รู้ไหม? ปวดท้องประจำเดือนบ่อย เสี่ยงเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้

รู้ไหม? ปวดท้องประจำเดือนบ่อย เสี่ยงเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้

รู้ไหม? ปวดท้องประจำเดือนบ่อย เสี่ยงเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกครั้งที่ใกล้ถึงรอบเดือน สิ่งที่ผู้หญิงต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ อาการปวดท้องประจำเดือน ซึ่งอาการปวดท้องประจำเดือน หากมีอาการปวดอยู่บ่อยครั้ง ไม่ควรมองข้ามอาการนี้เด็ดขาด เพราะอาการปวดท้องประจำเดือนแบบรุนแรงหรือเรื้อรัง มักเป็นสัญญาณเตือนของการเสี่ยงเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ จึงชวนให้ผู้หญิงทุกคนมาทำความเข้าใจและรู้ทันถึงอาการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กันค่ะ


อาการปวดท้องประจำเดือน
อาการปวดท้องประจำเดือน คือ อาการปวดท้องน้อยในช่วงที่มีรอบเดือน โดยมักมีอาการก่อนมีรอบเดือน 1-2 วัน หรือบางคนอาจมีอาการปวดท้องในระหว่างมีรอบเดือนในช่วงวันแรกๆ ซึ่งอาการจะมีลักษณะปวดเกร็งเล็กน้อย ปวดแบบหน่วงๆ ไปจนถึงปวดอย่างรุนแรง


โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
ผศ.นพ.ศรีเธียร เลิศวิกูล ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยว่า โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นั้น เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้จะใช้การรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดก็ตาม ตราบใดที่ผู้หญิงยังมีประจำเดือน เนื่องจากมีฮอร์โมนที่เป็นตัวคอยกระตุ้นให้เกิดโรค อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่โรคนี้จะเป็นซ้ำไปจนถึงช่วงวัยทองอีกด้วย


อาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

อาการของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่ผู้หญิงควรสังเกตก่อนไปพบแพทย์มีดังนี้

1.ปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 2-3 วัน และอาการปวดยิ่งหนักขึ้นเมื่อมีประจำเดือน อีกทั้งยังเพิ่มความรุนแรงในรอบเดือนถัดไป

2.มีอาการปวดท้องน้อยนานกว่า 6 เดือน

3.ปวดท้องน้อยในขณะที่มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งลักษณะของอาการจะปวดลึกๆ ในบริเวณช่องคลอด

4.เลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ

5.คลำได้ก้อนที่บริเวณท้องน้อย

6.มีบุตรยาก

3 วิธีรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ในส่วนของการรักษาโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่นั้นมีแนวทางการรักษาถึง 3 วิธีด้วยกัน คือ

1.ใช้ยารักษา

-ใช้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs ในกรณีที่มีอาการปวดไม่มากนัก

-ใช้ยาคุมกำเนิด รวมถึงยาฉีด ยาฝัง ยาเม็ด แผ่นแปะคุมกำเนิด หรือวงแหวนคุมกำเนิดทางช่องคลอด

-ใช้ยาฮอร์โมนกลุ่มโปรเจนติน ซึ่งจะใช้ในกรณีที่อาการปวดไม่ดีขึ้นหรือไม่สามารถใช้ยาคุมกำเนิดได้

-ใช้ยาฮอร์โมนกลุ่มแอนโดรเจน ซึ่งเป็นยาฮอร์โมนที่กระตุ้นลักษณะเพศชาย

-ใช้ยากลุ่ม GnRHa หรือ Gonadotropin releasing hormone agonist ซึ่งเป็นยาที่มีส่วนช่วยหยุดการทำงานของรังไข่ได้ชั่วคราว


2.รักษาด้วยการผ่าตัด

การใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดนั้น จะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องประจำเดือนหนักมาก ซึ่งมีถุงน้ำช็อกโกแลตขนาดใหญ่ หรือในกรณีที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล


3.รักษาร่วมกันระหว่างการใช้ยาและการผ่าตัด

วิธีนี้เป็นการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้อาการกลับมาเป็นซ้ำอีก ซึ่งหลังผ่าตัดควรเลือกใช้ยาที่ปลอดภัยและมีผลข้างเคียงต่ำ เพราะวิธีนี้จำเป็นต้องใช้ยาเป็นเวลานาน

จะเห็นได้ว่าอาการปวดท้องประจำเดือน บางครั้งก็ไม่ควรคิดว่าเป็นอาการปวดที่เป็นเรื่องปกติทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน เพราะความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกัน และย่อมมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตอาการต่างๆ ให้ดี เพื่อพบแพทย์และทำการตรวจวินิจฉัยโรคต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook