การพัฒนาความจำของเด็ก

การพัฒนาความจำของเด็ก

การพัฒนาความจำของเด็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ลูกเริ่มรับรู้ต่อเสียงต่าง ๆ ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เสียงของแม่ เสียงของพ่อ และเสียงเพลงที่เราเปิด ให้ฟังเป็นประจำ เมื่อคลอดออกมาแล้ว ลูกจึงรู้สึกคุ้นเคยกับเสียงเหล่านี้มี ปฏิกิริยา ตอบสนองเมื่อได้ยินการรับรู้และความคุ้นเคย จึงเป็นจุดเริ่มของความจำ ในเวลาต่อมา วัยทารก - 2 ขวบ ทารกเกิดมาพร้อมกับความสามารถในการจำ แม้จะใช้เวลาส่วนใหญ ่ไปกับการ นอนและการกิน ในยามที่ลูกตื่น ลองเขย่าโมบายที่แขวนไว้เหนือเตียง ลูกจะจับตา สิ่งที่เคลื่อนไหว และเรียนรู้ว่ามันเคลื่อนไหวได้อย่างไร เรา สามารถสอน ให้ลูก ใช้เท้าแตะโมบาย หรือใช้มือดึงเพื่อทำให้มันเคลื่อนไหว ครั้งแรกที่ลูกคุณทำตาม คุณอาจคิดว่า เป็นเรื่องบังเอิญ แต่หากสังเกตพฤติกรรมของแกให้ดี วิธีเคลื่อนไหว ร่างกาย วิธีใช้มือและรอดูผลที่เกิดขึ้น นั่นแสดงว่าลูกกำลังจำซึ่งเด็กอาย ุไม่กี่เดือน ก็ทำได้แล้ว สิ่งที่ลูกจำได้ง่ายมักเป็นสิ่งที่น่าสนใจ น่าตื่นเต้น รวมทั้งน่ากลัวด้วย ความทรงจำจะเกิด ขึ้นตั้งแต่แรกมีประสบ การณ์ซึ่งเป็นไปได้ทั้งประสบการณ์ที่ดีและไม่น่าประทับใจ เช่น เมื่อพาลูกไปหาหมอ ลูกมีทีท่ากลัวบุคคลชุดขาว ซึ่งก็คือคุณหมอและพยาบาล เพราะแกนึก รู้ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้นหลังจากนั้น แกจะถูกวัดปรอททางก้นและถูก ฉีดยาเป็นต้น สำหรับเด็ก 1-2 ขวบเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นกันครั้งแล้วครั้งเล่านั้น เปรียบเหมือน สคริปต์ ก็ว่าได้ และบทที่ถูกต้อง แสดงนั้นต้องมีทั้งดีใจ เสียใจ บางครั้งก็เครียด! เช่น เมื่อพา ไปหาย่า ลูก ก็จะได้กินขนมอร่อย ๆ นี่คือบทสนุก บทโศกก็เช่น เมื่อพี่เลี้ยงเด็กมาถึง แสดงว่าแม่กำลังจะออกไปข้างนอกบ้าน แกต้องอยู่กับพี่เลี้ยงตามลำพัง ส่วนบทเครียด เช่น เมื่อใดที่แม่เดินหายเข้าห้องไปปล่อยให้แกอยู่กับย่าหรือยายหรือป้า แม่จะกลับออกมา พร้อม เด็กตัวเล็ก ๆ ซึ่งแกจะถูกกันไม่ให้เข้าใกล้ การส่งเสริม ปล่อยให้ลูกได้ทำอะไรด้วยตนเอง อะไรที่ได้ลงมือทำด้วยตัวเองนั้นจะจดจำขึ้นใจ ข้อนี้ใช้ได้กับ ทุกวัย แต่ต้อง ไม่ใช่สิ่งที่เสี่ยงต่ออันตรายนะ รูปภาพเตือนความจำ ถ้าลูกไม่ได้พบหน้าญาติผู้ใหญ่ช่วงเวลาหนึ่ง เอารูปภาพให้แกดู เล่าเรื่องของเขาให้ลูกฟัง บ้าง เวลามาพบกันจะได้ไม่รู้สึกเป็นคนแปลกหน้า วัย 2 - 5 ขวบ เมื่อเด็กเริ่มพูดได้คล่อง การพัฒนาความจำก็เริ่มเข้มข้นตามไปด้วย นอกเหนือจากการ พูดแล้ว ลองหัดให้ลูกเล่า เรื่องบ้าง การเล่าเรื่องจะช่วยเรื่องความจำได้มาก เพราะต้อง มีโครง เรื่อง เด็กจะจดจำว่าจะเริ่มต้นอย่างไร การลำดับความ จนกระทั่งถึงตอนจบ เด็กอ่อนวัยเรียนจะถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วได้ เช่นให้ลูกเล่าเรื่องไปเที่ยวทะเล แกจะทบทวนว่าแกใส่ชุด ว่ายน้ำสีแดง เล่นตักทรายและเล่นน้ำทะเล นอกจากนี้เด็กวัยนี้จะเริ่มจดจำสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น เรื่องของสี การนับหนึ่งถึงสิบ ตัวอักษร ก-ข-ค หรือ ABC โดยเก็บข้อมูลแบบความจำระยะสั้น (short-term menory) เมื่อเรียกใช้ ก็ต้องทบทวนความจำกันหน่อย ซึ่งนานวันเข้า กระบวนการทวนความจำก็ อาจหายไปได้ เมื่อใช้สีแดง เด็กก็พูดออกมาได้โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องนึกว่าสีนี้เรียกว่าอะไร เด็กจะเริ่มจำเรื่องราวที่ซับซ้อนได้ โดยอาศัยการซ้ำ (repetition) พ่อแม่ช่วยได้โดย การเล่าเรื่องซ้ำๆ การพูดซ้ำๆ ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ การเล่านิทานก่อนนอน ลูกอาจจะขอ ให้คุณเล่าอยู่เรื่องเดียว คุณไม่ต้องกลัวว่าลูกจะเบื่อ เพราะลูกกำลัง "จำ" เรื่องนั้น จนสามารถ ที่จะเล่าได้เองโดยไม่ต้องดูหนังสือ (เล่าจากความจำเพราะแกยังอ่าน หนังสือไม่คล่องหรอกน่า) คุณไม่ต้องแปลกใจหากคุณข้ามตอนใดตอนหนึ่งของเรื่องไป ด้วยว่าลูกได้จดจ่ออยู่กับคำทุกตัวหนังสือก็ว่าได้ การส่งเสริม การทำซ้ำ แม้จะเป็นการเก็บข้อมูลมากกว่าจะพัฒนาความจำ แต่นักวิจัยพบว่าจะช่วย ให้เด็กเรียนรู้วิธีเล่าเรื่อง ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการพัฒนาความจำ ตั้งเป็นคำถาม เฉพาะ เช่น ถามว่าวันนี้หนูกินคุ้กกี้เป็นของว่างหรือเปล่า ไม่ควรถามว่ากินอะไรเป็น ของว่าง หรือถามว่า หนูจำช้างตัวใหญ่ที่สุดในเขาดินได้ไหม แทนที่จะถามว่า สัตว์ ที่ตัวใหญ่ที่สุดที่หนูเห็นคืออะไร สร้างท่วงทำนองหรือจังหวะ สอนให้ลูกจำเบอร์ โทรศัพท ์โดยร้องเป็นเพลง หรืออ่านเป็นจังหวะ สอนให้ลูกสะกด ชื่อตัวเอง โดยเน้น จังหวะ จะโคน ลูกจะยังไม่รู้จักตัวอักษร แต่ก็พูดออกมาได้ครบ เป็นวิธีเดียว กับการท่อง อาขยานนั่นเอง

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ การพัฒนาความจำของเด็ก

การพัฒนาความจำของเด็ก
การพัฒนาความจำของเด็ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook