ภัย..จากกระดูกสันหลังคด

ภัย..จากกระดูกสันหลังคด

ภัย..จากกระดูกสันหลังคด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กระดูกสันหลังคดหรือโก่งงอผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อเด็กให้มีรูปร่างหรือบุคลิกไม่สมส่วน และอวัยวะภายในร่างกายทำงานได้อย่างไม่เต็มระบบด้วย ปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่ นำเด็กที่มีโรคกระดูกสันหลังคดมาพบแพทย์มากขึ้นเรื่อย แม้แพทย์ได้ตรวจสุขภาพเด็กทุกคนตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กบางคนอาจกระดูกสันหลังคดเมื่อโตขึ้นได้ โรคนี้ส่งผลต่อสุขภาพของเจ้าตัวเล็กอย่างไรบ้าง และเราจะทราบได้อย่างไร เรามีวิธีตรวจสอบอย่างง่าย ๆ ปกติลำสันหลังทั่วไปประกอบด้วยกระดูก 33 ชิ้น แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนคอ ประกอบด้วยกระดูก 7 ชิ้น ส่วนสันหลัง ประกอบด้วยกระดูก 12 ชิ้น โดยจะมีกระดูกที่เป็นซี่โครง ยื่นออกไปทางทรวงอก ภายในกระดูกทรวงอกนี้ จะมีอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ปอด หลอดเลือด ระบบประสาทต่าง ฯลฯ ส่วนบั้นเอว ประกอบด้วยกระดูก 5 ชิ้น มีอวัยวะภายในที่สำคัญคือ ช่องท้อง ตับ ไต ม้าม ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ อวัยวะสืบพันธุ์ ฯลฯ และส่วนที่เป็นอุ้งเชิงกราน และก้นกบ ประกอบด้วยกระดูก 9 ชิ้น เมื่อเรามองโครงสร้างของกระดูกจากด้านหน้าหรือด้านหลัง ในคนปกติจะเห็นว่า กระดูกทั้งหมดเรียงต่อกันเป็นแนวตรง มีบางคนกระดูกสันหลังอาจเอนไปทางซ็ายหรือขวาบ้างเล็กน้อย ก็ไม่ถือว่าผิดปกิต แต่ถ้าเราเปลี่ยนมุมมามองกระดูกสันหลังทางด้านข้าง จะเห็นว่ากระดูกสันหลังปกติจะเรียงตัวอย่างโค้ง ๆ เล็กน้อย คล้ายตัวเอช ของพยัญชนะภาษาอังกฤษ โดยกระดูกคอจะโค้งไปข้างหน้า กระดูกสันหลังจะโค้งสลับกลับไปข้างหลัง กระดูกบั้นเอวจะโค้งสลับกลับไปด้านหน้า และกระดูกก้นกบจะโค้งสลับกลับมาด้านหลังอีกครั้ง ความสำคัญของกระดูกสันหลังมีดังนี้ รูปร่างของเรายืนตัวตั้งตรงอยู่ได้ ซึ่งเป็นความสมดุลย์ของกะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลังส่วนกลาง และของกระดูกแขนขาที่ช่วยในการเดินหยิบจับสิ่งของได้คล่อง เป็นที่ยึดจับตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้มีทรวงอก เพื่อเอื้ออำนวยต่อการทำงานระบบการหายใจ ปอดและหัวใจ ช่วยให้มีช่องท้องภายใน มีอวัยวะสำคัญ เช่น กระเพาะ ลำไส้ ตับ ไต ม้าม เป็นต้น ภายในลำของกระดูกสันหลังยังจะมีช่องสำหรับเส้นไขสันหลังที่ต่อมาจากสมองลงมา จากไขสันหลังจะมีเส้นประสาทยื่นต่อออกไปสู่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำตัว แขน ขา ทำให้ร่างกายมีการทำงาน ถ้าหากว่าเส้นประสาทเสียไป อาจทำให้เป็นอัมพาตหากความโค้งของกระดูกที่มองจากด้านข้างนี้มีการเบี่ยงเบนไปจากปกติไม่ว่าจะโค้งไปทางด้านซ้ายหรือขวามากเกินไป คือ หลังคด จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ได้แก่ ผลต่อรูปร่าง ถ้ากระดูกโค้งไปด้านข้างมาก ๆ พัฒนาการขชองรูปร่างจะไม่สวยงาม ตัวเอียง ไหล่และสะโพกเอียง เปรียบเหมือนเสากระโดงเรือที่เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง จะทำให้เรือเอียงไปด้วย การบังคับทิศทางก็ลำบาก เพราะกล้ามเนื้อทั้งสองข้างไม่สมดุลกัน ข้างหนึ่งหย่อนข้างหนึ่งตึงกว่า ปวดหลังบริเวณบั้นเอว อาจมีผลกระทบต่อการคลอดในเพศหญิง และยังอาจทำให้ตัวเตี้ย ลงไปเรื่อย ๆ ส่งผลต่อกระดูกทรวงอกให้บิดเบี้ยว ทำให้การเคลื่อนไหวของระบบหายใจและปอดขยายตัวออกได้จำกัด ปริมาตรของออกซิเจนที่หายใจได้จึงน้อย มีส่วนทำให้เป็นหวัดหรือปอดบวมง่าย กินอาหารไม่ได้ผอมซีด อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายจะไม่คล่องแคล่วดังเด็กปกติ ศ.เกียรติคุณ น.พ.เจริญ โชติกวณิชย์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ร.พ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวว่า โรคนี้ถ้าเป็นไม่มากไม่มีอาการ เช่น อาการตัวร้อนเป็นไข้ที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่วิตก และพาเด็กมาพบแพทย์เหมือนโรคทั่วไป เด็กก็จะไม่ได้รับการนำตัวมาพบแพทย์ ทั้งที่โรคนี้เป็นกันได้ตั้งแต่แรกเกิดถึงวัยรุ่น มีสาเหตุมากมาย แต่ร้อยละ 80 หรือมากกว่าเป็นชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ ประเทศไทยมีการวิจับพบเด็กไทยมีกระดูกสันหลังคด ที่ต้องทำการรักษา 1 ต่อ 10,000 คน และที่กระดูกสันหลังคดน้อยแต่ไม่ต้องรักษาก็มีจำนวนไม่ใช่น้อย เหตุที่ระยะหลังพบโรคนี้ในเด็กมากขึ้น และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น ซึ่ง ศ.เกียรติคุณ น.พ.เจริญ ได้เล่าให้ฟังว่า บางครอบครัวมีพี่น้องหลังคด หรือ ฝาแฝดหลังคด บางครอบครัวมีลูกคนเดียวโดยเฉพาะลูกผู้หญิงยิ่งเป็นที่กังวลไจของคุณพ่อคุณแม่ และเป็นปมด้อยของเด็กน้อย โรคกระดูกสันหลังคด สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ กระดูกสันหลังปกติตั้งแต่แรก แต่มาคดในภายหลังส่วนใหญ่ ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค แต่อาจเกี่ยวกับสารฮอร์โมนบางอย่าง ที่ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูกสันหลังให้เปลี่ยนไป พบได้ร้อยละ 80 หรือมากกว่า แบ่งออกเป็น - กลุ่มอายุประมาณ แรกเกิด - 1 ปี จะเริ่มยืนและเดินแต่กลุ่มนี้ร้อยละ 90 จะหายได้เอง ซึ่งเป็นความแปลกของธรรมชาติ - กลุ่มอายุประมาณ 3-10 และ 10-18 ปี โดยกระดูกสันหลังจะเพิ่งมาคดตอนโต ซึ่งถ้าเป็นไม่มาก ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่แพทย์อาจต้องติดตามดูอาการในเด็กบางราย เพราะกระดูกสันหลังอาจเพิ่มความคดขึ้นเรื่อย ๆ และมากจนผิดปกติได้ ซึ่งจะทำให้การเจริญเติบโตผิดปกติ แพทย์จะใช้วิธีวัดองศาความคดของกระดูก ถ้าพบว่าคดระหว่าง 30-40 องศา จะแก้ไขได้ด้วยการใส่เสื้อสำหรับแก้ความคด ถ้าใส่ได้ดีก็จะได้ผล แต่ถ้าใส่ไม่ดีความคดก็จะเพิ่มขึ้น ต้องแก้ไขด้วยวิธีการผ่าตัด ต้องใส่เหล็กดามให้กระดูกสันหลังกลับมาเหมือนเดิม กระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเกิดจากยาที่คุณแม่รับประทานระหว่างตั้งครรภ์ ฯลฯ กลุ่มนี้เกิดจากกระดูกผิดปกติ เช่น การเจริญของกระดูกไม่เท่ากันหรือไม่สมดุลกัน โดยถ้ากระดูกสันหลังคดแล้วจะคดมากขึ้น แพทย์จะทำการรักษาทันที เพราะถ้าเด็กเป็นมาก ๆ อาจเป็นอัมพาตได้ มีความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและระบบประสาทอยู่แล้ว เช่น มีความผิดปกติของสมอง สมองพิการ โรคโปลิโอ โรคของระบบกล้ามเนื้อ ฯลฯ จะมีโอกาสกระดูกสันหลังคดเมื่อโตขึ้นได้ โรคเท้าแสนปม ร่างกายจะมีปุ่ม และหรือปานตามตัว และพบกระดูกสันหลังคดร่วมด้วยประมาณ 30% ศ. เกียรติคุณ น.พ. เจริญ ได้แนะนำวิธีตรวจกระดูกสันหลังของเด็กอย่างง่าย โดยให้เด็กยืนตัวตรง แล้งดูแนวสันหลังว่าตรงหรือไม่ จากนั้นให้เด็กก้มหลังลง มือแตะพื้น ถ้ามองตามเส้นแนวกระดูกสันหลังแล้วไม่คด ก็แสดงว่าปกติแต่ถ้าสงสัยก็ควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและติดตามผลว่าอาจมีอาการมากขึ้นในระยะยาวต่อไป หรือไม่ในอนาคต "สนับสนุนข้อมูลโดย" โรงพยาบาลสมิติเวช

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ภัย..จากกระดูกสันหลังคด

ภัย..จากกระดูกสันหลังคด
ภัย..จากกระดูกสันหลังคด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook