ซื้อผ้าอนามัยต้องจ่ายภาษี? ทำไมผู้หญิงซื้อมีดโกนแพงกว่า?

ซื้อผ้าอนามัยต้องจ่ายภาษี? ทำไมผู้หญิงซื้อมีดโกนแพงกว่า?

ซื้อผ้าอนามัยต้องจ่ายภาษี? ทำไมผู้หญิงซื้อมีดโกนแพงกว่า?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ซื้อผ้าอนามัยต้องจ่ายภาษี? ทำไมผู้หญิงซื้อมีดโกนแพงกว่า?
แคมเปญรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมของสตรี

วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีได้ถูกกำหนดให้เป็นวันสตรีสากล หรือ International Women’s Day ซึ่งเป็นวันสำคัญในการรำลึกถึงการเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียม ลดการกดขี่และเอาเปรียบสตรีในหลายด้าน อาทิ การรณรงค์ให้ผู้หญิงได้รับค่าจ้างจากการทำงานที่เท่ากับผู้ชาย การได้รับสิทธิทางการเมือง และการคุ้มครองแรงงานสตรี เป็นต้น

ที่เว็บไซต์ Change.orgร ซึ่งเปิดโอกาสให้คนทั่วไปวบรวมรายชื่อรณรงค์สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเองอยากเห็น ได้มีเรื่องรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับสตรีและมีมุมมองที่น่าสนใจอยู่หลายเรื่องด้วยกัน

ทำไมผู้หญิงต้องจ่ายแพงกว่า?
การรณรงค์ ยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของผ้าอนามัย โดยผู้ใช้งานจากอังกฤษ ซึ่งเป็นประเทศที่กำหนดให้ผ้าอนามัยอยู่ในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย และเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ 5 เปอร์เซ็นต์


โดยเนื้อหาของการรณรงค์ระบุว่าผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ผู้หญิงที่มีประจำเดือนต้องใช้โดยไม่มีทางเลือก จึงไม่ควรจัดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และควรเลิกบังคับให้พวกเธอต้องจ่ายค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อซื้อผ้าอนามัย
การรณรงค์นี้ได้การตอบรับอย่างล้นหลาม มีการพูดถึงทั้งในโซเชียลมีเดียและจากสื่อมวลชนมากมาย ข้อท้วงติงนี้เป็นประเด็นสำคัญซึ่งถูกมองข้ามมาเป็นเวลานาน เป็นผลให้ประเทศอื่นๆ ที่มีโครงสร้างการเก็บภาษีผ้าอนามัยเช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ เริ่มเรียกร้องให้รัฐบาลของตนเองยกเว้นภาษีดังกล่าวด้วยเช่นกัน อาทิ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะที่ประเทศแคนาดา เรื่องรณรงค์ในประเด็นนี้บน Change.org ได้รับเสียงสนับสนุนถึง 74,640 เสียง และรณรงค์ได้สำเร็จ ทำให้รัฐบาลยกเว้นภาษีตามคำเรียกร้อง ลิงค์การรณรงค์ยกเว้นภาษีผ้าอนามัยของประเทศแคนาดา

มิใช่เพียงแค่สินค้าประเภทผ้าอนามัยที่มีความไม่ยุติธรรมทางด้านภาษี ยังมีสินค้าเกี่ยวกับผู้หญิงอื่นๆ อาทิ ครีมสำหรับทารอบดวงตาของผู้หญิง และมีดโกนสำหรับผู้หญิงที่ราคาแพงกว่าของผู้ชาย โดยสินค้าทั้งสองชิ้นนี้คือตัวอย่างที่เจ้าของเรื่องรณรงค์ได้หยิบยกขึ้นมาให้เห็นถึงความไม่ถูกต้องในการกำหนดราคาสินค้าของร้านบูทส์ (Boots) ร้านขายยาชื่อดังในประเทศอังกฤษ และมีสาขามากมายในประเทศไทย

เรื่องรณรงค์ให้ ร้านขายยาบูทส์กำหนดราคาสินค้าสำหรับผู้หญิงให้ยุติธรรม มีการเปรียบเทียบราคาสินค้า ซึ่งพบว่าสินค้าสำหรับผู้หญิง (For Women) มักมีราคาสูงกว่าสินค้าสำหรับผู้ชาย (For Men) ทั้งๆ ที่มีลักษณะของสินค้า ส่วนผสมหรือตัวยาที่คล้ายกัน อาทิ ครีมทารอบดวงตาสำหรับผู้หญิงราคาหลอดละ 9.99 ปอนด์ ส่วนครีมทารอบดวงตาของผู้ชายขายในราคา 7.29 ปอนด์ มีดโกนสำหรับผู้หญิงจำนวน 8 ชิ้น ราคา 2.29 ปอนด์ ในขณะที่มีดโกนหนวดผู้ชายจำนวน 10 ชิ้น ราคา 1.49 ปอนด์

การรณรงค์ดังกล่าวได้รับเสียงสนับสนุน จำนวน 45,009 รายชื่อ เป็นเสียงที่ดังพอจะทำให้ผู้บริหารของร้านบูทส์รับฟัง ทั้งยังตกลงปรับราคาสินค้าสำหรับผู้หญิงทั้งหมดที่วางจำหน่ายในร้านบูทส์ลงตามข้อเรียกร้อง ผลของการรณรงค์นี้ทำให้ร้านค้าอื่นๆ ที่ขายสินค้าสำหรับผู้หญิงพิจารณาปรับราคาสินค้าลงตามร้านบูทส์อีกด้วย

ค่านิยมแบบไทยๆ - ฉากข่มขืนในละครเรื่องปกติ?
ส่วนแคมเปญรณรงค์เกี่ยวกับผู้หญิงในประเทศไทยก็มีมุมมองที่น่าสนใจเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องรณรงค์ให้เลิกเผยแพร่คติการล่อลวงข่มขืนว่าเป็นสิ่งปกติ ซึ่งสร้างโดยผู้ใช้ Change.org ที่เป็นผู้ชาย (ใส่ชื่อคุณอ๋อง) กล่าวว่า มองเห็นถึงความอยุติธรรมและค่านิยมผิดๆ ที่ผู้หญิงเป็นผู้ถูกกระทำผ่านฉากข่มขืนในละครไทยมาเป็นเวลาช้านาน ไม่ว่าจะเป็นพระเอกข่มขืนนางเอก การข่มขืนนางร้ายเพื่อเป็นการแก้แค้น หรือแม้แต่ฉากการล่อลวงข่มขืนเพื่อสร้างความขบขันก็ตาม

การรณรงค์ดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาได้รับการตอบรับที่ดีมาก มีรายชื่อสนับสนุนเกือบ 60,000 รายชื่อ ขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจกำกับดูแลสื่ออย่าง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำลังพิจารณาร่างจริยธรรมรายการโทรทัศน์ที่ครอบคลุมถึงรายการข่าว รายการโทรทัศน์ และโฆษณา ซึ่งแน่นอนว่าการเลิกเผยแพร่ฉากข่มขืนล่อลวงก็รวมอยู่ในสาระสำคัญของร่างนั้นด้วย

ตัวอย่าง แคมเปญรณรงค์ที่น่าสนใจเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิสตรีบนเว็บไซต์ Change.org จากทั่วโลก เช่น แคมเปญเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมการซื้อ-ขายน้ำกรดในประเทศอินเดีย เพราะมีผู้หญิงโดนทำร้ายจากการสาดน้ำกรดเป็นจำนวนมาก

แคมเปญเรียกร้องให้ผู้หญิงได้รับโอกาสเล่นกีฬาแบบมืออาชีพ หรือที่เรียกว่าเทิร์นโปรในประเทศอิตาลี เพราะในหลายประเภทกีฬา (เช่น รักบี้ ฟุตบอล และบาสเกตบอล) จะจำกัดนักกีฬาเฉพาะเพศชายเท่านั้น

ยังมีแคมเปญเกี่ยวกับผู้หญิงที่น่าสนใจอีกมากมายบน Change.org ส่วนผู้ที่ต้องการสร้างเรื่องรณรงค์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิทธิสตรี สิทธิมนุษยชน สัตว์ สิ่งแวดล้อม การศึกษา การสื่อสาร การขนส่งมวลชน ฯลฯ สามารถเข้าไปสร้างเรื่องรณรงค์ได้ที่เว็บไซต์ https://www.change.org/start-a-petition

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook