พ่อแม่ต้องรู้! อาการร้อนในในเด็ก สาเหตุที่ทำให้ลูกกินอาหารได้ยาก

พ่อแม่ต้องรู้! อาการร้อนในในเด็ก สาเหตุที่ทำให้ลูกกินอาหารได้ยาก

พ่อแม่ต้องรู้! อาการร้อนในในเด็ก สาเหตุที่ทำให้ลูกกินอาหารได้ยาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนึ่งในตัวการที่ทำให้ลูกทานอาหารได้ยากลำบาก และส่งผลให้ลูกได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอก็คือ อาการร้อนใน ซึ่งอาการดังกล่าวนี้ให้ความรู้สึกเจ็บปวดทรมานแก่ลูกมาก เพราะแม้แต่การดื่มน้ำเปล่า ก็สามารถสร้างความปวดให้กับแผลได้ วันนี้เราจึงขอชวนพ่อแม่ทุกท่าน หันมาใส่ใจเกี่ยวกับอาการร้อนในกันค่ะว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร อาการที่ลูกต้องเผชิญเมื่อเป็นร้อนในเป็นอย่างไร รวมถึงวิธีการรักษาอาการร้อนในที่พ่อแม่ควรรู้กันค่ะ


ร้อนในคืออะไร
ร้อนในหรือแผลร้อนใน มีชื่อในภาษาอังกฤษว่า Aphthous Ulcer คือแผลที่มีขนาดเล็กและตื้น ลักษณะจะเป็นสีขาวและล้อมด้วยสีแดง เกิดขึ้นบริเวณด้านในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก หรือริมฝีปาก และลักษณะของแผลมีโอกาสขยายใหญ่ขึ้นได้ มักทำให้รู้สึกเจ็บทุกครั้งที่สัมผัสกับสิ่งต่างๆ ที่เข้าไปในปาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำเปล่าหรืออาหารก็ตาม และโดยปกติแล้วอาการร้อนในมักจะหายไปเองในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้หากมีไข้ร่วมอยู่ด้วยในช่วงที่มีอาการร้อนใน ควรรีบพาลูกไปหาหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมือเท้าปาก


สาเหตุที่ทำให้เกิดร้อนในในเด็ก
ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้เกิดร้อนในในเด็กนั้น มีทั้งเกิดจากสารระคายเคืองต่างๆ จากการแพ้อาหาร กัดปากตัวเอง ใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็ง ร่างกายขาดสารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุ ระบบภูมิต้านทานของเด็กอ่อนแอลง ทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเกินไป รวมทั้งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส


อาการร้อนใน
สำหรับอาการร้อนในที่พ่อแม่ควรสังเกตก็คือ ลูกมักจะดื่มน้ำมากกว่าปกติ ร้องไห้หรืองอแงโดยไร้เหตุผล เคี้ยวอาหารช้าลงมาก มักแสดงอาการเจ็บปวดหรือร้องไห้ทุกครั้งที่ทานอาหารรสชาติเค็มหรือเผ็ด มีแผลในช่องปากซึ่งมีลักษณะสีขาวล้อมรอบด้วยสีแดง มีขนาดเล็กและตื้น รวมถึงอาจมีอาการไข้ร่วมด้วยเมื่อแผลเกิดการติดเชื้อ


วิธีรักษาอาการร้อนใน
สำหรับวิธีรักษาอาการร้อนในที่พ่อแม่สามารถทำได้นั้น มีทั้งการใช้ยาทารักษาแผลร้อนใน การทำความสะอาดมือของลูกเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ ให้ลูกทานอาหารอ่อนๆ ห้ามเอามือไปสัมผัสแผล บ้วนปากด้วยน้ำเกลือแทนการแปรงฟัน ทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงการอดทนรอประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพราะอาการดังกล่าวจะหายไปเอง


เมื่อพ่อแม่ทราบถึงสาเหตุและอาการร้อนในกันไปแล้ว อย่าลืมสังเกตช่องปากของลูกด้วยว่ามีแผลหรือเปล่า หากลูกมีอาการตามที่กล่าวไปข้างต้น แนะนำให้ค่อยๆ รักษาด้วยวิธีที่เราได้นำมาแชร์กัน สำคัญที่สุดคือ ควรสังเกตว่ามีไข้หรือเปล่า หากมีไข้ร่วมกับอาการร้อนใน ควรรีบพบหมอทันที เพราะอาจเป็นหนึ่งในสัญญาณของการเป็นโรคมือเท้าปากที่มักเกิดในเด็กนั่นเองค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook