ไข้เลือดออก!!! ภัยร้ายจากยุง

ไข้เลือดออก!!! ภัยร้ายจากยุง

ไข้เลือดออก!!! ภัยร้ายจากยุง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง และมียุงลายเป็นพาหะนำโรค พบบ่อยในเด็กอายุ 5-10 ปี ระยะแรกมักมีอาการไข้สูง 3-7 วัน ร่วมกับอาการอาเจียน ปวดท้อง ไม่มีอาการหวัดเด่นชัด และอาจมีเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะเลือดกำเดา จุดเลือดออกตามผิวหนัง และอาเจียนเป็นเลือด ระยะช็อคเป็นช่วงที่อันตรายอาจเสียชีวิตได้มักพบว่าเมื่อไข้ลดลงผู้ป่วยกับมีอาการแย่ลง มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย ปวดท้องรุนแรงขึ้น และมักมีอาการอาเจียนเป็นเลือด การตรวจร่างกายจะพบว่ามีความดันโลหิตต่ำ ชีพจรเต้นเร็ว และเบา กดเจ็บบริเวณตับ และตรวจพบตับโต หากตรวจเลือดจะพบว่ามีความเข้มข้นของเลือดสูง และมีเกร็ดเลือดต่ำ สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสส่วนใหญ่ 80% เกิดจากเชื้อเดงกี่ (Dengue) ซึ่งมี 4 สายพันธ์คือ 1,2,3,4 หรือส่วนน้อยเกิดจากเชื้อ Chikugunya virus (ชิคคูกุนยา) โดยมียุงลายเป็นพาหะสำคัญของเชื้อทั้ง 2 ชนิด แหล่งเก็บเชื้อที่สำคัญคือ คน และยุง อาจพบเชื้อในลิงและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ได้ ไม่ติดต่อจากคนไปคน แต่ติดต่อโดยถูกยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกกัด เชื้อจะมีการแบ่งตัวอยู่ในยุงตลอด ยุงจะนำเชื้อไปติดต่อคนอื่นได้ หลังจากได้เชื้อเข้าไปในตัวยุงแล้ว 8-12 วัน ระยะฟักตัว 3-15 วัน ส่วนใหญ่ 5-6 วัน คนที่ป่วยจะยังมีเชื้อประมาณ 5 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ ช่วยเวลาที่ยุงลายชอบกัดคือตอนกลางวัน แหล่งเพาะยุงอยู่ในตุ่มน้ำหรือแจกันต่างๆ ยุงชอบวางไขเพาะพันธุ์ในน้ำนิ่ง และสะอาด อาการไข้เลือดออก แบ่งออกเป็น 3 ระยะ 1. ระยะไข้สูง ไข้สูงลอย 3-7 วัน เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดหัว ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อวันที่ 2-3 เด็กมักซึมลง หน้าแดง, ตัวแดง อาจมีผื่น หรือจุดเลือดออก ตามผิวหนัง 60-90% ตรวจพบตับโต Tourigust test ให้ผลบวก 2. ระยะวิกฤติ (ระยะช็อค และเลือดออก) ไข้ลด (ประมาณวันที่ 3-6 ของโรค) อาการทรุดลงเข้าสู่ภาวะช็อค กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันตก อาเจียนมาก ปวดท้อง บางรายซึมมากขึ้น ปัสสาวะน้อย อาจมีเลือดออกในกระเพาะ ถ้าไม่มีอาการแทรกซ้อน และได้รับการรักษาทัน และถูกต้อง ระยะนี้จะกินเวลา 24-48 ชม. แล้วเข้าสู่ระยะที่ 3 3. ระยะฟื้น อาการทั่วไปดีขึ้น ความดันดี ชีพจรปกติ ปัสสาวะออกมากขึ้น ตับที่โตจะลดขนาดลงภายใน 1-2 สัปดาห์ เริ่มรับประทานอาหารได้ มักมีผื่นแดงที่ขาปลายเท้า ปลายมือ และมีอาการคัน การวินิจฉัย จากอาการแสดงดังกล่าวโดยเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่ป่วย ตรวจร่างกายอย่างอื่นมักปกติ อาจมีตับโต การทำ Tourniguest ให้ผลบวก ถ้าเป็นระยะแรก ๆ อาจบอกได้ไม่ 100% อาจเป็นจากไข้สูง ส่วนใหญ่ Tourniguest ให้ผลบวก เมื่อเกร็ดเลือดเริ่มต่ำ คือก่อนระยะที่ 2 ของโรคเล็กน้อย จนถึงระยะแรกของระยะฟื้น การเจาะเลือด ความเข้มข้นของเลือดมักสูงกว่าปกตินอกจากมีเลือดออกมาก มักมีเม็ดเลือดขาวต่ำแต่ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ และส่วนน้อยเม็ดเลือดขาวสูง เกล็ดเลือดเริ่มต่ำระยะก่อนไข้ลด การตรวจทางห้องทดลองอาจพบมีตับอักเสบ เอ็นไซม์ตับเพิ่มขึ้น และอาจพบความผิดปกติจากการตรวจปัสสาวะได้ การวินิจฉัยที่แน่นอน คือ การเจาะหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสไข้เลือดออก หรือการแยกเชื้อไวรัสจากเลือด ซึ่งจะพบภายใน 5 วันแรกของโรคเท่านั้น การรักษา ผู้ป่วยที่ไม่อาเจียนให้ดื่มน้ำ/น้ำเกลือแร่มาก ๆ วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำพอหรือไม่ปัสสาวะควรมีสีใส ควรพบแพทย์เป็นระยะ ๆ ตามนัดเพื่อเผ้าดูอาการที่อาจเป็นอันตรายอย่างใกล้ชิด ถ้าอาเจียนมาก ซึม เพลียมาก มีอาการของช็อค และมีอาการเลือดออก ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล และดูแลใกล้ชิด เพื่อรักษาได้ทันท่วงที หรือหากมีอาการแทรกซ้อนอื่น เช่น ตับอักเสบรุนแรง ตับวาย สมองอักเสบ ควรรับการรักษาในโรงพยาบาล ให้ยาแก้ไข Paracetamol หรือ Acctaminophen ได้ไม่ควรให้แอสไพริน เพราะทำให้ ระคายกระเพาะโอกาสมีเลือดออกทางกระเพาะง่าย ทำให้การทำงานหาเกล็ดเลือดผิดปกติ Vaccine ยังไม่มีให้ฉีดอยู่ในขั้นทดลองเท่านั้น วิธีป้องกัน พยายามไม่ให้ยุงกัด ปราบ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ซึ่งชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่อยู่นิ่ง ๆ ตามภาชนะต่าง ๆ ที่มีน้ำขัง ผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกไม่ควรให้ถูกยุงกัดภายใน 5 วันแรกของโรค เพราะผู้ป่วยยังมีไวรัสอยู่ในเลือด ทำให้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นได้ รายงานคนไข้ไปที่โรงพยาบาล หรืออนามัยจังหวัด เพื่อส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงบริเวณนั้น ก่อนที่จะมีการระบาดเพิ่มขึ้น ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ ไข้เลือดออก!!! ภัยร้ายจากยุง

ไข้เลือดออก!!! ภัยร้ายจากยุง
ไข้เลือดออก!!! ภัยร้ายจากยุง
ไข้เลือดออก!!! ภัยร้ายจากยุง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook