คิ้วคือมงกุฎของหน้า แต่ถ้า ขนคิ้วร่วง จะทำยังไงดี

คิ้วคือมงกุฎของหน้า แต่ถ้า ขนคิ้วร่วง จะทำยังไงดี

คิ้วคือมงกุฎของหน้า แต่ถ้า ขนคิ้วร่วง จะทำยังไงดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผมร่วง เป็นอาการที่ใครหลายคนกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องปกติโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แล้วถ้าอยู่ ๆ ขนคิ้วร่วง ขึ้นมาล่ะ จะทำอย่างไรดี มารู้จักกับอาการขนคิ้วร่วงกันให้มากขึ้นดีกว่า กับบทความนี้จาก Hello คุณหมอ


ขนคิ้วร่วง เกิดขึ้นได้อย่างไร
อาการขนคิ้วร่วงนั้นมีที่มาจากหลายสาเหตุ และแตกต่างกันไป บางคนอาจเกิดได้จากสาเหตุหนึ่ง ขณะที่บางคนเกิดจากอีกสาเหตุหนึ่ง ดังนี้


อายุที่มากขึ้น
คนเราเมื่ออายุมากขึ้น รูขุมขนก็จะค่อย ๆ หยุดการผลิตขนหรือเส้นขน เราจะสังเกตได้ว่าเมื่ออายุมากขึ้นผมก็จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเทา และสีขาว ผมก็จะค่อย ๆ ร่วง จนกระทั่งหนังศีรษะบางไปจนถึงหนังศีรษะล้าน อาการเช่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการที่มีอายุมากขึ้นนั่นเอง


การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
ภาวะความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนไทรอยด์ เป็นสาเหตุที่ทำให้ขนคิ้วร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ป่วยมีภาวะของโรคไทรอยด์เป็นพิษ (hyperthyroidism) ทั้งในภาวะที่มีฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป และภาวะที่มีฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกินไป แต่สาเหตุนี้จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อฮอร์โมนไทรอยด์กลับมาอยู่ในระดับปกติ ขนหรือเส้นผมก็จะงอกกลับมาดังเดิม


โรคแพ้ภูมิตัวเอง
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกโจมตี ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะส่งผลต่อเซลล์ที่สุขภาพดี ซึ่งลักษณะเช่นนี้ จะเป็นการไปกระตุ้นให้เกิดผมหงอก ผมบาง และผมร่วง รวมถึงทำให้ขนคิ้วร่วงได้


ความผิดปกติของผิวหนัง
ขนเกิดขึ้นมาจากรูขุมขน ดังนั้นการมีสุขภาพผิวที่ดีย่อมหมายถึงการมีสุขภาพของเส้นผมและเส้นขนที่ดีตามไปด้วย แต่ปัญหาในเรื่องของโรคผิวหนัง เช่น อาการคันผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ ผิวแห้ง อาการคันบริเวณรอบคิ้ว สามารถทำให้ขนคิ้วของคุณร่วงได้


โรคขาดสารอาหาร (Nutritional deficiencies)
อาหารที่เรารับประทานเข้าไปในทุก ๆ วัน นอกจากจะช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพผิวและสุขภาพของเส้นผมด้วย แต่ถ้าร่างกายขาดสารอาหารจนกระทั่งเป็นโรคขาดสารอาหาร ก็มีผลทำให้ขนคิ้วของคนเราร่วงได้  ซึ่งภาวะขาดสารอาหารที่ว่านั้น ได้แก่

ภาวะขาดกรดไขมันที่จำเป็น (Fatty acid deficiency) ภาวะขาดไบโอติน (Biotin deficiency) ภาวะขาดสังกะสี (Zinc deficiency)


ผลข้างเคียงจากการรักษาทางการแพทย์
การรักษาทางการแพทย์ เป็นผลต่อการรักษาโรคร้ายต่าง ๆ ช่วยให้อาการของโรคนั้น ๆ ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาโรคบางอย่าง อาจเป็นสาเหตุที่ทำขนคิ้วร่วงได้ เช่น

การใช้ยาอาซิเทรติน (Acitretin) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มเรตินอยด์ ใช้ในการรักษาโรคผิวหนังบางประการ เช่น โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) การทำคีโม เพื่อการรักษามะเร็ง การใช้ยาวาลโพรอิค แอซิด (Valproic acid) เป็นยาสำหรับการรักษาผู้ป่วยโรคลมชัก


พันธุกรรม
พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ของเรา จะสังเกตได้ว่าอาการผมร่วง หรือขนน้อยนั้น อาจถ่ายทอดมาจากผู้เป็นพ่อหรือแม่ บางคนอาจจะผมบางเหมือนแม่ ในขณะที่บางคนอาจจะมีผมหยักศกเหมือนพ่อ บางคนอาจจะขนคิ้วบางหรือร่วงเหมือนกับทั้งพ่อและแม่ ซึ่งปัญหาขนคิ้วร่วงยังรวมถึงภาวะทางพันธุกรรมเหล่านี้ ได้แก่

โรคสังข์ทอง (Ectodermal Dysplasia) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่มีผลต่อเซลล์เนื้อเยื่อ จึงส่งผลต่อความผิดปกติของผิวหนัง เส้นผม เล็บ ฟัน และยังทำให้ผมร่วงผมบางเป็นหย่อม ๆ รวมถึงทำให้ขนในบริเวณอื่น ๆ และขนคิ้วร่วงหรือบางได้อีกด้วย กลุ่มอาการนิเธอทัน (Netherton syndrome) โรคนี้เป็นภาวะความผิดทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก มีผลต่อผิวหนังและระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เส้นผมเปราะและแตกง่าย ซึ่งภาวะนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นตั้งแต่แรกเกิด


นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

การได้รับรังสีทางเคมี โรคแอมีลอยโดซิส (Amyloidosis) โรคซาร์คอยโดสิส (Sarcoidosis) ภาวะการเผาไหม้ทางเคมี โรคดึงผม (Trichotillomania) มะเร็งผิวหนังชนิดคาร์ซิโนมา (Carcinoma) โรคซิฟิลิส โรคเรื้อน ดูแลขนคิ้ว และปกป้องขนคิ้วได้อย่างไรบ้าง


หากอยากให้ขนคิ้วเรียงสวย ดกดำ เป็นเงางามแล้วล่ะก็ คุณสามารถที่จะดูแลขนคิ้วของตัวเองได้จากหลายวิธีด้วยกัน ดังนี้

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักและผลไม้ พยายามที่จะไม่เครียด หาวิธีคลายเครียดไม่ว่าจะเป็นการนวด การทำสมาธิ หรือเข้ารับการรักษาจากคุณหมอ หลีกเลี่ยงการถอนขนคิ้วบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการเติมแต่งขนคิ้ว บำรุงขนคิ้วด้วยวาสลีน หรือน้ำยาสำหรับดูแลเส้นผมและเส้นขนโดยเฉพาะ เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

หากคุณเริ่มสังเกตได้ว่าตัวเองกำลังประสบปัญหากับอาการผมร่วง หรือมีอาการขนในบริเวณอื่นร่วงมากจนผิดปกติ ควรเข้ารับคำแนะนำและขอคำปรึกษากับคุณหมอที่เชี่ยวชาญทันที เพื่อรับการรักษาหรือรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและเหมาะสม

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook