แก้นิสัยเจ้าตัวน้อย 2

แก้นิสัยเจ้าตัวน้อย 2

แก้นิสัยเจ้าตัวน้อย 2
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ดึงผม นิสัยการดึงผม และดูดนิ้วอาจพบร่วมกัน เด็กเล็กบางคนขณะที่นอนอาจดูดนิ้ว ร่วมกับจับ และม้วนผมของแม่ไปตามนิ้วของตน ทำให้รู้สึกสบาย และจะทำซ้ำเมื่อเวลาใกล้หลับ หรือ เวลาที่มีความเครียด หรือกังวล นิสัยนี้มักหายไปเมื่ออายุประมาณ 4 ขวบ แต่อาจรุนแรงขึ้นหากเด็กมีความเครียด หรือวิตกกังวลจากสาเหตุใดๆ ก็ได้ เชื่อว่าเกิดขึ้นเนื่องจากเด็กต้องการที่จะมีความรู้สึกเหมือนกลับใกล้ชิดแม่ เมื่อเด็กอายุประมาณ 3 ขวบ เด็กจะรู้สึกได้ว่าหากคุณแสดงให้ลูกรู้ว่าคุณวิตกกังวล หรือหงุดหงิดที่ลูกดึงผม ลูกจะสามารถใช้การดึงผมมาเป็นเครื่องมือเรียกร้องความสนใจของคุณ เหมือนการเตะ หรือลงไปนอนดิ้นกับพื้นเพื่อประท้วง วิธีแก้คือหาสาเหตุที่ทำให้ลูกวิตกกังวล หรือมีความเครียด แล้วทำการแก้ไข ต้องเข้าใจว่าลูกจะดึงผมบ่อยในช่วงที่เหนื่อย ง่วง นั่งดูทีวี และเบื่อ เช่นนั่งรถนานๆ การตัดผมให้สั้นไม่เป็นข้อห้าม แต่ควรทำด้วยความเข้าใจ และนุ่มนวล มีการพูดคุยกันก่อน อย่าให้เข้าใจผิดว่าเป็นการลงโทษ การบังคับจะทำให้สถานะการเลวร้ายกว่าเก่า ต้องไม่แสดงอาการโมโห หงุดหงิด หรือวิตกกังวลให้ลูกเห็น บางคนอาจให้ลูกจับถือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายผม เช่นผ้าแพรเป็นต้น ในเด็กเล็กการแยกให้ออกว่าดึงผม เพราะความเคยชิน ทำแล้วรู้สึกสบาย หรือเป็นการดึงผมเพราะเป็นการตอบโต้พ่อแม่ มีความสำคัญ หากเป็นการตอบโต้พ่อแม่ วิธีที่ได้ผลที่สุดคือไม่ให้ความสนใจ แต่ถ้าเป็นนิสัยเพราะเคยชิน การหาของทดแทน หรือการหากิจกรรมที่ช่วยไม่ให้ลูกว่าง เหงาหรือเบื่อจะช่วยได้มาก หากลูกดูดนิ้วร่วมด้วยต้องแก้ไขไปด้วยกันทั้งสองเรื่อง เพราะทั้งคู่เป็นปัจจัยส่งเสริมกัน หากอาการนี้เริ่มระหว่างอายุ 5 - 12 ขวบ มักเป็นการระบายออกถึงความโกรธ หรือความก้าวร้าว ยิ่งถ้าเป็นหลังเข้าโรงเรียนใหม่ๆ ต้องดูว่ามีเรื่องที่ทำให้เด็กไม่สบายใจที่โรงเรียนหรือเปล่า เพราะวัยนี้ยังไม่รู้จักบอกความรู้สึก ความคิด ออกมาเป็นคำพูดให้พ่อแม่เข้าใจได้ดีนัก เด็กบางคนอาจดึงขนคิ้ว ขนตาก็มีเหมือนกัน การแก้ไขสำหรับเด็กวัยนี้ คือ หาสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่สบายใจ สอนให้รู้จักการระบายความรู้สึก เปิดโอกาสให้ลูกได้สื่อสารความคิดกับพ่อแม่ หากการดึงผมเป็นผลจากนิสัยที่ทำซ้ำๆ อาจต้องอาศัยพฤติกรรมบำบัด และในรายที่จำเป็นอาจต้องอาศัยยาช่วยในการรักษาและดูแล ในเด็กที่อายุมากกว่า 12 ขวบ พบได้ในเด็กที่ย้ำคิดย้ำทำ เป็นการประท้วงต่อต้านของเด็กที่เข้าสู่วัยรุ่นก็ได้ ควรปรึกษาจิตแพทย์วัยรุ่นเพื่อการดูแลเช่นกัน โขกหัว เมื่อเด็กอายุใกล้ 1ขวบ จะสามารถนั่งได้ดี บางคนจะเริ่มโยกตัว บางคนไม่โยกเฉย แถมโขกหัวด้วย โดยอาจโขกกับขอบเตียง หมอน ข้างฝา หรือพื้น ซึ่งอาจทำให้พ่อแม่ประสาทเสียได้ง่าย ส่วนใหญ่พ่อแม่มักกลัวว่าสมองจะกระทบกระเทือน หรือทำให้หัวล้านถาวร มีความเชื่อหลายอย่างว่าทำไมเด็กถึงโยกตัว และโขกหัว เช่น ทำไปเพราะเด็กชอบจังหวะการโยกตัว ชอบภาพที่มองเห็นขณะที่โยกตัว หรือเป็นการแก้เบื่อเพราะนอนไม่หลับ และเด็กอีกพวกหนึ่งที่โขกหัวเพราะเป็น การแสดงความโกรธ โมโห หรือประท้วงพ่อแม่ มีการศึกษาพบว่าเด็กที่ชอบโขกหัวจะไวต่อการกระตุ้นด้วยเสียง และมีความสามารถทางดนตรี มักชอบนอนดิ้นอาละวาดเมื่อไม่ได้ดังใจ แถมมักเป็นเด็กที่หลับยาก หรือหลับไม่สนิท เด็กส่วนใหญ่จะเลิกไปเอง เมื่ออายุ 18 - 30 เดือน และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสมอง แต่การเอาหมอนกั้นก็มีผลดีที่ช่วยให้พ่อแม่สบายใจขึ้นเล็กน้อย วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่ปล่อยลูกไว้คนเดียว แต่หากว่าเป็นอยู่นาน หรือรุนแรงควรปรึกษาจิตแพทย์เด็ก

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ แก้นิสัยเจ้าตัวน้อย 2

แก้นิสัยเจ้าตัวน้อย 2
แก้นิสัยเจ้าตัวน้อย 2
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook