Miracle of Sleeping สมองลูกน้อยเรียนรู้ได้แม้ยามหลับ

Miracle of Sleeping สมองลูกน้อยเรียนรู้ได้แม้ยามหลับ

Miracle of Sleeping สมองลูกน้อยเรียนรู้ได้แม้ยามหลับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Miracle of Sleeping สมองลูกน้อยเรียนรู้ได้แม้ยามหลับ

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า? การนอนหลับของลูกน้อยอย่างเพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นเวลาทองที่ลูกน้อยจะได้พัฒนาสมอง ให้สามารถเรียนรู้และจดจำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยให้สมองลูกน้อยพัฒนาไปได้อย่างเต็มที่ขณะหลับคือการได้รับโปรตีนคุณภาพสูง "แอลฟา-แล็คตัลบูมิน" จากนมแม่ ช่วยลูกหลับนานขึ้น เรียนรู้ดีขึ้นเมื่อตื่น

การนอนหลับของลูกน้อยนั้นไม่เหมือนกับการนอนหลับของผู้ใหญ่ เพราะแม้ว่าลูกน้อยจะมีเวลาตื่นเพื่อสำรวจสิ่งรอบข้างอย่างจำกัด แต่ในช่วง 2-3 เดือนแรกของชีวิต พัฒนาการสมองของลูกน้อยนั้นไม่เคยหยุดนิ่งแม้ในขณะหลับ และยังสามารถนำประสบการณ์ที่เรียนรู้ขณะตื่น มาประมวลผลเป็นความจำในเวลานอนได้อีกด้วย

กรณีของเด็กเล็ก ซึ่งจะมีการนอนหลับอยู่ 2 ช่วง คือ “ช่วงการหลับธรรมดา” ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และกระตุ้นการทำงานของร่างกาย กับ “ช่วงหลับลึก” ซึ่งเป็นช่วงเวลาการนอนที่สำคัญอย่างมาก เพราะร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพื่อไปกระตุ้นส่วนต่างๆ ของสมองในการเรียนรู้และจดจำ(2) ซึ่งหากลูกน้อยนอนหลับอย่างเพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน ก็จะช่วยห้เซลล์ประสาทเจริญเต็มที่เพื่อเตรียมพร้อมเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆ ในขณะตื่นในแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ(1)

ซึ่งหากลูกน้อยไม่ได้รับการนอนหลับอย่างเพียงพอ ก็จะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองในการเรียนรู้และจดจำสิ่งต่างๆ ยืนยันได้จากผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ ซึ่งได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของหนูน้อยอายุ 6-12 เดือน จำนวน 216 คน โดยได้ทดลองให้หนูน้อยทำกิจกรรมหลายอย่างรวมทั้งเล่นหุ่นกระบอกประเภทสวมมือ เสร็จแล้วแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งได้นอนหลับภายใน 4 ชม.หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ และอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้นอน หรือนอนไม่ถึง 30 นาที พอวันรุ่งขึ้นนักวิจัยบอกให้หนูน้อยทำกิจกรรมที่สอนไปให้ดู ปรากฎว่า เด็กที่ได้นอนหลับเต็มอิ่มสามารถทำกิจกรรมซ้ำได้โดยเฉลี่ย 1.5 กิจกรรม ส่วนเด็กที่ไม่ได้นอนหรือนอนน้อยนั้นทำไม่ได้เลย

นอกจากนี้ การที่ลูกน้อยได้รับสารอาหารจากนมแม่อย่าง "แอลฟา-แล็คตัลบูมิน" ซึ่งเป็นเวย์โปรตีนที่ให้กรดอะมิโนจำเป็นชื่อ "ทริปโตแฟน" ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่ช่วยในการสื่อสารของเซลล์ประสาท และการทำงานของสมอง จะช่วยร่นระยะเวลาการนอนให้เด็กหลับเร็วขึ้น ซึ่งจากการศึกษาของ Cubero, et. Al. พบว่า เด็กที่กินนมแม่จะนอนหลับได้ดีกว่า เนื่องจากนมแม่มีระดับทริปโตเฟนในช่วงกลางคืนสูงกว่าในช่วงกลางวัน ขณะที่เด็กกินนมผสมจะใช้เวลากว่าจะหลับนานกว่า

ดังนั้นการให้นมแม่ก่อนนอน จึงเป็นเคล็ดลับเด็ดที่ช่วยให้ลูกน้อยหลับสบาย สมองมีความสดชื่นพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ แถมนมแม่ยังมีสารอาหารที่สำคัญอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองอย่าง ไอโอดีน และธาตุเหล็กอีกด้วย ซึ่งสมองลูกน้อยนั้น ต้องการการนอนหลับอย่างเพียงพอทั้งกลางวันและกลางคืน และยังต้องการสารอาหารจากนมแม่อย่าง "แอลฟา-แล็คตัลบูมิน" มาช่วยเสริมสร้างการทำงานและพัฒนาการของสมองลูกน้อย ที่เรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่งแม้ในขณะหลับ!

(1)Tarullo AR, Balsam PD, and Fifer WP. Sleep and Infant Learning. Infant and Child Development 2011: 20; 35-46
(2)Michael Schupp MD FRCA, Christopher D Hanning MD FRCA. Physiology of Sleep. British Journal of Anaesthesia 2003; CEPD Reviews, Volume 3 Number 3

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook