ไม่ผ่าตัดจะรักษามะเร็งตับอย่างไร?

ไม่ผ่าตัดจะรักษามะเร็งตับอย่างไร?

ไม่ผ่าตัดจะรักษามะเร็งตับอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไม่ผ่าตัดจะรักษามะเร็งตับอย่างไร?

     มะเร็งเซลล์ตับ หรือเฮปาโตเซลลูลาร์ คาร์ชิโนมา (hepatocellular carcinoma – HCC) เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศแถบตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่าการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเป็นการรักษาที่ได้ผลที่สุด แต่การผ่าตัดก็มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก กล่าวคือ การวินิจฉัยของโรคทำได้ช้าทำให้เปอร์เซ็นต์ตับแข็งสูง เป็นเหตุให้ประมาณ 80% ของผู้ป่วยไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ ประเด็นต่อมา แม้ว่าผู้ป่วยจะสามารถรับการผ่าตัดได้แต่การผ่าตัดตับทิ้งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยต้องแบกรับความเจ็บปวดรวมถึงความเสี่ยง ในขณะเดียวกันยังเป็นการทำให้ระบบการของตับได้รับความเสียหาย ที่สำคัญ ผู้ป่วยหลายรายหลังรับการผ่าตัดเพียงไม่กี่เดือนมักพบเซลล์มะเร็งในตับส่วนที่เหลือ ซึ่งทำให้การรักษาอื่นๆ ทำได้ยากลำบากยิ่งขึ้น

     การรักษาด้วยการให้เคมีบำบัดผ่านหลอดเลือด เป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับแพร่หลายในระดับสากล โดยวิธีการดังกล่าวจะใช้การอุดหลอดเลือดเพื่อตัดตอนการลำเลียงอาหารและเลือดสู่ก้อนเนื้อ ทำให้ก้อนเนื้อชะลอการเติบโตช่วยยืดอายุผู้ป่วยได้ แต่หากก้อนเนื้อมีหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหลายเส้นทาง หรือกระจายหลายก้อน การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวก็ไม่อาจเกิดผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ป่วยมีอาการท้องบวมน้ำ ดีซ่านหรือมีแนวโน้มเลือดออก การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวถือเป็นเรื่องต้องห้าม ดังนั้นการใช้วิธีดังกล่าวในการรักษา มะเร็งตับ จึงยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมเนื้องอกไว้ได้

     ปัจจุบัน พัฒนาการของเคมีบำบัดยังไม่พัฒนาโดดเด่นชัดเจน การนำยาเคมีบำบัดทั่วไปมาใช้รักษา มะเร็งตับ จึงเห็นผลการรักษาน้อยมาก ประกอบกับการทำงานของตับผู้ป่วยอ่อนแอการรับขนาดยาเคมีบำบัดจึงต้องให้อย่างจำกัด ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้ผู้ป่วย มะเร็งตับ รับเคมีบำบัดเต็มอัตรา และแน่นอนว่าการรักษาด้วยวิธีการฉายแสงย่อมสร้างความเสียหายให้กับตับในวงกว้าง ผู้ป่วย มะเร็งตับ ส่วนใหญ่จึงไม่เหมาะที่จะรับการฉายแสง การรักษาโดยให้ยาระดับโมเลกุลมักถูกนำมาใช้รักษาผู้ป่วย มะเร็งตับ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากผลงานวิจัยพบว่า ยาดังกล่าวสามารถยืดอายุผู้ป่วยได้ประมาณ 3เดือน เป็นยาที่ FDA สหรัฐอเมริกาอนุญาตให้นำมารักษาผู้ป่วย มะเร็งตับ เนื่องจากยาดังกล่าวต้องกินระยะยาว ยามีราคาสูงและมีผลข้างเคียงทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถกินจนครบ ดังนั้น จึงไม่อาจรักษาด้วยวิธีดังกล่าวเพียงวิธีเดียว จึงไม่แนะนำให้ผู้ป่วยพึ่งพาการรักษาชนิดนี้เพียงอย่างเดียว

     การรักษา มะเร็งตับ ด้วยวิธีการสลายเนื้องอกชนิดลุกล้ำพื้นที่น้อยเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีวิธีการหนึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากงานวิจัยทางคลินิกพบว่า มะเร็งตับ ขนาดเล็กที่สามารถตัดทิ้งได้หากรับการรักษาด้วยการสลายเนื้องอกชนิดรุกล้ำพื้นที่น้อยมีประสิทธิผลและยืดอายุผู้ป่วยได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดธรรมดา ที่สำคัญวิธีดังกล่าวยังไม่ต้องเปิดบาดแผลลดความเสี่ยง ความเจ็บปวดและลดผลกระทบต่อภูมิต้านทานของร่างกาย จึงทำให้วิธีการรักษาดังกล่าวเป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบมากขึ้นเรื่อยๆ การสลายเนื้องอกชนิดรุกล้ำพื้นที่น้อยประกอบด้วย การสลายด้วยความเย็น การสลายด้วยคลื่นความถี่วิทยุ การสลายด้วยคลื่นไมโครเวฟและการสลายด้วยแอลกอฮอล์เป็นต้น แม้ว่าการสลายด้วยคลื่นความถี่วิทยุจะพัฒนามาก่อนและได้รับการยอมรับจากผู้ป่วยค่อนข้างมาก แต่การสลายด้วยความเย็นกลับมีข้อได้เปรียบทางด้านควบคุมพื้นที่ กำหนดขนาดและจำนวนของเนื้องอก ลดความเสียหายของหลอดเลือด การรักษาแบบเรียลไทม์ ลดอาการเจ็บปวดได้อย่างชัดเจน จึงกลายเป็นตัวเลือกที่ถูกนำมารักษาสูงสุดในปัจจุบัน

     เมื่อผสมผสานสิ่งที่กล่าวมาเกี่ยวกับการรักษามะเร็งเซลล์ตับข้างต้น เราพอจะสรุปได้ว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดตับทิ้ง ควรการรักษาด้วยการสลายความเย็นชนิดรุกล้ำพื้นที่น้อยเสียก่อนจากนั้นค่อยให้ยาในระดับโมเลกุลจึงนับเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยในปัจจุบัน

     โรงพยาบาลโรคมะเร็งฟูด้า ประเทศจีนเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการสลายเนื้องอกด้วยความเย็นระดับโลก ปัจจุบันได้ทำการรักษาผู้ป่วย มะเร็งตับ ด้วยวิธีการดังกล่าวกว่า 3000รายแล้ว อัตราความสำเร็จอยู่ที่ 93.6% ในเดือนพฤษภาคม 2555 ศ.นพ.สวี เค่อเฉิง ผู้อำนวยการใหญ่ของโรงพยาบาลได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานกิตติมศักดิ์สมาคมการรักษาเนื้องอกความเย็นระดับเอเชีย คนที่หนึ่ง นพ.ดร.หนิว ลี่จื้อ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้รับการคัดเลือกให้เป็นรองประธาน วันที่ 13ธันวาคม 2556 ในการประชุมใหญ่การรักษาด้วยความเย็นระดับสากลครั้งที่ 17 ศ.นพ.สวี เค่อเฉิง ได้รับการคัดเลือกให้เป็นประธานสมาคมการรักษาด้วยความเย็นระดับสากล ครั้งที่ 18 ส่วน นพ.ดร.หนิว ลี่จื้อได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการบริหารในชุดนี้ด้วย ในปี 2552 ทั้งสองท่านได้ตีพิมพ์ตำราเฉพาะทางด้านเทคนิคการรักษาด้วยความเย็น เรื่อง “การรักษาด้วยความเย็นศึกษา” ในปี 2555 ได้ตีพิมพ์เป็นฉบับภาษาอังกฤษในชื่อเรื่อง “Modern Cryosurgery for Cancer”กับสำนักพิมพ์ World Science ได้รับการยอมรับจากคนในวงการดังกล่าวอย่างแพร่หลาย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทางโรงพยาบาลได้รับผู้ป่วย มะเร็งตับ ชาวไทยที่ให้การยอมรับและมารักษาด้วยวิธีการดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ ผลการรักษาเป็นที่น่าพึงพอใจ ทางโรงพยาบาลได้ก่อตั้งศูนย์บริการให้คำปรึกษา กรุงเทพฯ หากผู้ป่วยท่านใดสนใจค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.fudacancerthailand.com หรือติดต่อที่หมายเลขโทรศัพท์ศูนย์ฯ ที่เบอร์ 02-717-1200,094-2211-169,081-580-3998

นพ.ดร.หนิว ลี่จื้อกำลังทำการรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับด้วยวิธีการสลายความเย็น

ภาพซ้าย ก่อนการรักษาก้อนมะเร็งในตับขนาดใหญ่ 18×16 ซ.ม ภาพขวา หลังการรักษาด้วยความเย็น เชื้อมะเร็งตาย ขนาดก้อนเนื้องอกยุบลง70%

ตำราการรักษาเนื้องอกด้วยความเย็น Modern Cryosurgry For Cancer เล่มแรกของโลกซึ่งแต่งโดยศาสตราจารย์ นพ.สวี เค่อเฉิง นพ.หนิว ลี่จื้อและศาสตราจารย์ Korpan ชาวออสเตรีย และเครื่องทำความเย็นCryocareของสหรัฐอเมริกา


[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook