5 ภาวะแทรกซ้อนมาลาเรีย รู้! ก่อนลูกอาการทรุดหนัก

5 ภาวะแทรกซ้อนมาลาเรีย รู้! ก่อนลูกอาการทรุดหนัก

5 ภาวะแทรกซ้อนมาลาเรีย รู้! ก่อนลูกอาการทรุดหนัก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคมาลาเรียคือโรคที่เกิดจากพยาธิ และมียุงคอยเป็นพาหะนำโรค ทั้งนี้ยุงมักจะมีการแพร่เชื้อมาลาเรียสู่มนุษย์โดยการกัด อีกทั้งโรคมาลาเรียยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในประเทศเขตร้อน รวมทั้งประเทศไทยเราเองด้วย ซึ่งแน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ต่างรู้จักโรคชนิดนี้กันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะบ้านไหนมีลูกเล็กเด็กแดง ก็ยิ่งต้องคอยเป็นกังวลกับโรคนี้มากหลายเท่า วันนี้เราจึงขอหยิบเอาสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนของโรคมาลาเรียมาบอกให้ได้ทราบกันค่ะ เพื่อที่พ่อแม่จะได้เพิ่มความระมัดระวังในการเลี้ยงดูลูกเพื่อไม่ให้ยุงกัดมากขึ้นกว่าเดิม


1.อาการชัก
อาการชักคือหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคมาลาเรีย ซึ่งหากเชื้อมาลาเรียเกิดการฝังตัวไปอยู่ในหลอดเลือด รวมทั้งไปยับยั้งไม่ให้เลือดไปเลี้ยงสมอง ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการชักและสมองบวม เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนมีโอกาสที่สมองจะถูกทำลายและเกิดอาการโคม่าจนเสียชีวิตได้


2.หายใจลำบาก
ปัญหาด้านการหายใจ คือหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนของโรคมาลาเรียที่ต้องเฝ้าระวังอย่างมาก เพราะเชื้อมาลาเรียมีโอกาสทำให้ปอดของผู้ป่วยมีของเหลวสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก จนเสี่ยงทำให้น้ำท่วมปอด หายใจได้ลำบาก หรือกระทั่งทำให้หายใจไม่ออกได้อีกด้วย


3.น้ำตาลในเลือดต่ำ
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคมาลาเรียขั้นรุนแรง มีโอกาสทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำลงเรื่อยๆ ซึ่งเมื่อใดที่ผู้ป่วยเผชิญกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป รวมทั้งไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจทำให้เกิดอาการโคม่าและเสียชีวิตลงได้


4.อวัยวะภายในล้มเหลว
หนึ่งในความสามารถของเชื้อมาลาเรียที่น่ากลัวก็คือ มันสามารถทำลายตับและไต รวมทั้งสามารถทำให้ม้ามแตกได้ หรือแม้แต่อวัยวะภายในอื่นๆ ก็อาจได้รับความเสียหายจนเกิดการล้มเหลวได้เช่นกัน ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายอย่างมาก เพราะมีโอกาสทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้สูง


5.เป็นโรคโลหิตจาง
เหตุผลที่โรคโลหิตจางคือภาวะแทรกซ้อนของโรคมาลาเรีย นั่นเพราะเชื้อมาลาเรียจะแฝงตัวในร่างกายของมนุษย์ผ่านเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดแดงจะค่อยๆ ถูกเชื้อโรคกัดกินจนได้รับความเสียหาย ส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแดงไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่เพียงพอ และทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ในที่สุด

จะเห็นได้ว่าภาวะแทรกซ้อนของโรคมาลาเรียทั้ง 5 ชนิดนี้ ล้วนมีโอกาสส่งผลให้ร่างกายได้รับความเสียหายอย่างหนัก บางครั้งก็เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตลงได้ ดังนั้นพ่อแม่จึงต้องเพิ่มเกราะป้องกันให้กับลูกและคนในครอบครัวเพื่อไม่ให้ประสบกับการเป็นโรคมาลาเรียให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยวิธีไหนที่สามารถป้องกันยุงได้ก็ควรทำทันที และควรคิดเสมอว่ายุงที่บินอยู่รอบๆ อาจนำเชื้อมาลาเรียมาสู่ตัวลูกหรือคนในครอบครัวได้ เพื่อที่จะสามารถป้องกันและไม่มองข้ามในเรื่องนี้ไปนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook