รู้จัก 3 โรคจิตเวชและอาการที่สังเกตได้ด้วยตนเอง

รู้จัก 3 โรคจิตเวชและอาการที่สังเกตได้ด้วยตนเอง

รู้จัก 3 โรคจิตเวชและอาการที่สังเกตได้ด้วยตนเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันนี้มีคนไทยที่เป็นผู้ป่วยด้วยโรคจิตเวชอยู่ไม่น้อย ซึ่งผู้ป่วยหลายคนแทบจะไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็นโรคจิตเวช และที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือ ผู้ป่วยบางรายยังคงมีความสับสนเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตเวชในบางโรคอีกด้วย ดังนั้นวันนี้เราจึงอยากชวนให้ทุกคนมาทำความรู้จัก 3 โรคจิตเวชที่คนไทยควรรู้ พร้อมทั้งการสังเกตอาการของแต่ละโรคได้ด้วยตัวเองกันค่ะ


1.โรคแพนิก


โรคแพนิกจัดเป็นหนึ่งในโรคจิตเวช เป็นโรคตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติมีการทำงานที่ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ จนทำให้มีอาการแพนิก เช่น ใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด จุกแน่น วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม ซึ่งผู้ป่วยบางรายที่ไม่รู้จักเกี่ยวกับโรคแพนิก มักเกิดความเข้าใจผิดว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจ ซึ่งเมื่อไปพบแพทย์และมีการตรวจคลื่นหัวใจ ก็จะพบว่าร่างกายปกติทุกอย่าง

อาการของโรคแพนิก จะเกิดขึ้นบ่อยโดยไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเมื่อใด แต่หลังจากมีอาการแพนิก มักจะมีอาการต่างๆ ตามมาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน เช่น มีความกังวลอยู่ตลอดเวลา ควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่กล้าไปไหนถ้าไม่มั่นใจว่าจะมีคนที่สามารถช่วยได้ และมักหมกมุ่นกังวลว่าจะเป็นโรคหัวใจ


2.โรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้าเป็นโรคจิตเวชที่ผู้ป่วยจะมีอาการหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย และมักมีความรู้สึกถึงการไม่มีคุณค่าในตนเอง ในขณะที่ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการเศร้าแต่มักจะเบื่อหน่ายกับสิ่งรอบตัวทุกอย่าง และมักรู้สึกว่าไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาจากจิตแพทย์อย่างใกล้ชิด อาจเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง

อาการของโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อยมาก มองทุกอย่างแย่ไปหมด รู้สึกไร้คุณค่าในตัวเอง มักคิดว่าเป็นภาระของผู้อื่น มองเห็นแต่ข้อผิดพลาดของตัวเอง หลงลืมง่าย เหม่อลอย ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว เมื่อยตัว บางรายอาจมีความคิดอยากตาย


3.โรคไบโพลาร์


โรคไบโพลาร์คือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ของผู้ป่วย ซึ่งจะมีลักษณะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปมาในระหว่างช่วงเวลาซึมเศร้าและช่วงเวลาที่อารมณ์ดีเกินปกติหรือที่เรียกว่าช่วงแมเนีย

อาการของโรคไบโพลาร์ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ของวันและมักเป็นเช่นนี้แทบทุกวัน มีความสนใจหรือมีความสุขในการทำกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดหรือลดลงอย่างมาก น้ำหนักตัวลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารแทบทุกวัน นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไปแทบทุกวัน กระสับกระส่ายหรือเชื่องช้าแทบทุกวัน อ่อนเพลียแทบทุกวัน รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า รู้สึกผิดอย่างไม่มีเหตุผล สมาธิและความสามารถในการอ่านคิดลดลง ตัดสินใจอะไรไม่ได้ และมีความคิดอยากตายอยู่เรื่อยๆ


จะเห็นได้ว่าอาการของโรคจิตเวชทั้ง 3 โรคที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ล้วนเกิดจากความผิดปกติของอารมณ์ ดังนั้นจึงอยากชวนให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับอารมณ์ของตัวเองในทุกๆ วัน โดยหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ของตัวเองบ่อยๆ หากเห็นถึงความผิดปกติ จำเป็นที่จะต้องปรึกษาคนรอบข้าง หรือเลือกที่จะปรึกษาและเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพื่อที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียที่รุนแรงจากการเป็นโรคจิตเวช ซึ่งเป็นโรคที่ทุกคนล้วนเสี่ยงเผชิญ โดยเฉพาะการใช้ชีวิตในสถานการณ์ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ในสังคมทุกวันนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook