ดูชัดๆ ลูกแฝดชายหญิง โอปอล์ หมอโอ๊ค

ดูชัดๆ ลูกแฝดชายหญิง โอปอล์ หมอโอ๊ค

ดูชัดๆ ลูกแฝดชายหญิง โอปอล์ หมอโอ๊ค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่ต้องพักฟื้น รักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลาเดือนกว่า ตอนนี้คุณแม่ ' โอปอล์ ปาณิสรา' ได้คลอดลูกชาย-หญิงฝาแฝดอย่างปลอดภัยแล้วค่ะ แต่อย่างที่รู้ๆ กันว่า โอปอล์นั้นมีอาการตั้งครรภ์ผิดปกติ และมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียลูกไปในตอนนั้น ทำเอาหลายๆ เป็นห่วงและต่างร่วมให้กำลังใจกันอย่างมากมาย 

และเมือไม่กี่วันมานี้ คุณแม่โอปอล์ได้ออกมาโพสต์ผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวแล้วว่า ได้คลอดลูกน้อยฝาแฝดแล้วอย่างปลอดภัย โดยใช้ชื่อว่า "อลิน - อรัญ" แต่น้องนั้นคลอดก่อนกำหนดเลยตัวเล็กไปหน่อย 

การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดนั้นต้องมีวิธีการ ขั้นตอนยังไงบ้างนั้นมาดูกันค่ะ

ทารก คลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ เช่น คลอดก่อนกำหนด 1-2 สัปดาห์ หรือ คลอดเมื่ออายุครรภ์ 35 หรือ 36 สัปดาห์
ทารก คลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาสุขภาพอะไรน่าเป็นห่วงมาก เพียงแต่ต้องดูแลใกล้ชิดและตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะทารกจะต้องปรับร่างกายสู่โลกภายนอกมากกว่าทารกที่คลอดตามกำหนดปกติ แต่ก็มีทารกที่ประสบปัญหามากเมื่อคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากหรือน้ำหนักตัวน้อยมาก เช่น ทารกคลอดอายุครรภ์ประมาณ 32-33 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวตอนแรกเกิดน้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ซึ่งจะมีปัญหาเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของระยะการตั้งครรภ์


อย่างไรก็ตามทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมี พัฒนาการล่าช้าบ้าง เพราะระบบสมองของทารกจะเจริญเร็วที่สุดในช่วง 6-7 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ แต่เมื่อทารกคลอดก่อนช่วงเวลานี้จึงทำให้สมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่มากนัก ซึ่งแพทย์จะคอยตรวจเช็กพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การได้ยินและการมองเห็น ส่วนการส่งเสริมพัฒนาการนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นลูกด้วยเสียงดนตรีเบาๆ การพูดคุยลูกบ่อยๆ การใช้สีและแสงอย่างเหมาะสมด้วย

- See more at: http://www.momypedia.com/wiki-4-14-67/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94/#sthash.oeiTA7vZ.dpuf

ทารกคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ครบ 37 สัปดาห์ เช่น คลอดก่อนกำหนด 1-2 สัปดาห์ หรือ คลอดเมื่ออายุครรภ์ 35 หรือ 36 สัปดาห์ ทารกคลอดก่อนกำหนดส่วนใหญ่จะไม่มีปัญหาสุขภาพอะไรน่าเป็นห่วงมาก เพียงแต่ต้องดูแลใกล้ชิดและตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะทารกจะต้องปรับร่างกายสู่โลกภายนอกมากกว่าทารกที่คลอดตามกำหนดปกติ

แต่ก็มีทารกที่ประสบปัญหามากเมื่อคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากหรือน้ำหนักตัวน้อยมาก เช่น ทารกคลอดอายุครรภ์ประมาณ 32-33 สัปดาห์ หรือน้ำหนักตัวตอนแรกเกิดน้อยกว่า 1.5 กิโลกรัม ซึ่งจะมีปัญหาเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของระยะการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตามทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีพัฒนาการล่าช้าบ้าง เพราะระบบสมองของทารกจะเจริญเร็วที่สุดในช่วง 6-7 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ แต่เมื่อทารกคลอดก่อนช่วงเวลานี้จึงทำให้สมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่มากนัก ซึ่งแพทย์จะคอยตรวจเช็กพัฒนาการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การได้ยินและการมองเห็น ส่วนการส่งเสริมพัฒนาการนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นลูกด้วยเสียงดนตรีเบาๆ การพูดคุยลูกบ่อยๆ การใช้สีและแสงอย่างเหมาะสมด้วย

ปัญหาทารกคลอดก่อนกำหนด

ตัวเย็น - เนื่องจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะตัวเล็กและตัวเย็นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่น โดยอาจจะใช้ตู้อบเป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดอุณหภูมิ
หายใจลำบาก – ทารกคลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักน้อย เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวแรกคลอดเพียง 1 กิโลกรัม มักจะมีปัญหาการหายใจ และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจช่วย เพราะปอดยังทำงานได้ไม่เต็มที่
ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ – เนื่องจากการคลอดก่อนกำหนดทำให้เทารกตัวเย็นได้ง่าย จึงต้องดึงเอาสารสะสมที่เก็บไว้เป็นพลังงาน มาสร้างอุณหภูมิร่างกายให้อยู่ในระดับ 37% ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงได้
ติดเชื้อได้ง่าย – ภูมิคุ้มกันของทารกนั้นมักจะได้จากแม่ในช่วงระยะท้ายของการตั้งครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนดจึงมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าทารกปกติถึง 4 เท่า
ตัวเหลือง – เนื่องจากการทำงานของตับในทารกคลอดก่อนกำหนดยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ทารกมีอาการตัวเหลืองนานกว่าทารกที่คลอดตามกำหนด และอาการตัวเหลืองนี้จะพบมากโดยเฉพาะในคนเอเชีย
การดูดกลืน – ร่างกายของทารกยังทำงานประสานการดูดกลืนและการหายใจไม่ค่อยดี ทำให้มีโอกาสสำลักนมได้บ่อยๆ
ป่วยกะทันหัน - หากทารกเกิดมีไข้ ตัวร้อน ติดเชื้อน้ำมูกเขียวข้น ดูดนมได้น้อยลง น้ำหนักไม่ขึ้น ต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที แม้ว่าจะก่อนเวลานัดก็ตาม
น้ำคั่งในสมอง - ส่วนใหญ่ก็จะหายไปเองได้ แต่อาจมีทารกบางกลุ่มที่เมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ หัวจะดูโตกว่าคนอื่นนิดหน่อย เพราะถุงน้ำในสมองจะใหญ่กว่าคนปกติ แต่ไม่มีปัญหาด้านพัฒนาการ
ลำไส้เน่าตายอย่างเฉียบพลัน – ลำไส้ทารกคลอดก่อนกำหนดอาจเน่าขึ้นมาโดยที่ไม่มีทางป้องกัน และเกิดได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ภาวะนี้เกิดได้ประมาณร้อยละ 10 ของทารกคลอดก่อนกำหนดทั้งหมด สามารถแสดงอาการได้หลายประเภท เช่น ลำไส้ขาดเลือดชั่วคราว ลำไส้ตายแต่ไม่ทะลุ และลำไส้ทะลุ

การดูแลลูกคลอดกำหนด


ทารกคลอดก่อนกำหนดจะอยู่โรงพยาบาลในระยะแรก โดยมีแพทย์และพยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิด จนทารกมีความพร้อมและน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นกว่า 1.8-2 กก. สามารถหายใจได้เอง สามารถดูดกลืนได้ดี มีการใช้ตู้อบน้อยลง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถกลับบ้านได้ แต่ว่าจะมีการนัดตรวจร่างกายในทุก 1-2 อาทิตย์เพื่อติดตามและสังเกตอาการ ซึ่งเมื่อกลับมาบ้านคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อย ดังนี้

     จัดสภาพแวดล้อม - จัดบรรยากาศในบ้านให้อากาศถ่ายเท ไม่อับชื้น เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายในของลูกไม่เย็นหรือร้อนเกินไป
     รักษาความสะอาด – ทารกคลอดก่อนกำหนดนั้นมีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกว่าทารกคลอดปกติ อุปกรณ์และของใช้ลูกทุกอย่างต้องผ่านการต้มนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ และรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในบ้านด้วย
     นม – แนะนำให้กินนมแม่เป็นหลัก แต่อาจต้องกินนมสูตร Enrich Post-discharge Formula เสริมควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยให้ลูกทำน้ำหนักดีขึ้น ถ้าน้ำหนักตัวขึ้น 40-50 กรัมต่อวันก็ถือว่าการเจริญเติบโตเป็นไปได้ด้วยดี

อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรสังเกตภาวะการติดเชื้อ หากลูกน้อยมีไข้หรือตัวเย็นหรือดูซึมไม่ดูดนม หรือมีอาการที่ไม่แน่ใจ ควรโทรปรึกษากุมารแพทย์หรือพยาบาลทารกแรกเกิดตามเบอร์โทรศัพท์ที่ให้ไว้ เพราะทารก คลอดก่อนกำหนดจะไวต่อการติดเชื้อ และอาจมีอาการรุนแรงอย่างรวดเร็วได้

Sanook! Women ขอเป็นกำลังใจให้ ครอบครัวอารยะสกุล ด้วยนะคะ ถ้ามีความคืบหน้ายังไงบ้างนั้น Sanook! women จะมาอัพเดทให้ได้ทราบกันค่ะ ตอนนี้เราย้อนไปดูภาพคุณแม่โอปอล์ตอนท้องที่ทั้งสวย เป๊ะกันดีกว่าค่ะ ^^

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.momypedia.com/

ขอบคุณภาพประกอบ : IG @opalpanisara

อัพเดทเรื่องราวมากมายที่ผู้หญิงห้ามพลาดได้ที่ อินสตาแกรม :  @sanookwomen

 

คลิกที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดใหญ่

 

อัลบั้มภาพ 23 ภาพ

อัลบั้มภาพ 23 ภาพ ของ ดูชัดๆ ลูกแฝดชายหญิง โอปอล์ หมอโอ๊ค

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook