เมนูอาหารลูกน้อย ไม่ใช่เรื่องยาก! "รัตมา พงศ์พนรัตน์" แนะนำสูตรอาหารเด็กทำง่าย ได้ประโยชน์

เมนูอาหารลูกน้อย ไม่ใช่เรื่องยาก! "รัตมา พงศ์พนรัตน์" แนะนำสูตรอาหารเด็กทำง่าย ได้ประโยชน์

เมนูอาหารลูกน้อย ไม่ใช่เรื่องยาก! "รัตมา พงศ์พนรัตน์" แนะนำสูตรอาหารเด็กทำง่าย ได้ประโยชน์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อลูกน้อยกำลังเข้าสู่วัย 6 เดือน บรรดาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลาย ต้องเตรียมตัวหาข้อมูลทำอาหารเพื่อเสิร์ฟให้ลูกน้อยได้อิ่มอร่อย พร้อมประโยชน์และบำรุงสมองอยู่แน่ๆ ถ้าคุณกำลังมองหาสิ่งนั้นอยู่ Sanook! Women ขอแนะนำ ปอม-รัตมา พงศ์พนรัตน์ พรชำนิ อีกหนึ่งคุณแม่ที่ชอบเข้าครัว ลงมือทำอาหารให้ลูกน้อย พร้อมแจกสูตรการทำอาหารให้ลูกน้อยแบบง่ายๆ แต่ได้ประโยช์เพียบ

คุณแม่รัตมา จากอินสตาแกรม rimas_recipes ปัจจุบันมีอาชีพภัณฑารักษ์อิสระรับทำคอนเทนต์เกี่ยวกับอาหาร เป็นที่ปรึกษาร้านอาหาร ทำคอนเซ็ปต์ ทำเมนู ทำหนังสือตำราอาหาร หุ้นส่วนร้านอาหาร Minibar Café เคยออกหนังสือเกี่ยวกับอาหารชื่อ อิ่มอกอิ่มใจเมื่อปี 2014 จะมาคอยบอกสูตรทำอาหารเพื่อลูกน้อยแก่แม่ๆ ชาวสนุกกัน



จุดเริ่มต้นในการทำอาหารให้ลูก
เอาจริงๆ เลยนะคะ ไม่อยากให้ลูกอ้วนเหมือนแม่ค่ะ พูดเหมือนขำๆ นะคะ แต่มันเหมือนเป็น Dark Comedy ค่ะ เป็นที่ทราบกันดีว่าการสะสมไขมันส่วนเกินส่งผลให้เกิดปัจจัยเสี่ยงที่สามารถพัฒนาเป็นโรคร้ายอื่นๆ ในอนาคตได้ ในอดีต ชีวิต Gen X ของดิฉันเติบโตมาในครอบครัวที่ชอบทาน ชอบทำอาหาร ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือทำให้สนใจเรื่องอาหารเป็นพิเศษ ข้อเสียก็คืออ้วนแบบไร้คุณภาพค่ะ

การเข้าครัวถือเป็นกิจกรรมหลักของดิฉันตั้งแต่เด็ก ปั้นขนมเล็บมือนาง แงะขนมครก ทำหอยลายอบเนยบ้างล่ะ ความคุ้นเคยกับอาหารและการทำครัวไม่ทำให้ดิฉันมีปัญหาเรื่องรับประทานเลย ผักสด ผักดิบ จัดมา พ่อแม่ส่งไปค่าย กลับบ้านมาบอกแม่ด้วยว่า อาหารค่ายอร่อยจัง เพราะหนูเอานั้นไปผสมนี่เอง อาหารโรงเรียนยกมือเติมตลอด ตับบด ไส้กรอก เบคอน ชีส มีในตู้เย็นไม่เคยขาด ติดรสแม็กกี้ ต้องเหยาะบนไข่ดาว French Fries ต้องกับมาโยคิวพีเท่านั้น พิซซ่าก็ทานถาดกลางคนเดียวตั้งแต่อายุสิบห้า หนังไก่ทอด ข้าวเหนียว หน้าโรงเรียนฟินดีแท้

ให้เล่าตรงนี้คงไม่หมดยังมีลิสอีกยาวเป็นหางว่าว อะไรที่ว่าอร่อย ว่าดีที่บ้านก็ไปหามาลองชิมหมด แต่ตอนเด็กไม่อ้วนนะคะอาจใช้พลังงานเยอะ มากลมตอนเบญจเพศและก็เพิ่งมาเห็นผลที่เราทานก็ตอนอายุประมาณสามสิบนี่ล่ะค่ะ LDL ไขมันไม่ดี เอย คอเลสเตอรอล เอย ตัวเลขเหล่านี้ล้วนแต่เป็นลหุโทษของปากเจ้ากรรมเนื่องจากการเสพติดความอร่อยทั้งสิ้น แต่ถ้าหากย้อนเวลากลับไปได้ เราสามารถนิยามคำว่า “อร่อย” ของเราใหม่ คงจะดีต่อร่างกายเรามากกว่านี้

และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่อยากจะค้นหาทำอาหารเพื่อนิยามคำว่า “อร่อย” ใหม่ให้ริมาค่ะ ด้วยความตั้งใจกอปรกับบทเรียนของปากแม่ที่ผ่านมา แม่ตั้งใจที่จะทำอาหารให้ ริมา “ติดรส” และรู้สึก “อร่อย”กับอาหารที่ให้ประโยชน์และเหมาะสมกับร่างกายจริง ๆ คือ ถ้าไม่มีประโยชน์ ก็ไม่ต้องไปเปลืองท้องกินมัน ริมาจะได้เตรียมความพร้อมของกระเพาะน้อยๆ ในระบบย่อยเครื่องจิ๋วให้แข็งแรง เพื่อไปต่อสู้กับอาหารขยะที่หนูจะต้องไปเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม่ก็ได้แต่หวังว่าหนูจะสามารถ “เลือก” รับประทาน และ ”ชอบ” ในสิ่งที่จะไม่ทำร้ายหนูได้ในอนาคต

ทำไมทำ IG RIMA’s Recipes Promote ‘Eating Right Starts Early”
ประการหลักเลย เพื่อนยุค่ะ (ก็ต้องขอบคุณช่างยุทั้งหลาย) มีกลุ่มเพื่อนๆ น้องๆ ที่เป็นคุณแม่อยากให้เอามาแชร์ ตอนแรกลงใน IG ส่วนตัวตั้งแต่หกเดือนเลยค่ะ (ตอนนี้น้องสิบสามเดือนค่ะ) ซึ่งไม่ได้เปิดพับบลิค ทีนี้มีพวกเพื่อนๆ ของน้องๆ ที่เราไม่รู้จักอยากเห็นด้วย ก็คิดว่าเป็นความคิดที่ดี เพราะเพื่อนๆ ที่ไม่มีลูกในไอจีส่วนตัวก็เยอะ หากเห็นอาหารเด็กบ่อยๆ เกินกว่าอาหารผู้ใหญ่ที่ทำก็คงจะปุเลี่ยนพิกล

มาทา IG RR ก็รู้สึก Focus ดีนะคะ จะได้เป็น record ว่าริมาทานอะไรไปบ้าง ต้องเพิ่ม ต้องลดอะไร เข้าใจ การทานอาหารของลูกมากขึ้น ตั้งใจว่าอยากให้ Rima’s Recipes (ตำรับอาหารของริมา) โตไปด้วยกัน จัดเก็บในที่เดียวกัน ในอนาคตตั้งใจอยากทาหนังสือค่ะ แต่ในยุคนี้คงจะต้องจะเปิดเพจ (หรือเปล่า) เพราะเนื่องจากเป็นคนชอบหนังสือ ชอบรีเสริช หาข้อมูลที่น่าสนใจทั้งไทย แพทย์แผนจีน อายุรเวทของแขก ญี่ปุ่น ฝรั่ง ก็อยากมาแชร์ถ้าสามารถหาเวลาได้ลงตัว

ดิฉันเองเชื่อว่าการสอนให้รู้จักทานในสิ่งที่เหมาะสมต่อร่างกายของเขา จะต้องสอนให้คุ้นเคย รู้สึกชอบตั้งแต่แรกค่ะ จะได้ทานอย่างยั่งยืน นึกถึงตัวเองนะคะมาเริ่มทานคลีนตอนแก่นี่ ทานได้กี่วันเองคะ พวกอาหารนกที่มีประโยชน์ทั้งหลาย เละๆอย่าง Overnight oatmeal กับ chia seed ให้ทานตอนนี้ทุกวันก็ไม่ไหวหรือเปล่าคะ ทานได้ไม่กี่วันความอยากแบบเดิมก็เพิ่มทวีคูณ ในที่สุดเราก็กลับไปสู่วงจรเดิมๆ อยู่ดี ดังนั้น ควรเริ่มและสอนให้ชอบพวกนี้ไปเลยค่ะตั้งแต่เด็ก




จุดเด่น
ส่วนที่คิดว่าพอจะเป็นจุดเด่นจากคอลลัมน์นี้นะคะ จากที่กล่าวไปเบื้องต้นที่ต้องการนิยามคาว่า “อร่อย” ใหม่ ความอร่อยในครั้งนี้จะเริ่มจากการไม่ปรุงแต่งอาหารสำหรับเด็กค่ะ หมายถึงไม่ปรุงรสเพิ่มจากเดิมค่ะ ไม่ใส่ เกลือ ซีอิ้ว น้ำตาลขัดขาว ดิฉันไม่ใช้ค่ะ การติดรสชาติปรุงแต่ง ติดความหวาน ติดความเค็มที่เกินจากวัตถุดิบธรรมชาติ ไม่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

จากประสบการณ์การทำอาหารของตัวเองและให้ร้านอาหารต่างๆ วิธีการผสมผสานวัตถุดิบ และการใช้อุมามิในตัวอาหารมาปรุงแต่งแต่ละจาน สามารถทาให้อร่อยด้วยตัวของมันเอง ดิฉันเชื่อว่าถ้าได้ลองทานแล้ว จะตกใจว่าสิ่งที่ธรรมชาติให้มานั้นมันดีอยู่แล้ว เช่น เราต้มแกงจืดให้น้องอยากได้รสหวานกลมกล่อมเราก็ใส่ผลไม้บดลงไปแทน เจียวไข่เราอยากให้มีรสชาติหน่อย เราก็ใส่ปลาชิรัสสึลงไป เพิ่มความอุมามิ (ดิฉันของนิยามว่า อุมามิ คือ รสอร่อยแบบธรรมชาติ) ลงไปแทนค่ะ

อันนี้ของ strongly recommended เลยนะคะว่าเด็กเล็กไม่ควรทานน้ำตาลขาวเลยค่ะ น้ำ ผลไม้อย่างน้ำ แอปเปิ้ลนี่น้ำตาลสูงมาก คุณป้าหมอของริมาไม่แนะนำเลยค่ะ นอกจากจะเป็นภัยต่อฟันน้อยๆ ที่กำลังขึ้นแล้ว ยังส่งผลถึงสภาพจิตใจและ เสี่ยงต่อภาวะ A.D.D ด้วยค่ะ ไว้ค่อยไปเล่าต่อในคอลัมน์ของสนุกและกันนะคะ

นอกจากจะปรุงให้อร่อย จะขาดวัตถุดิบที่เหมาะสมในแต่ละวัยไม่ได้ เราควรทานอาหารควบคู่ไปกับพัฒนาการของเด็กค่ะ เช่น เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของสมองเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นสารอาหารที่สำคัญคือ ไขมัน เราจะทำอย่างไรเมื่อนมแม่หมดแล้ว จะทำอาหารที่มีไขมันอย่างไรให้เข้าไปช่วยในการเจริญเติบโตของสมองได้ การให้ลูกทานแต่สิ่ง ที่เขาบอกว่าดีไม่พอค่ะ ต้องรู้ว่าทานอะไรควบคู่กับอะไรถึงจะได้รับสารอาหารสูงสุด





Rima’s Recipes X Sanook
เมื่อได้มีโอกาสมาทำคอลัมน์ในสนุกแล้ว แน่นอนค่ะว่าดิฉันจะพยายามย่อยเนื้อหาที่สำคัญทางโภชนาการของเด็ก ที่ nerd ที่สุดเข้าใจยาก ฟังแล้วนึกว่าภาษามนุษย์ต่างดาว มานำเสนอประกอบให้การทำอาหารให้ลูกรักต้องเป็นเรื่อง “สนุก” ไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกต่อไป เพียงแค่ต้องมีการเตรียมพร้อมที่ดีเท่านั้นเองค่ะ นึกถึงเวลาที่เราป้อนลูก แล้วเขาก็ยิ้มหวานแบบคุณยายที่ไม่ใส่ฟันปลอมนะคะ หรือเวลาที่เราตักใส่จานแล้วลูกก็คว้าอาหารในจานข้าวแบบเรายังไม่ทันวาง มันทำให้หัวใจผองโตขนาดไหน

คำแนะนำเรื่องการทำอาหาร
1. อาหารลูกควรเป็นอาหารที่ทำเองค่ะ
2. คัดสรรวัตถุดิบที่มั่นใจว่ามาจากแหล่งที่ไม่มีสารเคมี ปลูกเองได้ปลูกค่ะ ทำเองได้ทำค่ะ
3. ไม่ปรุงรส เน้นความอร่อยในตัววัตถุดิบ
4. มีการจัดเก็บที่เป็นระบบ
5. ให้ลูกมีส่วนเกี่ยวข้อง
6. ทานข้าวร่วมกันพร้อมพ่อแม่


ติดตามสูตรอาหารลูกน้อย และเมนูมากประโยชน์จากคุณแม่ รัตมา-พงศ์พนรัตน์ พรชำนิ ไดทาง Sanook! Women และ อินสตาแกรม rimas_recipes 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook