Useful Indicator

Useful Indicator

Useful Indicator
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Useful Indicator

 

เป็นที่ถกเถียงกันเยอะนะครับว่า ถ้ามีส่วนสูงเท่านี้ ควรมีน้ำหนักเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ไม่ดูอ้วนไป ผอมไป ถามกันอย่างไรก็ไม่จบ บางคนเลือกใช้การเอาส่วนสูงเป็นเซนติเมตรลบด้วย 100 บ้าง 110 บ้าง แต่รูปร่างก็ยังดูไม่สมส่วนอยู่ดี วันนี้มาทำความรู้จักกับ ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index–BMI) ดัชนีที่สามารถบอกภาวะน้ำหนัก ที่ทำให้เรารู้เท่าทันว่าตอนนี้ผอมไป อ้วนไป หรือเรามีรูปร่างที่พอดีแล้วครับ

การคำนวณดัชนีมวลกายสามารถคำนวณตามสูตรด้านล่างนี้ คือการเอาน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงที่ทำให้เป็นหน่วยเมตรยกกำลังสอง

BMI = นน.เป็นกก / (ส่วนสูงเป็นเมตร)2

ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 70 กก.สูง 175 ซม. ก็เอาน้ำหนัก 70 เป็นตัวตั้ง หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร คือ 1.75 ยกกำลังสอง ได้ 3.0625 จะได้ BMI = 22.9 หลังจากนั้นนำค่านี้ไปเปรียบเทียบกับตารางแปรผล ที่กำหนดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดค่าปกติ ค่าบอกภาวะน้ำหนักเกิน และค่าบอกภาวะเป็นโรคอ้วนดังนี้

Useful Indicator

คำวินิจฉัย BMI
น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ : น้อยกว่า 18.5
น้ำหนักปกติ : 18.5-24.99
น้ำหนักเกิน (overweight) : 25.00-29.99
น้ำหนักเกินถึงระดับที่ต้องดูแลเสมือนเป็นโรคอ้วน (Obese) : 30
อ้วนระดับ 1 (class I)   : 30.00-34.99
อ้วนระดับ 2 (class II)  : 35.00-39.99
อ้วนระดับ 3 (class III) : มากกว่า 40

ดัชนีมวลการเป็นค่าเดียวกันทั้งเพศชายและหญิง โดยเริ่มพบความเสี่ยงสุขภาพสูงขึ้นกว่าปกติตั้งแต่ 25 กก./ตรม. ขึ้นไป จึงใช้ตัวเลข 25 เป็นเกณฑ์นิยามคำว่าน้ำหนักเกิน (Overweight) และพบความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงตั้งแต่ 30 กก./ตรม.ขึ้นไป จึงใช้ตัวเลข 30 เป็นเกณฑ์นิยามคำว่าโรคอ้วน (Obesity)

สำหรับผู้ที่อ้วนเกินไปก็แสดงว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกายอย่างจริงจัง อย่าปล่อยเนื้อปล่อยตัว เพราะนอกจากจะมีรูปร่างที่ไม่ดีแล้ว ยังอาจเป็นสาเหตุของหลากหลายโรคที่พร้อมมาเยี่ยมเยียนได้เสมอนะครับ

ข้อมูลอ้างอิง : นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ รูปประกอบ : i.telegraph.co.uk,

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ Useful Indicator

Useful Indicator
Useful Indicator
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook