ลูกดูดนิ้ว

ลูกดูดนิ้ว

ลูกดูดนิ้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
วิวัฒนาการใหม่ๆ ทำให้เราเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของทารก ในครรภ์ระยะท้ายๆ ที่เอานิ้วเข้าปาก ทำท่าดูด กลืนเอาน้ำคร่ำลงไป เชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งในการเตรียมตัว ฝึกให้กล้ามเนื้อรอบปาก กล้ามเนื้อปาก คาง คอ ได้ฝึกฝนทำงาน เตรียมพร้อมสำหรับสภาวะหลังคลอดที่ทารกต้องดำรงชีวิตอยู่ให้ได้ด้วยตัวเอง ผ่านการดูดกลืนสารอาหารต่างๆ ทารกหลายรายยังเคยชินกับการเอานิ้วเข้าปากหลังคลอด พ่อแม่จำเป็นต้องปรับพฤติกรรมนี้ให้หมดไปในที่สุดก่อนขึ้นชั้นประถม เนื่องจากถือว่าเป็นบุคลิกภาพที่ไม่เหมาะสม สาเหตุที่ทารกดูดนิ้ว เป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติ (ในระยะ 1 ปีแรก) ถูกปล่อยให้ยึดติดกับพฤติกรรมนี้ และไม่ได้รับการฝึกฝน เบี่ยงเบนแก้ไข จนติดกลายเป็นนิสัย ที่ไม่ดี เป็นทางระบายความเครียดจากความวิตกกังวล เช่น ถูกพลัดพรากจากแม่ ตื่นเต้น เป็นต้น ถึงแม้ว่าเริ่มต้นการดูดนิ้วจะเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติก็ตาม แต่จำเป็นต้องปรับลดให้หมดไป เนื่องจากสังคมไม่ยอมรับ วิธีการแก้ไขคือ เบี่ยงเบนความสนใจ โดยใช้ของเล่นที่ต้องใช้มือ เล่นให้สนุกจนเด็กลืมตัว ลืมการดูดนิ้ว ออกกำลังกายให้เพิ่มขึ้น เพื่อทำให้ระยะเวลาก่อนจะหลับซึ่งทารกมักจะกล่อมตัวเองด้วยการดูดนิ้วโดยเฉพาะในช่วงก่อนนอนสั้นลง ปรับเปลี่ยนลักษณะอาหารให้ต้องใช้การเคี้ยวให้มากขึ้น โดยเฉพาะในวัย 8 เดือนขึ้นไป เพื่อทำให้กล้ามเนื้อบริเวณ ปาก คาง คอ ทำงานหนักขึ้น พ.ญ. วินัดดา ปิยะศิลป์ กลุ่มงานจิตเวชและวัยรุ่น โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ ของ ลูกดูดนิ้ว

ลูกดูดนิ้ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook