“โอริงามิ” ช่วย “โรคหัวใจ” จริงเหรอ!?!

“โอริงามิ” ช่วย “โรคหัวใจ” จริงเหรอ!?!

“โอริงามิ” ช่วย “โรคหัวใจ” จริงเหรอ!?!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โอริงามิ ศิลปะการพับกระดาษ มรดกตกทอดทางวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น ที่เราคุ้นเคยกันดี กับการใช้กระดาษแผ่นเดียวสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ตามจินตนาการ เช่น รูปสัตว์ ตัวละครในนิทาน บางครั้งความงดงามของมันก็แผ่ขยายไปยังวงการแฟชั่นที่นำเอาลวดลายของกระดาษโอริงามิมาเป็นลายผ้า (pattern) ที่ไม่เหมือนใคร

บางคนก็พับมันเล่นๆ เป็นงานศิลปะ บ้างก็พับจริงจัง ถึงขั้นเปิดสอน และทำขายกันเลยก็มี แต่ประโยชน์ของ โอริงามิ ก็ใช่ว่าจะมีอยู่เพียงเท่านั้นซะเมื่อไหร่






ว่ากันว่ามันเป็นการส่งผ่านจิตนาการโดยประยุกต์ใช้ศาสตร์ต่างๆ ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และความงดงามเชิงศิลปะไว้ด้วยกัน ซึ่งนอกจากมันจะช่วยพัฒนาระบบประสาทและความคิดแล้ว โอริงามิยังสามารถช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นได้ บอกเลยว่าน่าอัศจรรย์ใจทีเดียวล่ะ



เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อปี 2002 Kaori Kuri-bayashi และ Zhong You ได้ทำการพัฒนาแนวคิดของการพับกระดาษแบบโอริงามิมาประยุกต์เข้ากับอุปกรณ์ขยายหลอดเลือด เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่เรียกว่า Stent ซึ่งมีขนาดเล็กซอกซอนเกินคาดได้มากกว่าการทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจที่เราได้ยินกันบ่อยๆ โดยทั่วไปแล้ว Stent จะถูกสอดเข้าไปในหลอดเลือดที่มีอาการตีบของผู้ป่วย เมื่อแพทย์ทำการขยายหลอดเลือดแล้ว Stent ก็จะถูกวางค้างไว้ในหลอดเลือดนั้น เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้คล่อง ซึ่งที่มันมาเกี่ยวข้องกับการพับกระดาษ เพราะมันมีโมเดลพื้นฐานการพับกระดาษเป็นแบบภูเขา กับแบบเนินเขา ง่ายกว่านั้นคือการพับขึ้นกับการพับลงนั่นแหละ ซึ่งการพับอย่างมีระบบนี้จะทำให้กระดาษเรียบๆ แผ่นหนึ่งสามารถแปลงร่างกลายเป็นท่อนเล็กๆ และขยายกางออกกว้างขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อนำมาประยุกต์ใช้กับวัสดุที่เหมาะสมกับการไปอยู่ในหัวใจ ประสิทธิภาพก็เลยเต็มพลังพับ!

เห็นมั้ยว่า จินตนาการ นำมาสู่ วิทยาการ ได้ ใครคิดว่าจิตนาการเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน จรรโลงโลกซึ่งจับต้องไม่ได้ก็คงต้องเปลี่ยนความคิดใหม่กันแล้วล่ะ

ของเล่นเสริมจินตนาการ งานประดิษฐ์ ของสะสม ซื้อง่าย-ขายฟรี ที่ Dealfish.co.th

ขอบคุณเนื้อหาอ้างอิงจาก คู่มือยุทธจักรนักคิด with scimath ฉบับเบื้องต้น
ขอบคุณรูปภาพจาก bloggang.com, portal.in.th, pokpik.com, gotoknow.org, akihabaraprincess.com, feltmeupdesigns.blogspot.com, walyou.com, playfullearning.net, tumblr.com, cuteasafox.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook