7 วิธีปรับรูปแบบการทำงานสำหรับ Working Mom เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม

7 วิธีปรับรูปแบบการทำงานสำหรับ Working Mom เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม

7 วิธีปรับรูปแบบการทำงานสำหรับ Working Mom เพื่อป้องกันภาวะแท้งคุกคาม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณแม่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินกันมาก่อนถึงภาวะแท้งคุกคาม ซึ่งมักเกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ทำงานหนักและได้รับความกดดันจากการทำงานมากจนเกินไป ในส่วนของอาการแท้งคุกคามนั้นเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ตั้งครรภ์โดยไม่มีตัวอ่อน และเกิดจากความผิดปกติของมดลูกนั่นเอง แต่สิ่งที่ทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคามได้มากที่สุดก็คือ การทำงานหนัก ดังนั้นเราจึงชวนให้คุณแม่ทุกท่านหันมาปรับรูปแบบการทำงานใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวกันค่ะ

วิธีปรับรูปแบบการทำงานสำหรับ Working Mom


1.กินอาหารให้เป็นเวลา
การกินอาหารให้เป็นเวลามีส่วนช่วยในการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแท้งคุกคามได้เป็นอย่างดี เพราะช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานเป็นปกติ ทั้งตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ก็จะได้รับสารอาหารและพลังงานได้อย่างเพียงพอ ที่สำคัญในแต่ละวันคุณแม่ควรทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่จะยิ่งส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของทั้งสองนั่นเอง


2.นอนให้เพียงพอ
การนอนหลับต่อเนื่องอย่างน้อย 8 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางคืน จะช่วยให้คุณแม่และทารกได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารกได้อย่างเต็มที่ และที่สำคัญไม่ควรให้ตัวเองเครียดก่อนเข้านอน เพราะจะทำให้นอนหลับไม่สนิทตลอดคืน


3.ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายในขณะตั้งครรภ์สามารถทำได้ด้วยการทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายได้ เช่น การเดินเล่น, ออกกำลังกายในน้ำเบาๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะช่วยผ่อนคลายความเครียดในช่วงตั้งครรภ์ได้ดีอีกด้วย


4.ใกล้ชิดคุณหมอ
การที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีความใกล้ชิดกับคุณหมอที่ไปฝากครรภ์นั้น ช่วยสร้างความอุ่นใจได้อย่างมาก เพราะหากคุณแม่มีความรู้สึกผิดปกติกับการตั้งครรภ์ ก็สามารถโทรปรึกษาคุณหมอได้ตลอดเวลา


5.ระบายความเครียด
การระบายความเครียด ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เกิดจากในที่ทำงานหรือในครอบครัวให้แก่คนที่ไว้ใจรับฟัง มีส่วนช่วยให้คุณแม่ลดความกังวลลงได้ อย่าลืมว่าความเครียดมีผลต่อการทำให้เกิดอาการแท้งคุกคามสูงเลยทีเดียว


6.แจ้งให้เพื่อนร่วมงานทราบการตั้งครรภ์
การแจ้งให้เพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าทราบถึงการตั้งครรภ์ เป็นการแจ้งให้ทราบถึงการไม่สามารถทำงานที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณแม่สบายใจในการทำงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์และต่อสุขภาพร่างกายของคุณแม่เองด้วย เพราะการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้แรงมากๆ รวมทั้งการทำงานที่ต้องเผชิญกับความเครียดสูง


7.ระมัดระวังการลุกนั่ง
ในช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก รกอาจจะยังเกาะตัวกับมดลูกได้ไม่ดีพอ ดังนั้นคุณแม่ควรระมัดระวังในการลุกนั่ง การก้ม การเขย่ง การเดิน การสวมรองเท้าส้นสูง และการยกของที่มีน้ำหนัก เพราะโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมดังกล่าวมักเกิดขึ้นได้ง่ายมาก

อย่างที่เราได้กล่าวไปข้างต้นแล้วว่าสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคามสูงมากก็คือการทำงาน ดังนั้นคุณแม่ที่เริ่มทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ ควรใส่ใจและปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย สิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจมากที่สุดก็คือเรื่องความเครียด พยายามหลีกห่างจากสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียดจะดีต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้มาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook