ทารกแรกเกิดควรสวมเสื้อผ้าแบบไหน?

ทารกแรกเกิดควรสวมเสื้อผ้าแบบไหน?

ทารกแรกเกิดควรสวมเสื้อผ้าแบบไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด
คุณแม่ของน้องจูนและน้องบอย

Q1 : เด็กแรกเกิดควรให้อยู่ในห้องแอร์ หรือห้องธรรมดาดีคะ และจำเป็นต้องเลือกผ้าบางๆ สำหรับทารกเสมอไปหรือเปล่า? กลัวลูกจะเป็นผื่นคันง่าย แต่ก็กลัวลูกจะหนาวค่ะ

เด็กโตหรือผู้ใหญ่จะทนความหนาวเย็นได้ดีกว่าเด็กทารก จึงควรแต่งตัวให้เพียงพอหรืออุ้มกอดซึ่งถือเป็นการควบคุมอุณหภูมิได้ดีที่สุด สิ่งสำคัญคืออย่าวางทารกไว้ตรงตำแหน่งลมจากเครื่องปรับอากาศโดยตรง (ไม่ว่าจะเป็นแอร์หรือฮีทเตอร์) เพราะจะเกิดอันตรายกับเด็กจากอุณหภูมิที่เพิ่มลดอย่างรวดเร็ว ปัญหาที่พบได้บ่อย คือ พ่อแม่มักกังวลว่าลูกจะหนาวเกินไปจึงพยายามแต่งตัวให้หนาหลายชั้น และหากห้องนั้นอุ่นอยู่แล้วจะเกิดปัญหาผดผื่นร้อน หรืออาจเกิดอันตรายจนเกิดภาวะเสียชีวิตขณะนอนหลับ(SIDS) เนื่องจากร้อนเกินไป (overheating)



ในส่วนการเลือกเสื้อผ้าให้กับทารกนั้น มีคำแนะนำดังนี้

1. ผ้าห่อตัว – เด็กทารกบางคนชอบการถูกผ้าห่อตัวให้แน่นเพราะอาจรู้สึกเหมือนกับตอนอยู่ในมดลูกของแม่และเหมาะสำหรับเด็กที่เตะผ้าห่มกระจาย กรณีที่ต้องการใช้ผ้าพันห่อตัวลูกเพื่อให้สงบไม่ร้องไห้งอแงควรเลือกผ้าจากเส้นใยอะครีลิคหรือผ้าฝ้ายผสมกับโพลีเอสเตอร์ง่ายต่อการทำความสะอาดและไม่ก่อภูมิแพ้

2. เลือกชุดขนาด 3 – 6 เดือน - ทารกโตเร็วมากในขวบปีแรกจึงควรซื้อขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริงเด็กๆ ไม่จำเป็นต้องมีชุดหลากหลายเหมือนกับผู้ใหญ่ ชุดนอนก็เอามาใส่ตอนกลางวันได้ ควรมีเสื้อผ้า 3-4 ชุดไว้สลับสับเปลี่ยน

3. เลือกผ้าฝ้าย - เพราะระบายอากาศได้ดีเนื้อผ้าที่ใส่สบายคือผ้าฝ้าย 100% หากใส่ชุดที่คลุมฝ่าเท้าด้วย อย่าลืมตรวจดูตะเข็บด้านในว่ามีเส้นด้ายหรือเส้นผมติดอยู่หรือไม่เพราะอาจเกิดปัญหาพันรอบนิ้วเท้าลูกจนเจ็บปวดได้

4. หมวก - ในวันที่ต้องออกแดดควรใส่หมวกปีกกว้างที่มีสายรัดที่คางเพื่อป้องกันไม่ให้แสงแดดที่แรงเกินไปทำอันตรายกับผิวที่บอบบางของลูกในประเทศหนาวจำเป็นต้องใช้หมวกสวมที่ศีรษะของลูกให้อุ่นพอเพราะทารกสูญเสียความร้อนจำนวนมากทางศีรษะควรเป็นหมวกถักเพราะลูกยังหายใจได้หากหมวกเลื่อนลงมาปิดใบหน้า

สุดท้ายนี้แนะนำว่าอย่าเลือกเสื้อผ้าให้ลูกเพราะดูหรูหราสวยงามแต่ไม่สบายตัว ในประเทศที่อากาศหนาวต้องใส่หมวกขณะนอนเพื่อรักษาร่างกายให้อบอุ่นไม่ใส่หมวกที่ใหญ่เกินไปเพื่ออาจเลื่อนหลุดจากศีรษะมาปิดใบหน้าจนหายใจไม่ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook