Dhoom Dhoom!! อัพเต้า อัพ size ใหญ่แล้วเริ่ด

Dhoom Dhoom!! อัพเต้า อัพ size ใหญ่แล้วเริ่ด

Dhoom Dhoom!! อัพเต้า อัพ size ใหญ่แล้วเริ่ด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ทุกวันนี้การพึ่งมีดหมอกลายเป็นเรื่องอินเทรนด์ไปแล้วว่ามั้ย โดยเฉพาะคนในวงการบันเทิงเนี่ยไปผ่า ไปยัด ไปจัด ไปฉีด กันจนไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรแล้วล่ะ บางคนทำแล้วดีก็ดีไป แต่ถ้าหากทำแล้วคนเห็นร้องว้ายกลายเป็นเน่า ทำแล้วแย่ (กว่าเดิม) ก็ไม่รู้จะไปทำทำไม ก่อนทำจึงต้องคิดให้ดี อย่างเรื่องของเต้าเนี่ย ถ้าอัพดีก็ดีไป แต่ถ้าอัพใหญ่เวอร์ๆ รวมทั้งอัพไม่ได้มาตรฐาน เห็นหลายรายแล้วที่ต้องวิ่งแจ้นไปเอาออก ไม่รู้ว่าหนักเกินไป หรือใหญ่แล้วก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ อ.ย.จึงได้ประกาศให้เต้านมเทียมซิลิโคนใช้ฝังในร่างกาย เป็นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องแจ้งรายการละเอียดต่อสำนัก งานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2541 เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจอัพเต้าต้องศึกษาให้ดีก่อน เพราะอย่าลืมว่าอะไรที่ไม่ใช่ธรรมชาติสร้างมา มันอาจจะก่อให้เกิดโทษได้ ดังนั้น ก่อนอื่นต้องดูว่าทำไมต้องอัพขนาด ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องการอัพเต้าเพิ่มไซส์ เพราะต้องการให้ขนาดมันใหญ่เริ่ด ดูม ดูม เพื่อให้รูปร่างดีขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นการแก้ความรู้สึกส่วนตัวที่ว่าเต้านมของตัวเองมีขนาดเล็กเกิน ไป บางคนก็ทำเพื่อเพิ่มขนาดของเต้านมหลังจากมีเบบี๋ หลังการให้นมเบบี๋หรือคลอดแล้ว เพื่อแก้ไขขนาดที่แตกต่างของเต้านมทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ยังต้องการทำเพื่อแก้ไขรูปทรงที่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดจากการผ่าตัด ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าเห็นใจไม่น้อย อย่างไรก็ตามก่อนไปอัพเต้าควรจะมีสุขภาพที่แข็งแรง และต้องไม่หวังมากเกินไปว่ารูปร่างจะดูสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติ แล้วเต้านมเทียมที่จะใส่เข้าไปเป็นยังไง? มันก็คือถุงเต้านมเทียม (Breast implants) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1) เปลือกถุงซึ่งจะทำด้วยซิลิโคน ลักษณะของ เปลือกอาจจะเป็นผิวเรียบ หรือผิวขรุขระ และ 2) สารที่บรรจุในถุง จะมีอยู่ 2 ชนิดคือ น้ำเกลือและ ซิลิโคนเหลว หลายคนที่อยากอัพเต้า คงมีคำถามในใจว่ามีความเสี่ยงแค่ไหนต่อสุขภาพ? แน่นอนจ้ะ ไม่ต้องให้คุณหมอคอนเฟิร์ม เดี๊ยนก็ขอฟันธงให้ว่า การผ่าตัดทุกชนิดมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่วไป เช่น มีเลือดออก เลือดคั่ง ติดเชื้อ แต่จากข้อมูลบอกเอาไว้ว่ามีอัตราการเกิดประมาณ 1-5% เท่านั้น ส่วนผลแทรกซ้อนจากการเสริมเต้าอาจจะเกิดการรัดตัวของพังผืดที่อยู่รอบเต้านม ทำให้เกิดความรู้สึกแข็งผิดปกติของเต้านมข้างนั้น บางครั้งอาจจะมีความรู้สึกเสียว ชา บริเวณหัวนมหรือบริเวณใกล้รอยผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่จะดีขึ้นเป็นปกติได้ แต่บางคนก็อาจจะรู้สึกเช่นนั้นตลอดไป ผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านม สามารถให้นมเบบี๋ได้ถ้าต้องการ เคยมีรายงานว่าผู้ที่ได้รับการเสริมเต้านมบางรายมีอาการปวดตามข้อต่างๆ มีไข้ อ่อนเพลีย แต่จากการศึกษาโดยละเอียดไม่สามารถระบุความเกี่ยวพันระหว่างอาการเหล่านี้ กับการเสริมเต้านมได้ ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมไม่ได้เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้รับการเสริมเต้านม แต่การตรวจเต้านมด้วยเอกซเรย์ แมมโมแกรม ต้องใช้วิธีพิเศษ แล้วถุงเต้านมเทียมมีโอกาสแตกรั่วหรือเปล่า? ถุงเต้านมเทียมมีโอกาสแตกหรือรั่วได้ ไม่เกี่ยวกับการได้รับกระแทกอย่างรุนแรง ถ้าเป็นน้ำเกลือ เต้านมด้านนั้นจะยุบลงอย่างรวดเร็ว น้ำเกลือที่รั่วออกมาจะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่ อย่างใด แต่ถ้าเป็น ซิลิโคนเหลว จะเกิดได้ 2 กรณี อย่างแรกถ้าพังพืดที่หุ้มรอบถุงไม่แตก อาจจะไม่รู้เลยว่าเกิดการรั่วขึ้น ถ้าพังพืดที่หุ้มรอบฉีกขาดซิลิโคนเหลวจะออกมานอกถุงแล้ว อาจจะเกิดพังพืดหุ้มรอบซิลิโคนนั้นใหม่ เต้านมข้างนั้นจะมีรูปร่างที่เปลี่ยนไป และอาจจะรู้สึกแข็งมากขึ้น อู้ว!! รู้อย่างงี้แล้ว ก่อนผ่าตัดเสริมอึ๋ม จะต้องไปคุยกับคุณหมอที่มีความชำนาญเพื่อให้ตรวจร่างกาย และสภาพเต้านม รวมทั้งพูดคุยซักถาม และบอกความต้องการเพื่อคุณหมอจะได้บอกรายละเอียดของการทำผ่าตัด สำหรับการผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมงรอยผ่าตัดอาจจะอยู่ที่รักแร้ รอบปานนม กลางปานนม ใต้ฐานนม สะดือ หลังผ่าตัด จะรู้สึกตึง ปวดได้บ้างประมาณ 2-3 วัน หลังผ่าตัดรูปร่างของเต้านมจะดูเป็นธรรมชาติประมาณ 1-2 เดือน คนที่ผ่าตัดอาจจะต้องนวดเต้านมที่เสริมตามคำแนะนำของแพทย์อีกประมาณ 3-6 เดือน ที่สำคัญมั่กๆ การเสริมเต้าจะต้องทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเท่านั้น นั่นคือจะต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางศัลยกรรมตกแต่ง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรวงอก คู่ใหม่กับคนอยากอึ๋มมากที่ซู้ด ขอขอบคุณข้อมูลจากสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย (หน้าพิเศษ Hospital Healthcare) อัพเดทข้อมูลโดย...สิริกัญญา นรินทร์

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ Dhoom Dhoom!! อัพเต้า อัพ size ใหญ่แล้วเริ่ด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook