ให้ลูกนอนหงายป้องกันโรคไหลตาย

ให้ลูกนอนหงายป้องกันโรคไหลตาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
โรคไหลตายในทารก มีภาษาทางการแพทย์ว่า การตายอย่างเฉียบพลันในทารก หรือ SIDS (Sudden infant death syndrome) แต่ภาษาชาวบ้านในต่างประเทศ ซึ่งรู้จักโรคนี้เป็นอย่างดี มักเรียกว่า Grib death หรือการตายบนเตียงที่ใส่ทารกเพิ่งคลอดในเนอสเซอร์รี่ ส่วนอีกชื่อที่ใช้กันคือ Cot death เป็นการเสียชีวิตบนเตียงนอนขนาดเล็ก นอกจากนี้การตายอย่างเฉียบพลันในทารกยังเรียก ได้ว่า Unsuspected Sudden death อะไรเป็นสาเหตุของการคร่าชีวิตน้อย ๆ ที่แท้จริง วงการ แพทย์ทั่วโลกยังไม่สามารถค้นพบคำตอบได้ แต่สิ่งที่น่ากลัวคือ ทารกทุกคนมีโอกาสเสียชีวิตได้เหมือนกัน นายแพทย์ประพุทธ ศิริปุณย์ อาจารย์พิเศษ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มาพูดคุยในฐานะ ผู้มีประสบการณ์ตรง สมัยเป็นแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลในต่างประเทศ ว่า โรคไหลตายในทารก หรือการตาย อย่างเฉียบพลันในทารก เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว และเกิดขึ้นก่อนการไหลตายในผู้ใหญ่ เรียกว่าเป็นภาวะ การตายที่สำคัญของเด็กทารกในต่างประเทศ จนถึง ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้ คุณหมอยืนยัน ว่า อาการของโรคชนิดนี้ปรากฏในเด็กปกติที่มีอายุประมาณ 2-4 เดือน หากคนเลี้ยงเด็กขาดการสังเกตเพียงไม่กี่นาที มีสิทธิ์พบเด็กอีกทีหนึ่ง ก็เมื่อเสียชีวิตแล้ว สมมติฐานหลายข้อที่ตั้งขึ้นเพื่อหาข้อสรุปของที่มาจาก ภาวะไหลตายในทารก วิเคราะห์ได้ หลายแง่มุม เช่น ภาวะโภชนาการ โดยทารกที่เกิดภาวะนี้จะมีน้ำหนักตัวเมื่อแรกเกิดน้อยกว่าปกติ รวมไปถึงการเจริญเติบโตหลังคลอด มักจะช้ากว่าทารกปกติ แต่ข้อสันนิษฐานนี้ยังไม่มีหลักฐานว่า ภาวะโภชนาการจะเข้ามาเกี่ยวข้องได้อย่างไร สำหรับปัจจัยเกี่ยวกับตัวมารดาพบว่า แม่ที่มีอายุน้อย ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ไม่มีการฝากครรภ์ หรือแม่ไม่ให้ลูกกินนม และแม่ที่มีประวัติติดเหล้า สูบบุหรี่ จะพบอุบัติการของทารกตายอย่างกระทันหัน มากกว่ามารดาที่ดูแลสุขภาพตนเอง นพ.ประพุทธ ให้ทัศนะที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งคือ มีความเชื่อมานานว่าสาเหตุ ที่เป็นไปได้สูง อาจจะเป็นเรื่องของการควบคุมระบบการหายใจทำงานผิดปกติ หยุดหายใจนานกว่าธรรมดา เนื่องจาก ศูนย์ควบคุมการหายใจผิดปกติ และอาจเกี่ยวข้องกับการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจ ซึ่งสาเหตุ ประการหลัง เป็นเพราะทารกไม่สามารถควบคุมตำแหน่งของศีรษะได้ ลักษณะบางท่าที่นอนจึงอาจ ทำให้เกิดการอุดกั้น ของช่องทางเดินหายใจ โดยทารกไม่สามารถช่วยตัวเองได้ การนอนของทารก เมื่อนอนหลับการควบคุมการหายใจ และระบบไหลเวียนมักเปลี่ยนแปลงไป เมื่อมี ภาวะขาดออกซิเจน การตอบสนองการหายใจจะลดลง ขณะเดียวกันมักปลุกให้ตื่นยากกว่าเด็กโต ถ้าเจ็บป่วย และรับยาที่มีสารบางชนิดที่ทำให้ง่วงนอนมากขึ้น มีโอกาสที่ทางเดินหายใจอุดกั้น หรือ ขาดออกซิเจนง่ายขึ้น การค้นคว้าวิจัยอาการไหลตายในทารก ประเทศนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่หันมาให้ ความสนใจศึกษา เรื่องนี้อย่างจริงจัง ระบุว่า เด็กทารกที่นอนคว่ำเสียชีวิตมากกว่าเด็กที่นอนหงาย ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเสียชีวิตของทารกในแถบประเทศตะวันออก ที่มีจำนวนน้อยกว่า เนื่องจาก ลักษณะการเลี้ยงทารกจะจับให้เด็กนอนหงาย หลังจากค้นพบสาเหตุข้อนี้แล้วจึงมีการประกาศ รณรงค์ ให้ประชาชนทั้งประเทศหันมาเลี้ยงลูกแบบนอนหงายแทนการนอนคว่ำแบบเดิมๆ และปรากฏว่า อุบัติการณ์ของโรคนี้ลดลงอย่างชัดเจนส่วนอังกฤษกับสหรัฐ อเมริกามีการศึกษาเพิ่มเติมอีก 2 ปี กว่าจะเชื่อว่าเด็กมีโอกาสเสียชีวิตเฉียบพลันเพราะนอนคว่ำ นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงวันนี้ จึงมีข้อแนะนำสำหรับการ เลี้ยงทารกให้นอนหงายทั่วประเทศ แม้จะสวนทางกับความเชื่อทางการแพทย์ในอดีตว่า การให้เด็กนอนคว่ำโดยหันหน้าออกด้านข้าง ช่วยให้หายใจสบายขึ้น นอกจากนี้เวลาอาเจียนไม่เกิดอาการสำลัก ตลอดจนเลี้ยงดูง่าย ไม่ร้องงอแง เท่ากับ เด็กนอนหงาย ซึ่งดิ้นง่ายกว่าและนอนหลับยาก ส่วนพ่อแม่ที่นิยมให้ลูกนอนคว่ำ เพราะกลัวศีรษะ ไม่สวย อาจจับให้ลูกนอนตะแคงก็ได้ ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงอาการตายเฉียบพลันได้เช่นเดียวกัน อย่างที่กล่าวในตอนต้นแล้วว่า เนื่องจากยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ เด็กทุกคนที่มีอายุระหว่าง 2-4 เดือน แม้กระทั่งเด็กที่สภาพร่างกายปกติ มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ทั้งสิ้น แพทย์ไม่สามารถบอกถึง สัญญาณเตือนภัยได้ แต่ในต่างประเทศกรณีเด็กเกือบเสียชีวิต หรือเห็นในขณะตัวเขียว หรือมีพี่น้อง ที่เป็นโรคนี้อยู่ก่อน ทางโรงพยาบาลจะตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษ โดยติดเครื่องที่เรียกว่า "เครื่องเฝ้าระวัง" มีลักษณะเป็นสายติด ข้อมือข้อเท้าเด็ก เครื่องนี้พร้อมส่งเสียงทันทีที่เด็กหยุดหายใจ ข้อควรระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการตายอย่างเฉียบพลันที่ผู้ปกครองหรือคนเลี้ยงเด็กสามารถ ปฏิบัติได้ กรณีพบว่าเด็กทารกตัวเขียวเพราะหยุดหายใจ ให้ปลุกให้ตื่นโดยเขย่าตัวเบาๆ ให้รู้สึกตื่น เท่านั้น แต่เด็กที่หยุดหายใจไปแล้ว 5-10 นาที ไม่สามารถแก้ไขกลับคืนมาได้ หรือถ้าสัมผัสตัวเด็ก แล้วไม่หายใจ ให้รีบเป่า ปากช่วยหายใจแบบเดียวกับการแก้ไขโรคอื่น ๆ และนำส่งโรงพยาบาล แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ที่มีอัตราการเกิด ภาวะไหลตายของทารกอยู่ในเกณฑ์ น่าเป็นห่วง แต่อย่าลืมว่า ทารกทุกๆ คน มีโอกาสเสี่ยงทั้งสิ้น ไม่ว่าครอบครัวที่อาศัยในต่างประเทศ หรืออยู่ในเมืองไทย เมื่อหาสาเหตุที่มาที่ไปอย่าง ชัดเจนไม่ได้ แนวทางป้องกันที่ดีที่สุดที่ทุกคนใน ครอบครัว ช่วยกันดูแลได้ นอกเหนือจากเลี่ยงนอนคว่ำแล้ว มารดาควรหันมาสร้างเสริมร่างกายลูก ด้วยน้ำนมแม่ เลี่ยงจาก สิ่งแวดล้อมประเภท ควันบุหรี่ มีการฝากครรภ์ที่ดี และลดการ ใช้ยาทั้ง ตัวแม่ และเด็ก ความใกล้ชิด จึงดูเหมือนจะเป็นกำแพงป้องกันลูกตัวน้อยๆ ของคุณ ให้รอดพ้นสถานการณ์ ของโรคไหลตายได้ ไม่ใช่แค่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระยะก่อน 6 เดือน แต่หมายถึงตลอดไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook