กรดไหลย้อนในเด็ก ข้อเท็จจริงที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องรู้

กรดไหลย้อนในเด็ก ข้อเท็จจริงที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องรู้

กรดไหลย้อนในเด็ก ข้อเท็จจริงที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคกรดไหลย้อน ไม่ได้เกิดเฉพาะในผู้ใหญ่ โดยทารกส่วนใหญ่มักอาเจียนบางครั้งบางคราว หรือ หลายครั้งในแต่ละวัน ในบางกรณี การอาเจียนนำไปสู่ปัญหาอื่นหรือตามมาด้วยอาการอื่นๆ นี่คืออาการของ กรดไหลย้อนในเด็ก หรือ GERD นั่นเอง

อาการของโรค กรดไหลย้อนในเด็ก สังเกตได้อย่างไร

โรคกรดไหลย้อน (GERD) บ่อยครั้งอาจถูกเข้าใจว่าเกิดขึ้นเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกหรือเด็กทั่วได้เช่นกัน โดยสัญญาณของอาการในเด็กที่เกิดขึ้นได้แก่

  • อาเจียนบ่อย
  • ไอเรื้อรัง
  • เบื่ออาหารหรือมีปัญหาการรับประทาน
  • ร้องไห้ระหว่างมื้ออาหารหรือหลังรับประทานอาหาร
  • แสบร้อนบริเวณทรางอก มีแก๊ส หรือปวดเสียดบริเวณท้อง

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อนในเด็กมีอะไรบ้าง

กรดไหลย้อน อาจเกิดขึ้นเมื่ออาหาร และกรดในกระเพาะเคลื่อนตัวกลับมาที่หลอดอาหาร (esophagus) เด็กส่วนใหญ่ที่มีอาการล้วนเป็นเด็กที่มีสุขภาพดีแข็งแรง เพียงแต่ว่าระบบย่อยอาหารยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพนักจึงเกิดอาการนี้ขึ้น ส่วนใหญ่ อาการมักหายไปหลังจากเลยขวบปีแรกไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในเด็กโต สาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อนนั้นแตกต่างออกไปจากในกรณีของเด็กเล็ก และผู้ใหญ่ ในหลายกรณี เกิดขึ้นเพราะระบบกล้ามเนื้อปิดเปิดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารนั้นเกิดคลายตัว หรือเกิดแรงดันมาจากด้านล่างของกล้ามเนื้อเปิดปิด

การวินิจฉัยอาการของโรคกรดไหลย้อน

โดยทั่วไป แพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการกรดไหลย้อนกับอาการที่พ่อแม่ได้แจ้งไว้ ร่วมกับประวัติทางการแพทย์ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้งและนำไปสู่อาการไม่สบาย บางครั้งอาจให้เด็กทำการทดสอบด้วยการกลืนแบเรี่ยมหรือตรวจกระเพาะอาหาร ตรวจภาวะความเป็นกรดในทางเดินอาหาร และส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

ทางเลือกในการรักษาโรคกรดไหลย้อนในเด็กเล็กและเด็กโต

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ลูก

การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์อาจช่วยให้เด็กบรรเทาอาการกรดไหลย้อน ได้แก่

ในเด็กเล็ก:

  • ยกส่วนหัวของเตียงเด็กหรือเปลให้สูงขึ้น
  • อุ้มเด็กให้อยู่ในท่าลำตัวตั้งตรงประมาณสามสิบนาทีหลังให้อาหาร
  • เพิ่มซีเรียลในขวดนม (โปรดปรึกษากุมารแพทย์ก่อนลองทำวิธีนี้)
  • ปรับตารางการรับประทานอาหารใหม่
  • ให้เด็กรับประทานอาหารที่แข็งขึ้น (โปรดปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ)

ในเด็กโต:

  • ยกส่วนหัวของเตียงให้สูงขึ้น
  • ให้เด็กอยู่ในท่าที่ลำตัวตั้งตรงหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
  • แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อยๆ ระหว่างวันแทนที่จะกินอาหารมื้อใหญ่สามมื้อ
  • จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่อาจทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง
  • ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

การใช้ยาบางชนิด

หากอาการแย่ลงหรือไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยา เช่น ยาเซเมไทโคน หรือ ยาลดกรด แคลเซียมคาร์บอร์เนต หรือแพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่ทำให้กระเพาะมีกรดลดลง อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่มั่นใจว่าตัวยาเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการในเด็ก แต่โดยทั่วไป ยาลดกรด หรือยาขับแก๊สนั้นปลอดภัย หากรับประทานในปริมาณสูง อย่างไรก็ตาม ยาลดกรดอาจมีผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย หากเด็กได้รับยาในปริมาณที่สูงเป็นระยะเวลายาวนานติดต่อกัน มีแนวโน้มว่าเด็กจะมีอาการ เช่น กระดูกอ่อน (rickets) หรือ ขาดวิตามินบี 12

การผ่าตัดเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อนในเด็ก

ไม่มีความจำเป็นสำหรับเด็กโดยทั่วไปที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคกรดไหลย้อน อาจสามารถช่วยเด็กได้ด้วยการรักษาวิธีอื่น อย่างไรก็ตาม ในรายที่พบว่าการรักษาแบบอื่นนั้นไม่ได้ผล หรือเด็กมีปัญหาด้านการหายใจ หรือปอดบวม หรือปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาจากโรคกรดไหลย้อนอาจจำเป็นต้องใช้วิธีนี้ การผ่าตัดนั้นมีความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่จะช่วยคุณตัดสินใจว่าวิธีการรักษาใดเหมาะสมที่สุดสำหรับบุตรหลานของคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook