอาจเป็นอันตรายก็ได้ ใช้ได้แต่ต้องระวังให้ดี

Carbamazepine : งดใช้ ถ้าจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะไตรมาสแรก ควรให้โฟเลทเสริม หากใช้ในไตรมาสสุดท้าย ควรให้วิตามินเค หรือติดตามภาวะเลือดออกในทารกด้วย

รู้ทันยา : ส่วนใหญ่ยากันชักมักทำให้ทารกเกิดความพิการ มีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิดอาจทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า

 

ยารักษาโรคผิวหนัง

Dapsone : ต้องระวังการใช้ยานี้รักษาโรคเรื้อน โรคทางผิวหนัง มาลาเรีย และนิวโมเนียจากการติดเชื้อ เพราะอาจทำให้ระบบเลือดผิดปกติ ต้องติดตามใกล้ชิดระหว่างใช้ยา

Clofazimine : อาจมีผลให้ทารกและน้ำคร่ำมีสีเขียว ซึ่งก็หายเป็นปกติได้ แต่อาจใช้เวลานาน ถ้าจำเป็นให้ใช้ยาป้องกันการกลับเป็นซ้ำ แต่ก็ไม่ควรใช้ในไตรมาสแรก

 

ยาเบ็ดเตล็ด

Chlorpheniramine ยาแก้แพ้ : เด็กที่เกิดมาผิดปกติ เช่น มีนิ้วเกิน หูและตาผิดปกติพบว่าแม่เคยใช้ในไตรมาสแรก ถ้าใช้ชั่วคราวไม่ส่งผลมากนัก ถ้าใช้ติดต่อกันนานทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจมีเลือดไหลผิดปกติ

Ergotamine + Caffeine : ทำให้มดลูกหดตัว แท้ง คลอดก่อนกำหนด ถ้าใช้บ่อยขนาดสูง จะขัดขวางการไหลเวียนเลือดสู่ทารก งดใช้ยาแก้ปวดศีษระกลุ่มที่มีเออโกตามีนเพราะทำให้มดลูกบีบตัว ทำให้แท้งคลอดก่อนกำหนดได้

Digoxin ยารักษาโรคหัวใจล้มเหลว : ควรระวังขนาดที่ใช้ หากใช้เกินขนาดจะทำให้ทารกที่เกิดมาเสียชีวิตได้

Dimenhydrinate ยาแก้คลื่นไส้ วิงเวียน เมารถ : ใช้ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงแบบฉีด เพราะยาทำให้มดลูกบีบตัวมาก หลีกเลี่ยงการใช้ยาในระยะ 2 สัปดาห์ก่อนคลอดด้วย

Doxycycline ยารักษาสิว : หลีกเลี่ยงโดยเฉพาะตั้งครรภ์ครึ่งหลัง ซึ่งมีการสร้างกระดูกและฟันของตัวอ่อน ควรติดตามดูผลการทำงานของตับในแม่ที่จำเป็นต้องได้รับยาด้วย

Gemfibrozil ยาลดไขมันในเลือด : ทำให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะไตรมาสแรก

Lorazepam ยานอนหลับ : ยาผ่านรกทำให้ทารกผิดปกติแต่กำเนิดได้ ถ้าใช้ตามแพทย์สั่งไม่เป็นไร แต่ไม่ควรซื้อใช้เอง ถ้าใช้สูงจนติด ลูกที่เกิดจะหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้าคล้ายคนิดยา ชักกระตุก ทำให้ลูกมีเลือดออกผิดปกติ

Misoprostol ยาป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ : อาจทำให้แท้ง หากไม่แท้งก็ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด

Pyridostigmine bromide (Mestinon) ยารักษาโรคกล้ามเนื้อ : ยาผ่านรกไม่ได้ หรือผ่านได้น้อยมาก ไม่พบว่าทำให้ทารกผิดปกติ จึงให้ใช้ได้ แต่ระวังการใช้รูปแบบฉีดระยะใกล้คลอด อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด

Bisacodyl ยาระบาย : ควรเลือกใช้สารที่ออกฤทธิ์ให้อุจจารับตัวเป็นก้อนนิ่ม (เช่น เมล็ดแมงลัก) หรือยาที่มีฤทธิ์เพิ่มแรงตึงผิว (เช่น ยาระบายแมกนีเซีย) ก่อน จะปลอดภัยกว่า

Proctosedyl ยาเหน็บริดสีดวง : ใช้ได้แต่ก็ไม่ควรมาก และไม่ใช้ต่อเนื่องนานเกิน 7 วัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook