โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในแม่ท้อง

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในแม่ท้อง

โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ในแม่ท้อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"คุณแม่ตั้งครรภ์มักต้องการธาตุเหล็กมากกว่าคนทั่วไป เพราะร่างกายต้องนำมาสร้างรกและทารก สร้างเลือดให้แม่ เพราะฉะนั้นการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ"


โรคโลหิตจางเกิดได้จากหลายสาเหตุ และสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์คือ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งผลกระทบที่เกิดกับคุณแม่และลูกน้อยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเด็ดขาด อาการของภาวะนี้และวิธีป้องกันรักษาเป็นอย่างไร คุณหมอมีกรณีของคุณแม่ท่านหนึ่งมาฝากค่ะ


โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจะมีผลกระทบต่อลูกและคุณแม่อย่างไรบ้าง?


โรคโลหิตจางหมายถึงโรคจากสาเหตุต่างๆที่ทำให้เกิดภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยจนทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆขึ้น โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กก็หมายถึง ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงน้อยจากการขาดธาตุเหล็ก พบได้มาก โดยประมาณว่ามีคนร้อยละ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หากรวมผู้ที่โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กแต่ไม่มีอาการ พบประมาณร้อยละ 12


โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หลายอย่างคือ เพิ่มความเสี่ยงในการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ลูกในครรภ์น้ำหนักน้อย ลูกในครรภ์มีโลหิตจาง หากโลหิตจางมาก อาจทำให้เกิดน้ำคร่ำน้อย ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิตในครรภ์ได้ นอกจากนั้นยังอาจเกิดอันตรายกับมารดาในช่วงคลอด เพราะอาจตกเลือดจนเสียชีวิตได้ค่ะ


ทำไมการตั้งครรภ์จึงทำให้เกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก?


อันที่จริงในกรณีของคุณอัญชฬิสาน่าจะขาดธาตุเหล็กมาก่อนการตั้งครรภ์แล้ว เพราะการตั้งครรภ์ทั่วไปจะทำให้เกิดโลหิตจางในช่วงไตรมาสที่สอง ซึ่งช่วงนั้น น้ำเหลือง (พลาสม่า) จะเพิ่มมากกว่าเม็ดเลือดแดง ทำให้เสมือนว่าเม็ดเลือดแดงซึ่งอยู่ในน้ำเหลืองมีจำนวนน้อยลง อีกทั้งธาตุเหล็กจากการรับประทานอาหารมักไม่เพียงพอ เนื่องจากคนตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กมากกว่าคนปกติ เพื่อเสริมสร้างส่วนของทารกและส่วนของมารดา โดยคนท้องที่ไม่ได้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กต้องการธาตุเหล็กตลอดการตั้งครรภ์จำนวน 1,000 มิลลิกรัม โดยจำนวน 300 มิลลิกรัม ไปสร้างส่วนที่เป็นรกและทารก จำนวน 500 มิลลิกรัม ไปเพิ่มส่วนที่เป็นโลหิตของแม่ และจำนวน 200 มิลลิกรัม ถูกขับออกทางอุจจาระ ปัสสาวะ และเหงื่อ ดังนั้นคนท้องทุกคน จึงต้องเสริมธาตุเหล็ก ยิ่งหากเป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กยิ่งต้องเสริมจำนวนมากกว่าคนทั่วไป

นอกจากนั้น โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในคนท้องยังมีสาเหตุดังต่อไปนี้


1. มีการเสียเลือด อาจจะเป็นการเสียเลือดที่มองเห็น เช่น ได้รับบาดเจ็บ หรือการเสียเลือดที่มองไม่เห็น เช่น เป็นโรคริดสีดวงทวาร หรือมีแผลในทางเดินอาหาร และมีเลือดออกภายใน ดังนั้นในคนท้องหากตรวจพบว่ามีโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก อาจต้องตรวจหาสาเหตุการเสียเลือดในร่างกายด้วย


2. การดูดซึมธาตุเหล็กที่เสริมในขณะท้องไม่เพียงพอ โดยทั่วไปธาตุเหล็กจะดูดซึมได้ร้อยละ 10 อาหารที่เป็นกรด แนะนำให้รับประทานธาตุเหล็กกับน้ำส้มคั้น หรือวิตามินซี 250 มิลลิกรัม ดังนั้นหากรับประทานอาหารอื่นๆพร้อมกับการรับประทานธาตุเหล็ก เช่น น้ำชา กาแฟ ผัก ผลไม้ นม โปรตีน ยาปฏิชีวนะ ยาลดกรด ยาธาตุน้ำขาว ฯลฯ การดูดซึมธาตุเหล็กอาจไม่ถึงร้อยละ 10


3. มีอาการคลื่นไส้อาเจียนในขณะท้อง ทั้งธาตุเหล็กเองก็มีผลข้างเคียง จุกท้อง คลื่นไส้อาเจียนได้อยู่แล้ว ทำให้อาเจียนเอาธาตุเหล็กอออกได้

วิธีรักษาและผลข้างเคียง


การรักษาโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กนอกจากแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ผักใบเขียว ผลไม้แห้ง ถั่ว เนื้อสัตว์ เลือด ตับสัตว์ ไข่แดง นม เนย ขนมปัง (ที่เสริมธาตุเหล็ก) แล้ว วิธีง่ายที่สุด ราคาไม่แพง ไม่มีโทษใดๆ คือการเสริมธาตุเหล็กโดยการกินวันละ 150-200 มิลลิกรัมของธาตุเหล็กที่สามารถดูดซึมได้ (elemental iron)


โดยธาตุเหล็กมี 3 รูปแบบที่นิยมใช้ ได้แก่


1. เฟอร์รัสฟูมมาเรท (Ferrous fumarate) จะมีธาตุเหล็กที่สามารถดูดซึมได้ 106 มิลลิกรัม ต่อธาตุเหล็ก 1 เม็ด


2. เฟอร์รัส กลูโคเนต (Ferrous gluconate) มีธาตุเหล็กที่สามารถดูดซึมได้ 28-36 มิลลิกรัม ต่อธาตุเหล็ก 1 เม็ด


3. เฟอร์รัสซัลเฟต (Ferrous sulfate) มีธาตุเหล็กที่สามารถดูดซึมได้ 65 มิลลิกรัม ต่อธาตุเหล็ก 1 เม็ด เป็นธาตุเหล็กที่มีราคาถูกที่สุด


ปัญหาของการเสริมธาตุเหล็กคือ ร้อยละ 10-20 อาจมีผลข้างเคียงคือคลื่นไส้อาเจียน ท้องผูก จุกแน่นท้อง โดยธาตุเหล็กที่สามารถดูดซึมได้มาก ก็มักจะคลื่นไส้มาก ในกรณีที่ไม่สามารถกินแบบเม็ด อาจหลักเลี่ยงมากินชนิดน้ำ (Elixer) ส่วนหากกินชนิดไหนไม่ได้เลยอาจเปลี่ยนมาเป็นฉีด สำหรับคุณแม่ที่มีโลหิตจางมากและใกล้คลอด ซึ่งเสริมธาตุเหล็กไม่ทันการณ์ อาจต้องให้เลือดแทนค่ะ

ทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมีดังนี้ค่ะ


1. ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง ฯลฯ เพราะเป็นแหล่งธาตุเหล็กชั้นดี ในกรณีที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ควรเสริมธาตุเหล็กกินในรูปแบบเม็ด


2. ในกรณีที่มีประจำเดือนมามาก ควรเสริมธาตุเหล็กชนิดกิน


3. ก่อนตั้งครรภ์ ควรตรวจเลือดดูความเข้มข้นของเลือด หากมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ควรรักษาก่อนปล่อยให้ตั้งครรภ์


4. ขณะตั้งครรภ์แม้ไม่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ก็ต้องเสริมธาตุเหล็ก เพราะไม่สามารถรับประทานธาตุเหล็กจากอาหารได้พอเพียง


5. วิตามินซีช่วยในการดูดซึมของธาตุเหล็ก ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินซีเป็นประจำ ได้แก่ ผักผลไม้ต่างๆ เช่น ใบยอ มะเขือเทศ กล้วย ส้ม ฝรั่ง องุ่น มังคุด แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ มะละกอสุก เป็นต้น


Pregnancy Case Closed


กลับมาเล่าเรื่องคุณอัญชฬิสาต่อนะคะ พบว่าความเข้มข้นของเลือดคุณอัญชฬิสาเริ่มต้นที่ 28 เปอร์เซ็นต์ คุณอัญชฬิสาได้รับประทานธาตุเหล็กชนิดเม็ดวันละ 3 เม็ดตามคำแนะนำของแพทย์ โชคดีที่เธอไม่คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ 3 เดือนต่อมา ผลความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นกลายเป็น 31 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใกล้คลอดผลความเข้มข้นของเลือดเพิ่มขึ้นกลายเป็น 34 เปอร์เซ็นต์ เธอได้คลอดลูกสาวแข็งแรงสมบูรณ์ น้ำหนัก 3,400 กรัม ลูกไม่มีปัญหาโลหิตจาง เธอเองก็ไม่ตกเลือดหลังคลอด  ในรายคุณอัญชฬิสาถือว่าโชคดีมากที่รับการรักษาภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในช่วงท้องได้ทันท่วงที จึงไม่เกิดปัญหาที่อาจจะเกิดได้ในคนท้องคนอื่นๆที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook