เมื่อเจ้าหนูหมั่นเขี้ยว จะให้เคี้ยวอะไรดี

เมื่อเจ้าหนูหมั่นเขี้ยว จะให้เคี้ยวอะไรดี

เมื่อเจ้าหนูหมั่นเขี้ยว จะให้เคี้ยวอะไรดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อย่าเพิ่งหัวใจวาย ตกใจหงายท้องไปเสียก่อน ถ้าหากเช้าวันหนึ่ง คุณเกิดพบว่าลูกน้อยวัย 6 เดือนของคุณกำลัง เอร็ดอร่อยอยู่กับชาโต๊ะ หรือคว้าอะไรต่อมิอะไร เข้าปากอยู่เสมอ ๆ คุณอาจคิดไปว่า นี่ฉันให้เขากินไม่พอหรืออย่างไร? ความจริงก็คือ ลูกของคุณกำลังเกิดอาการ "หมั่นเขี้ยว" อะไรเล่นเท่านั้นล่ะค่ะ เพราะทารกในช่วงวัย 5 - 6 เดือน ฟันขึ้นที่เหงือกและมักจะมีอาการคัดเหงือก การให้ทารกกัดบางอย่างจะเป็นการช่วยลดอาการไม่สุขสบายอันเนื่องจากฟันกำลังขึ้นนี้ได้ เด็ก ๆ มักจะชอบเอาของใส่ปากตั้งแต่อายุ 6 - 15 เดือน ทำเอาคุณแม่เห็นแล้วให้รู้สึกรำคาญ ต้องคอยดึงเจ้าสิ่งของต่าง ๆ เหล่านั้นออกจากปากแทบทุกครั้งไป การกระทำเช่นนี้ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ดีนัก แต่คุณควรมองหาของชิ้นใหม่ ที่เคี้ยวแล้วไม่เป็นอันตรายให้แก่เขา และสิ่งที่ฉลาดเลือกฉลาดใช้จะมาแนะนำวิธีการซื้อให้ก็คือ "ยางกัดสำหรับเด็ก" นั่นเอง จริง ๆ แล้ว ถ้าว่ากันตามตรงก็คือ ยางกัดจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ที่ไม่จำเป็นต้องซื้อหามาให้เปลืองสะตุ้งสตังค์ในกระเป๋าคุณ และก็ไม่ต้องไปเที่ยวเดินซื้อให้เมื่อยตุ้มก็ได้ เพราะจริง ๆ แล้วเราสามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกที่แช่เย็นมาให้ลูกกัดผ้าเล่นแทนได้ หรืออาจจะใช้ผักผลไม้ให้เขากัดเล่นอย่างก้านผักกาดขาว แครอทแช่แข็ง กล้วยหอมหั่นตามยาวก็ใช้ได้ แต่ก็อย่างที่รู้กันนะคะว่า ก็เมื่อเขาอุตส่าห์ทำออกมาขายเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ แน่นอนว่าก็ย่อมจะมีคนอยากลองใช้บริการดูบ้าง โดยเฉพาะคุณแม่สำเร็จรูปทั้งหลายจริงไหม? วิธีทำความสะอาดยางกัด มีวิธีทำความสะอาดเช่นเดียวกับจุกนมเด็ก โดยการแช่ในน้ำอุ่นผสมน้ำยาทำความสะอาดขวดนมหรือจุกนม แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ที่สำคัญคือควรเก็บยางกัดที่ทำความสะอาดแล้วไว้ในตู้เย็นเสมอ คุณไม่ต้องวิตกมากเกี่ยวกับเชื้อโรคที่ของสำหรับแทะ หรือผ้าของเด็ก เพราะถ้ามีก็เป็นเพียงเชื้อโรคของตัวเด็กเองจะไม่มีอันตราย แต่ถ้าตกหล่นบนพื้นก็ควรจะนำมาล้างทำความสะอาดเสียก่อน มีคุณแม่หลายคนเลือกที่จะหยิบขนมปังกรอบให้ลูกแทนในบางครั้งคราวก็ได้ ไม่ผิดกติกา แต่มีข้อแม้อยู่ว่า ขนมปังกรอบนั้นจะต้องไม่มีรสเค็มจัดหรือหวานจัด อีกทั้งยังต้องละลายจนอ่อนนุ่มเมื่อเข้าไปอยู่ปากของเจ้าหนูด้วย ที่สำคัญไม่ควรใส่สีหรือสารเคมีต่าง ๆ เวลาซื้อคุณแม่ควรอ่านฉลากข้างกล่องว่ามีส่วนผสมอะไรอยู่บ้าง สิ่งสำคัญคือต้องสะอาด และถ้าทำเองได้ยิ่งดีใหญ่

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ เมื่อเจ้าหนูหมั่นเขี้ยว จะให้เคี้ยวอะไรดี

เมื่อเจ้าหนูหมั่นเขี้ยว จะให้เคี้ยวอะไรดี
เมื่อเจ้าหนูหมั่นเขี้ยว จะให้เคี้ยวอะไรดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook