ตามไปดูข้อดี-ข้อเสียของการตัดฝีเย็บขณะคลอดลูก

ตามไปดูข้อดี-ข้อเสียของการตัดฝีเย็บขณะคลอดลูก

ตามไปดูข้อดี-ข้อเสียของการตัดฝีเย็บขณะคลอดลูก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยสงสัยไหมว่าทำไมต้องตัดฝีเย็บขณะคลอดลูก และมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการตัดฝีเย็บมาให้คุณแม่ได้ศึกษาและทำความเข้าใจกันแล้ว โดยมีข้อมูลดังนี้

ไขข้อข้องใจ ทำไมคลอดลูกต้องตัดฝีเย็บ?

การตัดฝีเย็บขณะคลอดลูก นั่นก็เพื่อช่วยให้คุณแม่คลอดลูกง่ายขึ้น โดยเฉพาะเมื่อทารกมีขนาดตัวใหญ่ทำให้คลอดออกมาได้ยาก จึงจำเป็นต้องตัดฝีเย็บเพื่อขยายปากช่องคลอดให้กว้างขึ้นมากพอที่ลูกน้อยจะคลอดออกมาได้นั่นเอง แต่ก็ใช่ว่าจะต้องตัดฝีเย็บทุกคน เพราะคุณแม่บางคนที่ลูกตัวเล็กก็อาจคลอดเองได้โดยไม่ต้องตัดฝีเย็บเช่นกัน



ข้อดีของการตัดฝีเย็บ

สำหรับข้อดีของการตัดฝีเย็บ ก็มีดังต่อไปนี้

1.ป้องกันช่องคลอดฉีกขาด
การตัดฝีเย็บจะช่วยป้องกันไม่ให้ช่องคลอดเกิดการฉีกขาด ซึ่งจะทำให้เสียเลือดมากและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง โดยการตัดฝีเย็บจะทำให้เสียเลือดไม่มากนักและเย็บแผลได้ง่ายอีกด้วย


2.คลอดลูกได้เร็วขึ้น
เมื่อมีการตัดฝีเย็บจะทำให้ทารกคลอดออกมาได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งหากไม่ตัดฝีเย็บอาจจะต้องใช้เวลาในการทำคลอดนานมาก และจะส่งผลอันตรายต่อทารกได้


3.ลดความเสี่ยงต่อทารก
การคลอดลูกอาจมีความเสี่ยงต่อทารกได้หลายอย่าง โดยเฉพาะหากคลอดยากหรือทารกมีขนาดตัวที่ใหญ่ด้วยแล้ว ดังนั้นจึงต้องลดความเสี่ยงอันตรายต่อทารกให้น้อยลง ซึ่งการตัดฝีเย็บก็เป็นวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ดีที่สุด


การตัดฝีเย็บมีข้อเสียอย่างไรบ้าง

ถึงแม้ว่าการตัดฝีเย็บจะมีข้อดี แต่ก็อาจมีข้อเสียได้บ้างเหมือนกัน นั่นคือ

1.อาจเกิดการอักเสบและติดเชื้อที่บริเวณแผลฝีเย็บได้ โดยเฉพาะหากคุณแม่ดูแลแผลฝีเย็บไม่ดี ดังนั้นจึงต้องใส่ใจกับการดูแลทำความสะอาดแผลฝีเย็บมากเป็นพิเศษจนกว่าแผลจะหายสนิทดีแล้ว

2.หลังคลอดอาจจะยังมีอาการเจ็บบริเวณแผลเย็บอีกหลายคน ซึ่งทำให้คุณแม่เดินไม่ค่อยสะดวกมากนัก

3.เสี่ยงต่อการตกเลือดได้สูง เนื่องจากมีเลือดออกมาก ซึ่งควรทำคลอดกับแพทย์ พยาบาลที่มีความชำนาญโดยตรง

การตัดฝีเย็บก็เพื่อให้คุณแม่คลอดลูกง่ายขึ้น ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการดูแลแผลฝีเย็บเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อคลอดลูกจะได้ไม่มีปัญหาแผลติดเชื้อหรืออักเสบรุนแรงตามมานั่นเอง นอกจากนี้ก็ต้องเฝ้าระวังอาการผิดปกติหลังคลอดที่อาจเป็นอันตรายด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook