เมื่อลูกกลัวคนแปลกหน้า

เมื่อลูกกลัวคนแปลกหน้า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คำถาม : เด็กอายุ 2 ขวบ เจอคนแปลกหน้าจะวิ่งหนีและร้องไห้ โดยเฉพาะมีลูกค้ามา ที่บ้าน จะไม่ยอม อยู่คนเดียว และก็ไม่ยอมอยู่กับปู่หรือย่าเลย จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร คำตอบ : โดยทั่วไปแล้ว เด็กที่ถูกเลี้ยงดูจากพ่อหรือแม่หรือพี่เลี้ยงตามปกติ จะแสดงออกซึ่งอาการตื่นกลัวคนแปลกหน้า (stranger anxiety) เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน โดยจะมีลักษณะตัวเกร็ง ไม่ยอมให้อุ้ม ร้องมากขึ้น ถ้าโตกว่านี้หน่อย ก็อาจ ไม่ยอมสบตา หรือวิ่งหนีไปเลย ความตื่นกลัว คนแปลกหน้านี้ จะมาสูงสุดเมื่ออายุ ประมาณใกล้ ๆ 2 ขวบ เพราะความกังวลเดิม ยังคงไม่หาย เขาจึงแสดงออกได้มากขึ้น เด็กในวัยดังกล่าว จะติดคนที่เลี้ยงดูเป็นประจำเพียง 1 - 2 คน ซึ่งอาจจะเป็นคุณพ่อ หรือ คุณแม่ คุณย่าหรือคุณยาย หรือพี่เลี้ยงก็ได้ ขอให้เป็นคนที่เขาใกล้ชิดและ ดูแลเขา ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องอาหารการกิน และการขับถ่าย เขาจะรู้สึกว่า คนเหล่านั้น สามารถให้ความอบอุ่น ให้ความปลอดภัยและเป็นที่พึ่งพิงแก่เขาได้ เขาจะสร้างสายสัมพันธ์ ระหว่างตัวเขากับคนเหล่านี้ และเมื่อเขาต้องเผชิญ สถานการณ์ ที่คุกคามเขา (เช่น เมื่อตกใจหรือต้องไปอยู่ใกล้ ๆ คนแปลกหน้า) เขาก็จะวิ่งกลับไปหา บุคคลเหล่านี้เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตนเอง บางครั้งถ้าเหตุการณ์ มันน่าตกใจ สำหรับเขามาก เขาจะไปหาเฉพาะบุคคล ที่เขารักและผูกพัน ด้วยที่สุดคนเดียวเท่านั้น ไม่เอาคนอื่นแม้ จะเป็นเบอร์สอง เลยก็ตาม ในกรณีของลูกของคุณนี้ ผมขอเรียนยืนยันว่าเป็นกรณีของเด็กปกติครับ ถ้าเด็กไม่ กลัว คนแปลกหน้า ที่ผิดปกติ เมื่อเรารู้ว่ามันเป็นการตอบสนองที่ปกติ เราคงไป ตัดหรือ ให้เขาเลิกพฤติกรรมนั้นเสียทั้งหมดเลยคงไม่ได้ แต่เรา อาจช่วยให้เขา ปรับตัวใน สถานการณ์นั้นได้ง่ายขึ้น เช่น เมื่อจะไปเจอญาติพี่น้อง ก็ให้คุณแม่ อุ้มเขาไว้ก่อน ในอ้อมกอดของเขา อย่าผักใสให้เขาไปถูกคนอื่น อุ้มเร็วเกินไป เพราะเขาจะยิ่งถอย หนีและไม่ยอมไปเลย อย่าฝืนให้เขาสบตา หรือบังคับ ให้เขาทำ ในสิ่งที่เขายังไม่พร้อม เช่น สวัสดี แต่ขออุ้มไว้สักพัก จนเขาคุ้นเคย กับสถานการณ์ และสภาพ แวดล้อมที่ แปลก ใหม่นั้นแล้วค่อย ๆ ถามความสมัครใจ เขาว่าอยากจะลง ไปเดินเอง บ้างไหม เพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน ขนมหรือของเล่นใหม่ ๆ จะช่วยให้เขา ปรับตัวได้ดีขึ้น ถ้าหากเราเป็น คนแปลกหน้าสำหรับเด็ก เราไม่ควรทักทายเด็กวัยนี้ ในระยะใกล้ หรือประชิดตัวมากเกินไป ในเบื้องต้นอย่าพยายามสบตา เพราะสำหรับเด็กแล้ว มันคือ การลุกล้ำ อาณาเขตอย่างรุนแรง ทักทายเขาให้เสียงดัง พอประมาณ (ระวังจะดัง เกินไป เด็กจะตกใจ และปฏิเสธคุณ ไปเลยนะครับ) และท่าทีที่อ่อนโยน อาจส่งขนม หรือของเล่นให้โดย ไม่ต้องสบตา เมื่อเป็นมิตรกันแล้วค่อยขอเขาอุ้ม หากเขายัง ไม่พร้อม ยังไม่ยอม ผู้ใหญ่ก็ต้องเคารพ ในการตัดสินใจของเขา คุณพ่อคุณแม่ อาจช่วยลูกได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการนำภาพถ่ายเก่า ๆ ของญาติ คนดังกล่าวที่เด็กจะไป เจอมาให้เด็กดูก่อน เล่าเรื่องให้ฟังว่าญาติคนนี้น่ารัก และดีกับครอบครัวของ เราอย่างไร เพื่อเป็นการเตรียมเด็กล่วงหน้า ในกรณีของบ้านที่เป็นร้านค้า ผมว่าน่าเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะธรรมชาติของเด็ก และกิจการค้ามันไม่ไปด้วยกัน เท่าไรนักในวัยดังกล่าว หนทางที่อาจพอช่วยได้บ้าง ก็มีเช่น พยายามจัดเวลานอนของเขาให้ตรงกับช่วงเวลาที่มี ลูกค้าเข้ามามาก หากเขาตื่นอยู่ก็ยินยอมให้เขาได้อยู่ใกล้กับเราหน่อย เช่น อาจจูงไปเอาของด้วยกัน หรือให้ เขาช่วยถือสิ่งของที่ไม่เป็นอันตรายและไม่หนักเกินไป (แต่ยังไม่ถึงกับส่ง ของให้ลูกค้านะครับ) หรือถ้าไม่ได้จริง ๆ ก็อาจให้คุณปู่คุณย่าพาไปทำ กิจกรรมอย่างอื่น ที่เขาชอบ เพื่อเป็นการดึงดูดใจของเขาชั่วคราว เช่น ไปดูตู้ปลา หรือ ไปดูสุนัขข้างบ้าน เหล่านี้คงพอช่วยได้บ้าง

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ เมื่อลูกกลัวคนแปลกหน้า

เมื่อลูกกลัวคนแปลกหน้า
เมื่อลูกกลัวคนแปลกหน้า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook