ประกันสุขภาพสาวออฟฟิศ ป้องกันโรคยอดฮิตที่ทำงาน

ประกันสุขภาพสาวออฟฟิศ ป้องกันโรคยอดฮิตที่ทำงาน

ประกันสุขภาพสาวออฟฟิศ ป้องกันโรคยอดฮิตที่ทำงาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในยุคที่ผู้หญิงทำงานหนักเทียบเท่ากับผู้ชาย สาวๆ คงต้องเผชิญกับภาวะความเครียดที่เกิดจากการทำงาน การคิดงาน และพฤติกรรมต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการบั่นทอนสุขภาพ เช่น การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่มากกว่า 6 ชั่วโมง การนั่งประชุมติดต่อกันทั้งวัน การดื่มน้ำน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา เครียดจากแรงกดดันจากการทำงาน มลพิษทางเสียงจากการนินทาของเพื่อนข้างๆ แผนก

หากคุณสาวๆ มีอาการเริ่มปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ ได้แก่ หลัง ไหล่ บ่า แขน ข้อมือ อาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือ นั่นคืออาการเริ่มต้นที่ร่างกายแสดงออกของ “โรคออฟฟิศ ซินโดรม" ซึ่งอาการที่แสดงออกในเบื้องต้นอาจทำให้หลายคนชะล่าใจ หากเราปล่อยไว้นานวัน อาการจะทวีความรุนแรง ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้นะจ๊ะ


“โรคออฟฟิศ ซินโดรม ปวดคอ ไหล่ หลัง อันเนื่องจากการทำงาน”

อาการปวดโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากสาเหตุหลัก 3 ประการ คือ
1. อาการปวดที่เกิดจากกระดูกและข้อ โดยอาการปวดที่เกิดจากกระดูกและข้อ อาทิ ขยับแล้วมีเสียง กรอบแกรบ ขยับแล้วเจ็บเสียวแปลบๆ คอยื่นไปข้างหน้า หลังค่อม หลังทรุด กระดูกสันหลังคด กระดูกสันหลังแอ่นงอ
2. อาการปวดที่เกิดจากเส้นประสาท อาทิ กล้ามเนื้อไม่ค่อยมีแรง ชา กล้ามเนื้อกระตุก
3. อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อ อาทิ ปวดเมื่อย อ่อนล้า เพลีย ตึง ยึด ปวดขึ้นไปที่ขมับ กล้ามเนื้ออักเสบ พังผืดสั่งสมบริเวณกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ ร้าวขึ้นไปบริเวณขมับ ปวดไปที่กระบอกตา ซึ่งเข้าใจผิดว่าเป็นไมเกรน

กระดูกและข้อ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ทั้ง 3 หลักนี้ จะทำงานประสานกันอยู่ ซึ่งอาการต่างๆ หากปล่อยไว้นานอาจจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพได้ ซึ่งแนวทางการบรรเทาอาการมีตั้งแต่การกินยา ฉีดยา การผ่าตัด แต่เราสามารถป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศ ซินโดรมกับเราได้ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ ดังนี้


1.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 15-30 นาที
2. อย่านั่งห่อไหล่ อย่านั่งค่อม และเมื่อเกิดอาการปวดเมื่อย อย่าฝืนร่างกาย ให้เดินไปดื่มน้ำ สูดอากาศ หรือ เดินไปเข้าห้องน้ำ
3.จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม รวมถึงระดับของการตั้งคอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้องเหมาะสมกับการทำงาน
4. สาวๆ ที่ใส่รองเท้าส้นสูงควรใส่ไม่เกิน 2 นิ้ว หรือ 4-5 เซนติเมตร
5. หลีกเลี่ยงความเครียด หรือหากิจกรรมช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น นวดสปา สวดมนต์ นั่งสมาธิ

แต่หากสาวๆ ทำงานทั้งหลายไม่สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคออฟฟิศ ซินโดรมได้ เรามีอีกทางเลือกเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ด้วยประกันสุขภาพสำหรับผู้หญิงวัยทำงาน “AXA HAPPY CARE” สนใจลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ หรือโทรสอบถามที่เบอร์ 0-2118-8111




[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook