อะไรๆ หนูก็เอาเข้าปาก

อะไรๆ หนูก็เอาเข้าปาก

อะไรๆ หนูก็เอาเข้าปาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เรียนรู้...จากปาก เด็กขวบปีแรก โดยเฉพาะวัย 4-5 เดือนขึ้นไป ยามหยิบจับอะไรได้ ก็มักชอบเอาเข้าปาก ทำให้พ่อแม่ อย่างเราต้องคอยดึงออกทุกที ด้วยความห่วงสารพัด ไม่ว่าจะเรื่องความสะอาด กลัวติดคอ กลัวติดเป็นนิสัย กลัวลูกได้รับอันตราย ฯลฯ ก็สมควรห่วงนะคะ แต่อย่ามากจนเกินไปนัก เพราะปากเป็นช่องทางการเรียนรู้ ทั้งเรื่องรสชาติ สัมผัสที่ แตกต่าง แข็ง นุ่ม และเพื่อตอบสนองความต้องการ ซึ่งในช่วงขวบปีแรกเด็กจะใช้ปากดูดเยอะ ดังนั้นเวลา หยิบจับอะไรได้จึงมักจะหยิบใส่ปากนั่นเองค่ะ อีกอย่างเด็กยังขาดทักษะที่จะเข้าใจว่าของแต่ละชิ้นที่อยูรอบตัวมีไว้ทำอะไร ( ไม่เหมือนวัยใกล้ 2 ขวบที่รู้ว่าถ้าจะเล่นรถต้องเล่นอย่างไร) เวลาคว้าอะไรได้จึงมักเอาเข้าปาก การใช้ปากในการเรียนรู้ของเด็ก จะทำควบคุ่ไปกับการพัฒนาการในด้าอื่นๆด้วย เช่น การใข้กล้ามเนื้อมือ หรือการใช้สายตาทำงานไปพร้อมๆ กัน ช่วยหนูเสริมพัฒนาการ พัฒนาการลูก, ลูกน้อย พ่อแม่ควรดูแลลูกอย่างใกล้ขิดนะคะ แต่ไม่ใช่ว่าพอลูกเอาเข้าปากปุ๊บ ก็หยิบออกปั๊บ นั่นเท่ากับเรา ไปปิดโอกาสการเรียนรู้และปิดกั้นการพัฒนาการของลูกค่ะ ที่ดีคือควรปล่อยให้ลูกได้สัมผัสกับสิ่งของนั้นๆ จะอมหรือจะเอาเข้าปากนั้นบ้างก็ไม่เป็นไร แต่เราต้องมั่นใจเรื่องความสะอาด และไม่เป็นอันตรายต่อลูก นะคะ ไหนๆ เจ้าตัวเล็กก็ชอบหยิบของเข้าปาก เราก็จัดการเปลี่ยนสิ่งของมาเป็นขนมเลยค่ะ โดยอาจจะเลือก ขนมปังแท่ง ซึ่งสามารถละลายในปาก ให้เขาไว้กินและหัดเคี้ยว และยังช่วยเรื่องรับรู้รสชาติ เป็นการส่งเสริม พัฒนาการด้านการกินของลูกค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจเบี่ยงเบนความสนใจของลูกด้วยการเล่นง่ายๆ เช่น โยนลูกบอลให้ไกลตัวลูกน้อย สักหน่อย ให้ลูกเอื้อมจับ เป็นการฝึกการแก้ปัญหาในการใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆด้วยค่ะ ของเล่นต้องหลากหลาย เด็กควรมีของเล่นที่หลากหลายเพื่อช่วยเสริมทักษะหลายๆด้าน เช่น มีของเล่นประเภทยางกัดที่ลูก สามารถเอาไว้กัดเล่นได้ มีของเล่นจำพวกลูกบอลให้เขาได้ฝึกโยน หัดใช้กล้ามเนื้อมือ มีหนังสือนิทานเอา ไว้อ่านให้เขาฟัง เพื่อเสริมพัฒนาการและจินตนาการค่ะ ที่สำคัญคือ พยายามฝึกเจ้าตัวน้อยให้รู้จักช่วยตัวเอง เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องพัฒนาการในด้านต่างๆ แล้ว เขาจะได้เรียนรู้เรื่องของ self-esteem คือการรักตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าและสามารถทำอะไรได้ ตัวตัวเองค่ะ เพื่อพัฒนาการที่ปลอดภัย พ่อแม่ควรเลือกของเล่นที่ไม่มีคม ไม่มีสารพา ไม่ใช่ตุ๊ตา หรือผ้า เพราะจะอมฝุ่นหือสิ่งสกปรกได้ง่าย ที่สำคัยต้องไม่ให้ลูกนำของชิ้นเล็กๆ เข้าปากเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกติดคอขาดอากาศได้ หลังลูกเล่นของเล่นแล้วควรทำความสะอาดทุกครั้ง รวมถึงสิ่งของรอบๆตัวลูก ก็ควรทำความสะอาด อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคค่ะ เกมเล่นกับเงา เป็นเกมที่เล่นแล้วสนุกช่วยฝึกควบคุมกล้ามเนื้อมือและนิ้ว 4 ข้อที่พ่อแม่ไม่ควรทำ 1. พ่อแม่ไม่ควรห้ามลูกเมื่อเห็นลูกทำสิ่งใด เพราะจะทำให้ลูกไม่กล้าทำสิ่งอื่นๆ 2. พ่อแม่ควรสอนให้ลูกรู้ว่าอะไรควรทำ ไม่ควรทำและเพราะอะไร เช่น ทำแล้วอาจเป็นอันตรายต่อตัวเอง หรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่น 3. ไม่บีบบังคับหรือฝืนใจให้ลูกทำ แต่ควรให้ลูกเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตัวเอง 4. ถ้าพ่อแม่ไม่ปล่อยให้ลูกทำอะไรเลย กล้ามเนื้อมัดเล็กจะไม่มีแรง พอจะทำหรือหยิบอะไรก็ตก และจะมี ปัญหาเรื่องการเขียนตอนเข้าเรียน 5. พ่อแม่ไม่ควรปิดกั้นโอกาสในการเรียนรู้ ของลูกด้วยการทำให้ทุกอย่าง แต่ต้องปล่อยให้ลูกช่วยเหลือ ตัวเองบ้าง ทดสอบของเล่นก่อนลูกคว้า วิธีการทดสอบว่าของเล่นจะเป็นอันตรายกับลูกหรือไม่นั้นทดสอบโดยเอาของเล่นนั้นใส่เข้าไปในแกน ทิชชู ถ้าของเล่นใหญ่กว่าแกนทิชชู ถือว่าปลอดภัยสำหรับเด็กค่ะ รับรองว่าของเล่นจะไม่หลุดเข้าคอแน่นอน แต่ หากของเล่นสามารถผ่านเข้าแกนทิชชูได้ ขอแนะนำว่าไม่ควรซื้อค่ะ เพราะว่าของเล่นอาจหลุดเข้าคอ เด็กได้ เตรียมหนูน้อยเข้าอนุบาล หนูน้อยวัย 2 ขวบครึ่งถึง 3 ขวบ เป็นวัยที่พ่อแม่ต้องเตรียมลูกเข้าอนุบาลค่ะ จึงต้องเริ่มพัฒนาสิ่งที่ยาก ขึ้นทั้งในเองการเล่นเช่น ใช้ตัวต่อที่ต้องออกแรงในการกดอัดให้ลงช่องเป็นรูปต่างๆและฝึกให้ลูกรู้จักช่วย เหลือตัวเองเช่น เข้าห้องน้ำ ใส่เสื้อผ้า นอกจากนี้ยังเอาของใส่มือและสลับไปมาได้อย่างรวดเร็ว หมุนลูกบิดเปิด-ปิด ประตูได้คล่อง ต่อแท่ง บล็อกได้มากถึง 8-9 ชิ้นและรู้สึกสนุกทุกครั้งที่เปิดขวดที่เป็นฝาเกลียวได้ วัยนี้การเขียนพัฒนามากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สามารถวาดเส้นตรงเกือบตั้งฉาก หรือวงกลมเบี้ยวๆตาม แบบได้ เพราะมือและนิ้วสามารถบังคับดินสอหรือแท่งสีได้ดี ส่วนกิจกรรมอื่นๆ เช่น ละเลงสีด้วยมือและนิ้ว หรือเล่นกับเงา เช่น ทำเป็นรูปหมา รูปนกบิน งูเลื้อย โดยพ่อแม่ทำให้ลูกดูและให้ลูกทำตาม จะช่วยฝึกควบ คุมกล้ามเนื้อมือและนิ้วได้ดีไม่แพ้กิจกรรมอื่นๆเลยค่ะ เป็นเกมที่เล่นแล้วสนุกไม่ต้องมีทนทุนอะไร TIP เตรียมกระดาษและสีให้ลูกได้ระบาย แล้วต้องตอยดูว่าลูก ระบายสีออกนอกเส้นหรือเปล่า และสามารถควบ คุมนิ้วมือได้ดีตามที่ต้องการหรือเปล่า เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนค่ะ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อและนิ้ว คือจุดเริ่มต้นการเรียนรู้ทุกอย่าง เห็นเล็กๆอย่างนี้ จึงไม่ใส่ใจไม่ได้ เลยค่ะ ขณะที่เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการใช้มือและนิ้ว สมองส่วนที่ควบคุมการใช้มือ คือพาไรทัลโลบ จะทำงาน ยิ่งเด้กใช้มือและนิ้วผ่านกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว จะทำให้สมองส่วนมอเตอร์คอร์เท็กทำงาน และเมื่อ เด็กมีการพูดคุยร่วมด้วย สมองส่วนเท็มโพรัสโลบ ที่ควบคุมการพูดและความเข้าใจพัฒนาควบคู่ไปด้วยค่ะ จิตรกรน้อยกับเส้นยุ่งๆ หนูน้อยวัย 1 ขวบถึง 1 ขวบครึ่ง สามารถใช้มือทั้ง 2 ข้าง ได้ดีขึ้น ทั้งยังแสดงความถนัดในการใช้มือข้าง ใดข้างหนึ่งอย่างเห็นได้ชัด เริ่มขีดเขียนเส้นยุ่งๆด้วยสีเทียนแท่งใหญ่ๆ โดยวิธีจับจะเป็นลักษณะกำ ซึ่งการ ขีดเขียนนี้จะส่งเสริมให้การทำงานระหว่างมือและสายตาประสานกันดีขึ้น น้องหนูวัยนี้ยังสามารถต่อแท่ง บล็อกได้ 2-3 ชิ้น เปิดหนังสือ 3-4 หน้าได้ ทิ้งของและยืนดูมันตกลงพื้น ปา ของแล้วตามไปเก็บ และชอบ เรียนรู้สิ่งของด้วยปากค่ะ ดังนั้นเข้าจึงชอบคว้าของเข้าปาก พ่อแม่จึงควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้มือให้มากที่สุด จะทำให้กล้ามเนื้อและนิ้วมือพัฒนาขึ้น แต่ไม่ควร บอกลูกให้เขียน เพราะเป็นการปิดกั้นจินตนาการและทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีที่ไม่สามารถทำได้ตมที่บอก พาลให้ ไม่อยากเขียนหนังสือและรู้สึกไม่ดีต่อการเขียน หนูน้อยนักสำรวจ รื้อค้น หนูน้อยวัย 1 ขวบครึ่งถึง 2 ขวบ เริ่มวาดเส้นตรงหรือวาดเป็นรูปก้นหอยได้แล้ว ที่สำคัญวัยนี้ชอบสำรวจ สิ่งรอบตัวด้วยการรื้อค้นข้าวของในบ้าน สามารถถือของชิ้นเล็กๆ2 ชิ้น ได้ในมือเดียวกัน สลับมือถือของได้ รวดเร็วขึ้น หมุนเปิด-ปิดวิทยุได้ แต่หมุนฝาเกลียวยังไม่ถนัด เพราะกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่สามารถก้มหยิบของหรือเอี้ยวตัวลงหยิบของได้ เปิดหนังสือได้ครั้งละ 2-3 หน้า ต่อแท่งบล็อกได้ 5-6 ชิ้น และสามารถหยิบของมาใส่ภาชนะที่ถืออยู่ได้ หนูน้อยเป็นตัวของตัวเอง หนูน้อยวัย 2 ขวบครึ่งถึง 2 ขวบ จะสามารถใช้มือได้คล่องแคล่ว และมีความพร้อมที่จะร่วมโต๊ะกินข้าว กับพ่อแม่ได้แล้วค่ะ สามารถต่อบล็อกได้ถึง 6-7 ชิ้น เปิดหนังสือได้ที่ละหน้า สามารถหมุนลูกบิดประตูได้ แต่ไม่ค่อยดีนัก ใช้กรรไกรเล่มเล็กๆตัดกระดาษได้ แถมยังร้อยลูกปัดด้วยเข็มเล่มโตๆได้แล้วค่ะ ขณะเดียวกันก็มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถบอกความต้องการพร้อมแสดงความเป็นเจ้า ของ เช่น ของหนู หนูจะกิน หนูง่วง และเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้ในบางอย่างแล้วด้วย เช่น การกินข้าว การรุด ซิป การติด-แกะกระดุม ใส่รองเท้า ใส่กางเกงที่เป็นยางยืด เป็นต้น

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ อะไรๆ หนูก็เอาเข้าปาก

อะไรๆ หนูก็เอาเข้าปาก
อะไรๆ หนูก็เอาเข้าปาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook