ปรับวิถีเล็กๆ น้อยๆ "ชีวิตดี๊ดี" ถึงระดับ "เซลล์"

ปรับวิถีเล็กๆ น้อยๆ "ชีวิตดี๊ดี" ถึงระดับ "เซลล์"

ปรับวิถีเล็กๆ น้อยๆ "ชีวิตดี๊ดี" ถึงระดับ "เซลล์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ได้เวลาปฏิวัติตัวเองรับปีใหม่....

ช่วงเวลาก้าวเข้าสู่ปีใหม่ทีไร หลายคนก็มีความคิดอยากจะทำอะไรใหม่ๆ กันตลอด เรื่องหนึ่งที่ ท็อปฮิต ติดชาร์ตการจัดอันดับ "เป้าหมายประจำปี" ก็คงไม่พ้นเรื่องของ "สุขภาพ" ที่กลายเป็นเรื่องสำคัญของคนทุกช่วงวัย เพราะสุขภาพเป็นรากฐานของความสุขและความสำเร็จในทุกเรื่อง

แต่ใช่ว่า แค่ฟิตแอนด์เฟิร์มสมวัยอย่างเดียวจะเพียงพอ สมัยนี้ต้องสุขภาพดี๊ดี ชะลอวัยกันแล้ว งานนี้จึงได้ พญ.ธิศรา วีรสมัย หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท ที่ได้รับเชิญมาร่วมงานแบลกมอร์ วีไอพีเดย์ มาให้คำแนะนำรับปีใหม่ ให้ "ชีวิตดี๊ดีถึงระดับเซลล์"

ภาพจาก slynboththai และ stylecraze

พญ.ธิศราเผยว่า ในมุมของหมอ เข้าใจดีว่าวัย 35-40 ปี เป็นวัยที่ชีวิตกำลังประสบความสำเร็จ แต่ในทางกลับกันเมื่อคนรุ่นใหม่ทำงานหนักระดับที่ว่า 24 ชั่วโมงยังไม่พอ ทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมลง ไม่ฟิตเหมือนสมัยเด็กๆ หลายคนเข้ามาปรึกษาว่ารู้สึกไม่สดชื่น นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ปวดเมื่อยตัว คิดงานไม่ออกต้องพึ่งกาแฟสักแก้ว แบตในร่างกายหมดง่ายๆ อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย รู้สึกไม่ฟิต แต่ไปพบหมออายุรกรรมแล้วก็ไม่พบสาเหตุที่แท้จริง

"นี่คือความเครียดระดับเซลล์ ซึ่งเมื่อเซลล์เสื่อมแล้ว ย่อมกระทบต่อองค์รวม เซลล์ผิวหนังก็เสื่อม ริ้วรอยตามมา ที่สำคัญคือไม่สดชื่น เนื่องจากร่างกายขาดวิตามินต่างๆ เพื่อไปต้านอนุมูลอิสระ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ"

พญ.ธิศราจึงแนะไว้ว่า หากต้องการจะชะลอวัย ต้องไม่ใช่เพียงแค่หยุดแค่ริ้วรอย แต่ร่างกายต้องฟิต สมองต้องแล่น เพื่อให้ก้าวออกจากบ้านอย่างแข็งแรง ให้ทุกวันมีคุณภาพ

จุดๆ นี้ หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย จึงชี้แนะไว้ 3 ขั้นตอน

เริ่มต้นจากเรื่อง "อาหารการกิน" ซึ่ง พญ.ธิศราย้ำว่า กฎคือ งดอาหารต้านอนุมูลอิสระทั้งหลาย เช่น อาหารที่ได้รับกำนัลมา ของหวาน เพราะน้ำตาลหวานแต่ร้าย แม้กินไปแล้วอร่อย แต่เมื่อได้รับความหวาน ตับอ่อนจะขจัดน้ำตาลโดยการปล่อยฮอร์โมนอินซูลินออกมา หากใช้ชีวิตแบบนี้ทุกวัน ตับอ่อนจะเหนื่อย และวันหนึ่งก็ไม่มีแรงจะคุมน้ำตาล เป็นสาเหตุของเบาหวาน เกิดขึ้นให้เห็นในกลุ่มคนอ้วนลงพุง และอนุมูลอิสระนี้เองที่จะไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว มักไปแย่งจับกับเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เซลล์เสื่อม ไปจับคอลลาเจนก็ทำให้คอลลาเจนหดหาย หน้าเหี่ยว หากอยากเยาว์วัยจึงต้องงดอาหารที่มีแป้งมาก คอเลสเตอรอลสูง กินปลา และงดเนื้อแดง เพราะจะทำให้สารในร่างกายทำงานผิดปกติ เน้นผักใบเขียว ผักใบหลากสี ที่เต็มไปด้วยวิตามินต่างๆ

"วิตามินเหล่านี้ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ต้องให้อาหารต่างๆ มาช่วยเพิ่ม วิตามินที่สำคัญมากสำหรับการชะลอวัย คือวิตามินซี เพราะจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำให้ไม่ค่อยป่วย และเสริมคอลลาเจน แต่วิตามินจะถูกใช้ไปเร็วมาก เมื่อร่างกายเครียด จึงควรสะสมวิตามินในร่างกายให้เพียงพอ หาได้จากผลไม้รสเปรี้ยว เบอร์รี่ ส้ม มะนาว ซึ่งหากจะเลือกทานวิตามินเสริมก็ควรเลือกที่บัฟเฟอร์กรดออกแล้ว เพื่อไม่ให้ไปดึงเอาแคลเซียมในกระดูกมาย่อย และควรจะกินหลังอาหารเพื่อให้ซึมไปกับอาหารได้ไม่สลายเร็ว" พญ.ธิศราย้ำ

ขั้นตอนต่อไปคือเรื่องของ "การออกกำลังกาย" ที่ต้องแยกให้ชัดเป็น 3 ชนิด คือคาร์ดิโอ เอ็กเซอร์ไซซ์ หรือการออกกำลังกายเพื่อสูบฉีดโลหิตในร่างกาย ทั้งปอดและหัวใจ ได้แก่ วิ่ง ปั่นจักรยาน เดินสายพาน 2.การออกกำลังกายเพื่อเสริมมวลกล้ามเนื้อ กระชับรูปร่าง เช่น ยกเวท และ 3.การออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่นโยคะ และพิลาทิส ที่ช่วยให้กระดูกข้อต่อกล้ามเนื้อแข็งแรง

"ทั่วไปควรจะเล่นคาร์ดิโออย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน วันอื่นๆ ก็สลับกันเล่นกีฬาเพื่อการผ่อนคลายกันไป แต่ต้องไม่เล่นกีฬาหนักเกินไป เพื่อป้องกันการบาดเจ็บระดับเซลล์"

สิ่งสุดท้ายที่สำคัญที่สุด!

"เรื่องอารมณ์ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แม้ไม่อาจห้ามความเครียดได้ แต่ก็ควรเดินสายกลาง เพื่อให้ทุกอย่างไปได้ดี หมั่นตรวจสุขภาพอยู่เสมอ อีกสิ่งที่สำคัญคือ ต้องตั้งเวลาชีวิตใหม่ เช่น หากต้องตื่นเช้ามาทำงานก็ปรับเวลาให้สายหน่อยเพื่อนอนให้เพียงพอ หรือตื่นเช้าขึ้นอีกนิดเพื่อทานอาหารเช้า เพื่อให้สมองสั่งงานได้ สำคัญที่สุด คือปรับตารางการออกกำลังกายในทุกวัน อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อสุขภาพดีระยะยาว"

อย่างไรก็ตาม สุขภาพจะดีได้ ทุกอย่างต้องเริ่มที่ความตั้งใจ ความมุ่งมั่นที่จะเป็นแรงขับให้ "ลงมือทำ" โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเล็กๆ น้อยๆ

พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือ "หมอผิง" กูรูด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ประจำโรงพยาบาลสมิติเวช มีคำแนะนำสำหรับมือใหม่ที่หัดดูแลตัวเองว่า ให้เลือกกิจกรรมที่เหมาะกับชีวิตของเรา ไม่ต้องไปวิ่ง 5 กิโล 10 กิโลถ้าไม่ไหว แต่อาจหากิจกรรมสนุกๆ ที่ชอบแทน เช่น เต้นแอโรบิก ต่อยมวย และต้องหาแรงจูงใจ เช่น หาเพื่อนร่วมปณิธาน คนในครอบครัวก็ได้ เปลี่ยนไปด้วยกัน ดูแลสุขภาพไปด้วยกัน สร้างความสำเร็จด้านสุขภาพทีละขั้นไปด้วยกัน

"การดูแลสุขภาพให้ต่อเนื่องไม่มีสูตรสำเร็จ แต่อย่างแรกที่ต้องมีแน่ๆ คือ ความตั้งใจและลงมือทำจริงจนเป็นกิจวัตร ข้อที่สองคือ ตั้งเป้าหมายง่ายๆ ที่เราทำได้ อย่าตั้งไว้สูงเกินไป ปรับให้เข้ากับตัวเอง แล้วค่อยๆ ทำเป็นขั้นเป็นตอน" พญ.ธิดากานต์กล่าว

นอกจากที่ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่มาช่วยให้การเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่ายขึ้น ทั้งในรูปแบบอุปกรณ์ดูแลสุขภาพหรือแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือที่มีอยู่มากมาย แต่ควรเลือกโปรแกรมที่สร้างแรงจูงใจให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างแท้จริง อย่างโปรแกรม "เอไอเอ ไวทัลลิตี้" (AIA Vitality) โปรแกรมดูแลสุขภาพแนวใหม่ที่ออกแบบโดยใช้หลักเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม ซึ่งมุ่งสนับสนุนให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการมีสุขภาพดี โดยใช้แรงจูงใจโดยให้รางวัลตัวเอง เพื่อให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสนุกและต่อเนื่อง

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพียงเริ่มต้นปรับวิถีชีวิตเล็กๆ น้อยๆ

ที่มา : นสพ.มติชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook