บาหลี สวรรค์นักช็อปปิ้ง โอเอซิสผู้ส่งออก

บาหลี สวรรค์นักช็อปปิ้ง โอเอซิสผู้ส่งออก

บาหลี สวรรค์นักช็อปปิ้ง โอเอซิสผู้ส่งออก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
โดย ภาวิณีย์ เจริญยิ่ง ชื่อเรื่องอย่างนี้ ใครเห็นก็ต้องนึกว่าไปย่ำบาหลีมาแน่ๆ เชียว แต่ขอบอกแค่ได้เห็นได้จับต้องสินค้าจากเมืองอิเหนาเท่านั้นเอง (ในงานบิ๊กเมื่อเร็วๆ นี้ที่เมืองทองธานี) ไม่ได้บินไปถึงที่นั่น อย่างไรก็ตาม ได้ยินได้ฟังพรรคพวกที่ขายงานไม้อยู่ที่สวนจตุจักรเล่ามานานนมแล้วว่า เขาไปนำสินค้าจากบาหลีมาขายจนรวยไม่รู้เรื่อง สามารถขยายกิจการได้ภายในเวลาไม่กี่ปี ยอมรับว่าแค่เห็นบรรดาผลิตภัณฑ์หลากหลายเมดอินบาหลีแล้วก็น้ำลายไหลอยากได้ไปตกแต่งบ้าน เพราะแต่ละชิ้นนอกจากจะสวยงามแล้วราคาก็ยังไม่แพง เรียกว่ามีเงินไม่กี่ร้อยก็ได้หลายชิ้น โดยเฉพาะบรรดาหน้ากากไม้สารพัด เขาตกแต่งด้วยสีฉูดฉาด ถึงขั้นต้องมองซ้ำแล้วซ้ำเล่า ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเหตุจูงใจให้ต้องสนทนากับเจ้าของกิจการ คุณคริสโตเฟอร์ คาร์สัน ผู้จัดการบริษัท สไปซ ไอส์แลนด์ จำกัด ชาวอเมริกัน ซึ่งทำธุรกิจที่บาหลีมาเกือบยี่สิบปี และเป็นขาประจำมาออกงานบิ๊กของไทยอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากออกงานแฟร์ที่ฮ่องกง และที่แฟรงก์เฟิร์ต นอกจากจะมีบริษัทส่งออกสินค้าบาหลีไปยังทั่วโลกแล้ว เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาเขาก็ตั้งบริษัทชื่อเดียวกันนี้ในประเทศไทยด้วย เพื่อส่งสินค้าเมดอินไทยแลนด์ประเภทกระเป๋าผ้า หรือโคมไฟ นั่นเพราะเขาเห็นช่องทางการเติบโตของสินค้าไทย ซึ่งสามารถกระจายไปได้ไม่ยาก สำหรับผลิตภัณฑ์ของบาหลีที่คุณคริสโตเฟอร์ค้าขายอยู่นั้นมีเป็นร้อยเป็นพันแบบ เขาเปรียบเทียบสินค้าของไทยกับของบาหลีว่า "ราคาของอินโดฯจะค่อนข้างถูกกว่า แต่ถ้าพูดถึงคุณภาพของไทยจะสูงกว่า โดยเฉพาะความละเอียดของงาน และสินค้าอะไรต่างๆ ของไทยค่อนข้างจะโตกว่าบาหลีอยู่แล้ว ที่อินโดฯนั้นงานฝีมือทุกอย่างจะมารวมกันที่บาหลี เหมือนที่เมืองไทยจะเป็นที่เชียงใหม่ แต่ในความเห็นของผม มองว่าจตุจักรมีสินค้าหลากหลายและครอบคลุมกว่า เพราะมีลูกค้าให้ไอเดียใหม่ๆ" สาเหตุสำคัญที่ทำให้สินค้าของอินโดฯถูกกว่าของไทยนั้น เพราะค่าแรงของที่นั่นถูกกว่า รวมถึงวัตถุดิบบางอย่างเช่นไม้ชนิดต่างๆ ซึ่งหนุ่มใหญ่ชาวอเมริกันคนนี้วิเคราะห์ว่าตลาดในไทยยังโตได้อีก อย่างที่บอกกลูกค้าของคุณคริสโตเฟอร์มีทั่วโลก แต่ตลาดใหญ่ที่สุดก็คืออเมริกาและอังกฤษ คุณคริสโตเฟอร์ทำธุรกิจอยู่บาหลีมานาน ถึงขั้นตั้งรกรากอยู่ที่นั่น "สินค้าประมาณ 50% อย่างพวกสร้อยคอมือ ลูกปัด หรือกระจก ซึ่งสั่งมาจากอเมริกาแล้วนำมาตกแต่ง ผมจะผลิตขึ้นมาเอง มีโรงงานอยู่ที่บาหลีมีคนงานอยู่ประมาณ 100-700 คน ส่วนสินค้าอื่นๆ รับซื้อมาจากกลุ่มต่างๆ แล้วจะมาดูว่าสินค้าตัวไหนที่จะไปได้ในปีนี้ จากนั้นมาทำแพ็กเกจจิ้งใหม่" เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายขึ้นในการทำธุรกิจส่งออก คุณคริสโตเฟอร์อธิบายด้วยการเขียนภาพปิระมิดให้ดู "พวกที่เขาส่งสินค้าเรามาเป็นสินค้าอุตสาหกรรมในครอบครัวหรือเป็นพวกเอสเอ็มอี แบบเมืองไทย ผมเองเป็นผู้ส่งออกก็อยู่บนยอดปิระมิด ที่เรียกว่าเป็น CO-ODINATE ส่วนซัพพลายเออร์แต่ละเจ้าก็จะคอยตรวจเช็คคุณภาพสินค้า ก่อนที่จะขึ้นมาถึงผมอีกทีหนึ่ง" ในฐานะที่อยู่ในวงการธุรกิจส่งออกมาถึง 18 ปี เลยอยากฟังความเห็นถึงนโยบายการส่งเสริมโอท็อปของรัฐบาลไทยคุณคริสโตเฟอร์วิจารณ์ตรงไปตรงมาว่า "ถ้าเทียบกับอินโดนีเซีย ของไทยสนับสนุนมากกว่า ซึ่งโอท็อปเป็นความคิดที่ดี แต่จะดีกว่านี้อีกถ้ารัฐบาลสนับสนุนให้ความรู้จริงๆ ว่าเรื่องการส่งออกคืออะไร การส่งออกที่สำคัญคือรายละเอียดด้านการจัดการเช่น เราสามารถระบุได้ว่าของสิ่งนี้เราจะบรรจุหีบห่อให้ลูกค้าอย่างไร ถุงหนึ่งกล่องหนึ่งมีกี่ชิ้น มีจำนวนกี่คิวบิกเมตรต่อตู้ อะไรอย่างนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่ว่าผู้ขายคนไทยมักจะไม่รู้อะไรตรงนี้เลย รวมถึงการทำรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าแต่ละตัว โดยมีบาร์โค้ด เพื่อสะดวกเวลาลูกค้าสั่ง" เป็นธรรมดาของการทำธุรกิจ ย่อมมีปัญหาอุปสรรค เขาเองก็เช่นกัน "ปัญหามันมีหลายหลากอย่างปัญหาที่ผมเจอเช่น เรื่องการควบคุมคุณภาพ เขาเช็คไม่ดี สินค้าไปถึงแล้วลูกค้าไม่พอใจ ตรงนี้เราก็ต้องคืนเงินให้หรืออย่างบางทีเวลาเราขนของเข้าตู้คอนเทนเนอร์ตอนเปิดตู้ฝนตกก็ไม่เป็นไร แต่พอไปถึงลูกค้าก็ขึ้นรา เกิดความเสียหายขึ้น" ก่อนจบบทสนทนาในวันนั้น เขาบอกว่า ตอนนี้คนไทยก็รับสินค้าจากบาหลีมาเยอะ อย่างที่ภูเก็ต แต่ถ้าใครอยากจะซื้อผ่านเขาติดต่อได้ที่ (662) 238-4523 แฟ็กซ์ (662) 2672436 หรือ E-mail : sails@spice-islands.co.th

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ บาหลี สวรรค์นักช็อปปิ้ง โอเอซิสผู้ส่งออก

บาหลี สวรรค์นักช็อปปิ้ง โอเอซิสผู้ส่งออก
บาหลี สวรรค์นักช็อปปิ้ง โอเอซิสผู้ส่งออก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook