ทำไมการทำ เด็กหลอดแก้ว ถึงไม่ได้ผลเสมอไป?

ทำไมการทำ เด็กหลอดแก้ว ถึงไม่ได้ผลเสมอไป?

ทำไมการทำ เด็กหลอดแก้ว ถึงไม่ได้ผลเสมอไป?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถึงแม้จะมีความสำเร็จมากมาย แต่ก็มีในบางกรณี ที่การทำ เด็กหลอดแก้ว (IVF) ไม่สามารถช่วยให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้ การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization: IVF) เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้การปฏิสนธิของไข่และอสุจิ เกิดขึ้นภายนอกร่างกายของผู้หญิง จากนั้น ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว จะได้รับการฝังตัวภายในร่างกายผู้หญิง และเริ่มมีการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ หากถึงแม้การทำเด็กหลอดแก้วในครั้งแรกไม่ได้ผล สาเหตุของความล้มเหลวในครั้งแรกนี้ ก็จะเป็นบทเรียนในการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สอง เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความผิดพลาดแบบเดียวกันขึ้นอีก

ทำไมการทำเด็กหลอดแก้วถึงล้มเหลวได้

ในหลายกรณีที่การทำเด็กหลอดแก้วล้มเหลว มีสาเหตุมากกว่าหนึ่งประการ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดูที่ภาพของตัวอ่อน และประเมินอัตราการเจริญเติบโตตามปกติ เมื่อพบสาเหตุแล้ว แพทย์จะพูดคุยกับครอบครัว เพื่อวางแผนการป้องกัน สาเหตุบางประการไม่แน่ชัด (เช่น อายุครรภ์) แต่ผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการจะดูบ่งชี้ถึงสาเหตุที่แน่ชัดอื่นๆ ตัวแปรที่สำคัญที่สุด ที่เกี่ยวข้องกับการทำเด็กหลอดแก้วที่ได้ผล ได้แก่ ไข่ที่แข็งแรง อสุจิที่แข็งแรง และมดลูกที่แข็งแรง ซึ่งสามารถเอื้อต่อการเจริญเติบโตของทารกได้ ความผิดปกติของไข่ ความผิดปกติของไข่ มักเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว และไม่มีการสร้างสำเนาโครโมโซมอย่างเหมาะสม ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระจายตัวที่ผิดปกติของโครโมโซม และจึงทำให้เกิดตัวอ่อนที่ผิดปกติได้ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิงช่วงวัยกลางคน อสุจิที่ผิดปกติ ถึงแม้ว่าอสุจิที่ผิดปกติ จะพบได้น้อยกว่าไข่ที่ผิดปกติ แต่เมื่ออสุจิมีภาวะผิดปกติแล้ว ระดับความผิดปกติเกี่ยวกับโครโมโซมจะเป็นเรื่องใหญ่กว่ามาก ส่งผลให้เกิดอสุจิที่ไม่แข็งแรง ที่ไม่สามารถผสมกับไข่ได้ วิธีการเลือกตัวอ่อน ไข่หรือตัวอ่อนที่ได้รับการฝังตัวในร่างกายผู้หญิง จะได้รับการคัดเลือกโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยยึดตามหลักเกณฑ์สามประการในการเลือกตัวอ่อน ได้แก่ ระยะของเซลล์ คุณภาพของตัวอ่อน และอัตราการแบ่งตัวของเซลล์ อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องยากที่จะเลือกทางเลือกที่สมบูรณ์แบบ สำหรับตัวอ่อนที่ดีที่สุด เราเพียงแค่สามารถยึดตามการศึกษาในห้องปฏิบัติการ และสุ่มเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดได้ตามหลักการเท่านั้น ปัจจัยทางห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว ห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นที่เลี้ยงตัวอ่อน เป็นสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมเป็นอย่างดี ผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องควบคุมความเข้มข้นของออกซิเจน ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้น ค่า pH อุณหภูมิ และแสงสว่าง ท่ามกลางปัจจัยอื่นๆ อย่างเคร่งครัด ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับปัจจัยดังกล่าวนี้ อาจก่อให้เกิดการตายของตัวอ่อนได้

อัตราความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สอง

หลังจากการทำเด็กหลอดแก้วที่ล้มเหลว สิ่งแรกที่ต้องดำเนินการก็คือ การตรวจสอบกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่ผ่านมา และหาสาเหตุที่ทำให้ล้มเหลว จากข้อค้นพบเหล่านี้ ผู้หญิงหลายรายสามารถทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สอง ได้อย่างประสบผลสำเร็จ ปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว ได้แก่

  • อายุของผู้หญิง
  • คุณภาพของไข่และอสุจิ
  • จำนวนของไข่และอสุจิ
  • คุณภาพของกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว
  • คุณภาพของห้องปฏิบัติการทำเด็กหลอดแก้ว
  • ทักษะของผู้เชี่ยวชาญในห้องปฏิบัติการทำเด็กหลอดแก้ว
  • อุปกรณ์ที่มี
  • สาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
  • สภาพมดลูก
  • อัตราการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
  • คุณสมบัติทางพันธุกรรมและทางโครโมโซมของตัวอ่อน

อัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สอง จะต่ำกว่าเพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับครั้งแรก แต่ภายใต้เงื่อนไขที่เอื้ออำนวยแล้ว ก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ และผลลัพธ์ที่ได้จากการทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรก เพื่อให้อัตราความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วครั้งที่สองเป็นไปได้มากที่สุด Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook