4 เทคนิคสอนลูกให้เชื่อฟัง ไม่ยากอย่างที่คิด

4 เทคนิคสอนลูกให้เชื่อฟัง ไม่ยากอย่างที่คิด

4 เทคนิคสอนลูกให้เชื่อฟัง ไม่ยากอย่างที่คิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหาส่วนใหญ่ที่คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายต้องเจอในช่วงที่ลูกเริ่มโตก็คือ ปัญหาที่ลูกของคุณไม่ยอมเชื่อฟัง มีความคิดเป็นของตัวเอง พูดอะไรก็ทำเป็นหูทวนลม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เทคนิคที่เหมาะสมในการสอนให้ลูกน้อยเข้าใจและเชื่อฟังในแบบที่พ่อแม่ต้องการ โดยที่พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องขึ้นเสียงใส่ลูก ซึ่งถือเป็นวิธีที่ได้ผลกว่าวิธีที่ใช้ความรุนแรง มาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีไหนที่จะทำให้ลูกเชื่อฟังคุณได้อย่างอยู่หมัดได้บ้าง


1.สอนและทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
เด็กในช่วงวัย 3-6 ขวบ มักมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบคนใกล้ชิด ซึ่งบางครั้งยังไม่สามารถแยกแยะได้ว่าควรหรือไม่ควร ดังนั้นหากพ่อแม่ต้องการให้ลูกลอกเลียนแต่พฤติกรรมที่เหมาะสม ก็ควรทำให้เป็นแบบอย่าง ทำให้ลูกเห็นบ่อยๆ สิ่งเหล่านั้นจะทำให้ลูกสามารถจดจำ และนำไปปฏิบัติตามได้ดียิ่งขึ้น


2.ใช้คำพูดสุภาพ อ่อนหวานในการสอน
เชื่อได้ว่าเด็กๆ ทุกคนมักจะเกิดอารมณ์ต่อต้าน เมื่อพ่อแม่ใช้ถ้อยคำรุนแรงหรือขึ้นเสียในการสอน ทำให้ผลลัพธ์ในการสอนลูกนั้นไม่เป็นไปตามที่พ่อแม่คาดหวังเอาไว้ ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการสอนลูกก็คือ ให้ใช้คำพูดสุภาพ พูดในโทนเสียงที่อ่อนหวาน และเรียกชื่อลูกทุกๆ ครั้งไม่ว่าจะสอนอะไรก็ตาม จะทำให้ลูกหันมารับฟังได้ดีขึ้น


3.สอนให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
พ่อแม่บางรายมักจะห้ามลูกทำโน่นทำนี่เสมอ ไม่ว่าลูกจะทำอะไรก็ต้องโดนเอ็ดไปซะทุกครั้ง ซึ่งการกระทำเหล่านั้นจะทำให้ลูกขาดความมั่นใจ ดังนั้นสิ่งที่เหมาะสมในการสอนลูกก็คือ ควรฝึกให้ลูกใช้ความคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ไม่ควรห้ามเขาไปซะทุกอย่าง เพราะจะทำให้เขาไม่สามารถคิดวิเคราะห์ด้วยตัวเองได้


4.ฟังลูกให้มากๆ
ข้อสำคัญในการสอนลูกก็คือ การเปิดพื้นที่ให้เขาได้มีโอกาสพูดบ้าง ไม่ใช่เพียงแต่พ่อแม่จะเป็นฝ่ายถูกเสมอไป เพราะบางครั้งเด็กก็มีแง่มุมความคิดเป็นของตัวเอง จึงควรให้เด็กได้ลองพูดในมุมมองของเขาดูบ้าง ผิดหรือถูกอย่างไร คุณก็จะได้รับรู้ความรู้สึกนึกคิดของเขา ทำให้คุณจะสามารถแก้ไขปัญหาที่ต้นสายปลายเหตุได้ดีขึ้น


คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายที่กำลังประสบปัญหาลูกตัวน้อยไม่เชื่อฟัง ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสอนลูกซะใหม่ หันมาให้ความรัก ความใกล้ชิดความเข้าใจลูกให้มากขึ้น จะทำให้คุณรับรู้ได้ถึงปัญหาแท้จริงที่เกิดขึ้นและแก้ไขมันได้ดีกว่าที่ควร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook