ฟังจากคุณหมอญี่ปุ่น กลืนข้าวเมื่อก้างปลาติดคอช่วยได้หรือไม่ ?

ฟังจากคุณหมอญี่ปุ่น กลืนข้าวเมื่อก้างปลาติดคอช่วยได้หรือไม่ ?

ฟังจากคุณหมอญี่ปุ่น กลืนข้าวเมื่อก้างปลาติดคอช่วยได้หรือไม่ ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนจำนวนมากมีประสบการณ์ก้างปลาติดคอและพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่แนะนำให้กลืนก้อนข้าวสุกลงคอเพื่อชะเอาก้างปลาลงท้องและขับออกทางอุจจาระ มารู้กันว่าการกลืนข้าวสวยเมื่อก้างติดคอเป็นวิธีการที่ควรปฏิบัติหรือไม่ และข้อปฏิบัติเมื่อก้างปลาติดคอจากคุณหมอชาวญี่ปุ่นกันค่ะ

ข้อซักถามที่คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่สงสัยถึงวิธีการปฏิบัติเมื่อก้างปลาติดคอ

เมื่อก้างปลาติดคอมีอาการอย่างไรบ้าง?

หากกลืนก้างปลาเข้าไปก้างปลาอาจไปแทงติดที่บริเวณคอและหลอดอาหาร โดยก้างปลาขนาดเล็กจากปลาซัมมะ ปลาทูแขกและปลาไหล ฯลฯ มักจะแทงไม่ลึกจึงไม่ทำให้เกิดเลือดออก แต่ก้างปลาขนาดใหญ่จากปลากะพง ปลาแซลมอน และปลาหางเหลือง ฯลฯ อาจจะแทงลึกเข้าไปในคอและหลอดอาหาร ส่งผลทำให้เกิดเลือดออกตามบริเวณที่แทง ซึ่งอาจทำให้เจ็บและอักเสบได้

การกลืนก้อนข้าวสวยลงไปจะช่วยชะก้างปลาที่ติดคอได้หรือไม่?

คนสมัยก่อนมักแนะนำให้ลูกหลานกลืนข้าวสวยให้มากที่สุดเท่าที่จะกลืนได้เพื่อให้ข้าวไปชะเอาก้างออก แต่ในความเป็นจริงแล้วการกลืนข้าวอาจทำให้ก้างปลาแทงลึกลงไปและทำให้อาการแย่ลง ปัจจุบันนี้จึงไม่แนะนำให้กลืนข้าวสวยเมื่อก้างติดคอ โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุที่กล้ามเนื้อหลอดอาหารอ่อนแออาจทำให้ข้าวสวยเข้าไปติดในหลอดลมได้

วิธีการอื่นๆ เช่น ดื่มน้ำโดยกลืนแรงๆ กลั้วคอ ไอ หรือใช้ตะเกียบหรือนิ้วเขี่ย เป็นวิธีการที่ได้ผลดีหรือไม่?

การดื่มน้ำและกลั้วคออาจช่วยให้ก้างปลาขนาดเล็กหลุดออกได้และไม่มีความเสี่ยงในการทำให้อาการรุนแรงขึ้น แต่การใช้ตะเกียบหรือนิ้วเขี่ยอาจไปทำลายเยื่อเมือกในคอหรือทางเดินอาหารได้ จึงไม่ควรทำ

ก้างจะหลุดไปหรือละลายตามธรรมชาติใช่หรือไม่?

หากเป็นก้างปลาขนาดเล็กก็อาจจะหลุดไปเองตามธรรมชาติภายใน 2-3 วัน แต่ก้างจะไม่ละลายหายไปตามธรรมชาติ

จะทำอย่างไรเมื่อมีอาการเจ็บหลังจากก้างติดคอ?

โดยปกติหากก้างขนาดเล็กติดคอและไม่แทงลึกมากจะหลุดออกไปเองภายใน 2-3 วัน แต่หากรู้สึกปวดไม่หายก็แนะนำให้ไปหาแพทย์ด้านหูคอจมูกซึ่งจะมีอุปกรณ์ในการหยิบจับเอาก้างออกมา แต่หากก้างมีขนาดใหญ่และแทงลึกจนทำให้เกิดเลือดออกและอักเสบอาจทำให้เจ็บปวดมากก็ควรไปหาหมอด้านหูคอจมูกโดยทันทีทันใด

ก้างปลาติดคอเกิดกันได้ทุกเพศวัย วิธีการป้องกันคือ รับประทานโดยการเคี้ยวอย่างละเอียด สำหรับเด็กและผู้สูงอายุก็ควรเอาก้างปลาออกก่อนเสิร์ฟเมนูปลาให้พวกเขารับประทาน ทั้งนี้หากก้างปลาติดคอก็ควรหลีกเลี่ยงการกลืนข้าวคำโต เพราะนอกจากจะทำให้อาการแย่ลงแล้วก็อาจเพิ่มโอกาสข้าวติดหลอดลมในเด็กและผู้สูงอายุได้ค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook