ความเชื่อ (ผิดๆ) เมื่อตั้งครรภ์

ความเชื่อ (ผิดๆ) เมื่อตั้งครรภ์

ความเชื่อ (ผิดๆ) เมื่อตั้งครรภ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ความเชื่อ : แพ้ท้อง 3 เดือนแรก เดี๋ยวก็หาย ความจริง :ไม่มีสาเหตุแน่ชัดว่าทำไมผู้หญิงบางคนถึงได้แพ้ท้องนานกว่าและมากกว่า แต่ระยะเวลาแพ้ท้องส่วนใหญ่มักกินเวลา 2-3 เดือนแรก จากนั้นคุณจะไม่แพ้ท้องอีก บางคนอาจจะแพ้ท้องนานถึงเกือบคลอด แต่ถึงแม้จะต้องทรมานกับอาการแพ้ท้องอยู่บ้าง นั่นเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงว่าลูกน้อยในครรภ์ของคุณแข็งแรงปกติ ความเชื่อ : ตอนท้องอยากกินแต่ของเปรี้ยวๆ ของดอง ความจริง : ไม่แน่เสมอไป ช่วงต้นของการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายจะเพิ่มขึ้น ทำให้การรับรู้รสชาติเปลี่ยนแปลงไป อาหารที่เคยชอบกลับกินไม่อร่อยหรือบางทีก็อยากกินของแปลกๆ โดยหาสาเหตุไม่ได้ ความอยากอาหารระหว่างตั้งครรภ์นี้แตกต่างกันไปในแต่ละคน หรือแม้แต่ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง รวมทั้งแต่ละช่วงเวลาของการตั้งครรภ์ด้วย เมื่อไรก็ตามที่ร่างกายได้รับแคลเซียม เกลือแร่ และวิตามินเพียงพอ จะตามใจปากบ้างก็ไม่เสียหาย (แต่ระวังเรื่องน้ำหนักตัวไว้บ้างก็ดี) ความเชื่อ : มีเซ็กซ์ระหว่างตั้งครรภ์เป็นอันตรายแก่ลูกและตัวคุณเอง ความจริง : ลูกน้อยในครรภ์ได้รับการปกป้องอย่างดีในถุงน้ำคร่ำ ซึ่งกิจกรรมการมีเซ็กซ์ไม่สามารถทำอันตรายใดๆ ได้ คุณเองก็จะไม่ได้รับอันตรายใดๆ เช่นกัน ตรงกันข้าม สามีภรรยาหลายคู่ได้รับรสสัมผัสใหม่ๆ ในการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนออกซีโตซิน ซึ่งผลิตขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ได้ชื่อว่าเป็นฮอร์โมนแห่งการจุดไฟปรารถนา ความเชื่อ : มีเซ็กซ์ระหว่างตั้งครรภ์ จะทำให้คลอดก่อนกำหนด ความจริง : ไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์ จะสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนด ถึงแม้การกระตุ้นเร้าบริเวณหน้าอกจะช่วยเร่งการผลิตฮอร์โมนออกซีโตซิน ซึ่งอาจทำให้เกิดการบีบรัดของมดลูกเมื่อใกล้ถึงจุดสุดยอด แต่ก็ไม่ถึงกับทำให้เกิดการคลอดได้ ความเชื่อ : อาการ Morning Sick เกิดเฉพาะตอนเช้าเท่านั้น ความจริง : อาการแพ้ท้องที่เรียกว่า Morning Sick ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักจะมีประสบการณ์ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ เกิดจากฮอร์โมนชื่อ HCG ซึ่งร่างกายผลิตขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ และไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะตอนเช้าเท่านั้น แต่เกิดขึ้นได้ทุกเวลาไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน แต่ที่รู้จักกันว่า Morning Sick เพราะตอนเช้าท้องมักจะว่าง จึงมีโอกาสเกิดอาการคลื่นไส้ได้ง่าย ความเชื่อ : คุณแม่ตั้งครรภ์จะฟันผุ ความจริง : ระหว่างตั้งครรภ์นอกจากธาตุเหล็กแล้ว ร่างกายยังต้องการแคลเซียมสำหรับการเติบโตของกระดูกลูกน้อย แต่หากร่างกายคุณไม่ขาดแคลเซียม ก็ไม่ทำให้เกิดอาการฟันผุแต่อย่างใด แต่ปัญหานี้จะเกิดขึ้นถ้าคุณทานอาหารไม่เหมาะสม รวมทั้งรักษาอนามัยในช่องปากไม่ดีพอ คุณแม่ตั้งครรภ์มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ทำให้มีกรดและเศษอาหรจากการอาเจียนตกค้างในปาก เป็นสาเหตุทำให้ฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย ความเชื่อ : หากหกล้มจะทำให้แท้ง ความจริง : การหกล้มระหว่างตั้งครรภ์ ใช่ว่าจะต้องแท้งเสมอไป มีคุณแม่ตั้งครรภ์หลายต่อหลายคนที่หกล้ม แต่ก็ยังคลอดลูกที่แข็งแรงสมบูรณ์ได้ เพราะตัวอ่อนในครรภ์จะถูกห่อหุ้มอยู่ในน้ำคร่ำภายในมดลูก ซึ่งต้องใช้แรงกระแทกมากพอสมควร ถึงจะทำให้ถุงน้ำคร่ำแตก ข้อสำคัญคือเมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น คุณควรไปหาหมอตรวจร่างกาย เพื่อเช็กความปลอดภัยทั้งคุณและทารกในครรภ์ ด้วยความปรารถนาดีจาก

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ ความเชื่อ (ผิดๆ) เมื่อตั้งครรภ์

ความเชื่อ (ผิดๆ) เมื่อตั้งครรภ์
ความเชื่อ (ผิดๆ) เมื่อตั้งครรภ์
ความเชื่อ (ผิดๆ) เมื่อตั้งครรภ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook