อาหารธรรมชาติจากแม่สู่ลูก

อาหารธรรมชาติจากแม่สู่ลูก

อาหารธรรมชาติจากแม่สู่ลูก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อาหารคุณแม่, อาหารคนท้อง, ตั้งครรภ์ อาหารจานโปรดใดที่คุณอาจเผลอไผลแวบไปคิดถึง เพราะอยากลิ้มรสอันแสนอร่อยให้สุขใจ และเมื่อถึงเวลาจ่ายตลาดก็มักพบว่ายั้งใจตัวเองไม่ได้ เผลอตัวซื้อติดมือกลับมากินที่บ้านทุกที ลองนึกดูให้ดีๆ แล้วลองติ๊กคำตอบของโปรดที่อยากกินให้ตรงกับใจเลยนะคะ ขีด / ลงในรายการอาหารจานโปรดของคุณ ....... มักกะโรนี ....... พิซซ่า ....... มัฟฟิน ....... แฮม ....... พาสต้า ....... ขนมปังขาว ....... บิสกิต ....... พาย ....... สปาเก็ตตี้ ....... เค้ก ....... หมูหยอง ...... ช็อกโกแลต ....... โดนัท ...... น้ำชา ....... พุดดิ้ง ...... เบคอน ...... น้ำอัดลม ...... ลาซานญ่า ...... เฟรนช์ฟรายส์ ...... บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ...... แฮมเบอร์เกอร์ ...... ไก่ทอด ....... ข้าวโพดคั่ว ...... ไอศกรีม ..... ไส้กรอก ...... กาแฟ ...... ลูกชิ้น ...... ชีสเบอร์เกอร์ ..... คุ้กกี้ ...... ข้าวเกรียบทอด ...... ฮ๊อตด็อก ...... กล้วยทอด ...... แซนวิสใส่ชีส ...... สเต็กหมู ...... บาร์บีคิว ...... กุนเชียง อาหารคุณแม่, อาหารคนท้อง, ตั้งครรภ์ ความลับที่คุณอาจไม่เคยรู้ อาจกำลังกลืนกินชีวิตโดยไม่รู้ตัวทีละน้อย เพราะเบื้องหลังอาหารจานโปรดรสชาติถูกปาก มีความลับของการแปรรูปอันซับซ้อนซ่อนอยู่จนทำให้อาหารนั้นขาดคุณค่าทางโภชนาการ เพราะเหลือแต่แป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือมากเกินขนาด ซึ่งนอกจากจะทำให้คุณแม่ขาดสารอาหารแล้ว ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คุณแม่เกิดโรคเบาหวาน หัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด มะเร็ง และโรคอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ที่ห้ามใจตัวเองได้ ไม่กินอาหารดังกล่าว ส่วนท่านที่ยังกินอยู่เพราะอดใจไม่ไหว ขอเป็นกำลังใจให้พยายามควบคุมอาหารเหล่านี้ให้ได้ค่ะ การกินอาหารที่ผ่านการแปรรูปมักทำให้เกิดโรคต่างๆง่าย โดยเฉพาะเบาหวาน ถ้าแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายลูกได้รับน้ำตาลเกินปกติ ทำให้ลูกอ้วน เกิดปัญหาคลอดยากได้ แถมร่างกายลูกยังถูกกระตุ้นให้สร้างอินซูลินมากเกินขนาด เมื่อใดที่คุณแม่กินน้อย ลูกก็จะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจนเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ง่าย คิดถึงการทำงานของหัวใจลูก คิดถึงภาวะขาดอาหารของแม่ จากงานวิจัยพบว่าภาวะขาดสารอาหารของแม่ ทำให้ลูกมีความเสี่ยงที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นโรคต่างๆในอนาคตได้ โดยเมื่อแม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย ลูกในท้องก็พยายามเอาอาหารเข้าร่างกายตัวเองมากขึ้น ทำให้หัวใจลูกต้องทำงานหนักขึ้น ขณะเดียวกันแม้ร่างกายลูกจะทำงานหนักขึ้น แต่สารอาหารที่ร่างกายได้รับกลับไม่เพียงพอ ทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเติบโตไม่ดี ไม่สมบูรณ์แข็งแรง ดังนั้นหลังคลอด หัวใจลูกก็จะปัญหา และเสื่อมสภาพเร็ว ส่งผลให้กลายเป็นโรคหัวใจ โรคความดันเลือดสูง และโรคเบาหวานได้ง่ายขึ้นด้วย Short note Nutrient คุณแม่ควรปรุงอาหารเอง ถ้าทำไม่ได้ทุกวัน ลองทำในวันหยุด สร้างความรู้สึกสนุกกับการทำครัว เริ่มตั้งแต่คิดเมนู จ่ายตลาดซื้อเครื่องปรุงที่สดใหม่ ดัดแปลงสูตรอาหารให้แปลกใหม่บ้าง แต่ยังทรงคุณค่าอาหาร ส่วนอาหารที่กินเหลืออาจแช่ไว้บ้างถ้าเสียดาย แล้วค่อยนำมาอุ่นกินในยามที่เหนื่อยจากงานมาแล้วเข้าครัวไม่ไหวจริงๆ อาหารคุณแม่, อาหารคนท้อง, ตั้งครรภ์ กินอาหารธรรมชาติ เพิ่มคุณค่าโภชนาการ โภชนาการที่ดีเสมือนเกราะป้องกันโรคให้ลูกในอนาคต คุณแม่ควรกินอาหารสดใหม่จากธรรมชาติให้มาก ความตั้งใจอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องใช้ความอดทนด้วย ไม่ว่าจะอยากกินเพียงใด แต่ถ้าดูแล้วมีแต่แป้ง น้ำตาล ไขมัน เกลือ ต้องหลีกเลี่ยงให้ได้เพื่อลูกในท้อง แล้วหันมาปกป้องร่างกายให้ห่างไกลจากมลพิษ สารเคมี หรือสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ที่มาจากอาหาร ด้วยการเข้าสู่วิถีธรรมชาติให้ร่างกายสะอาดมากที่สุด Do * กินอาหารออร์แกนิค หรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่สด สะอาด ซึ่งเป็นอาหารธรรมชาติที่ไม่ผ่านการแปรรูป ปลอดจากสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง * กินพืชผักสีเขียวให้ได้ทุกวัน เพราะสีเขียวนั้นก็คือคลอโรฟีล ซึ่งเป็นสารที่ช่วยสร้างโลหิตแดง ควบคุมความดันโลหิต ลดน้ำตาล ช่วยรักษาแผลให้หายเร็ว * กินข้าวซ้อมมือ ผักผลไม้ เมล็ดพืช อาหารที่มีไขมันต่ำ อาหารที่ยังสดและใหม่ * ล้างผักและผลไม้ให้สะอาด และควรดึงใบชั้นนอกทิ้งก่อน ปรุงผักให้สุกเพียงเล็กน้อย * เลือกทำอาหารที่ผ่านการนึ่งดีกว่าอาหารที่ผ่านการต้ม และการทอด โดยเฉพาะการทอดด้วยไฟร้อนจัด * กินโปรตีนจากพืชชนิดต่างๆ เช่น ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วฝักสด และเมล็ดพืช ซึ่งมีคุณค่าเทียบเท่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และมีข้อดีตรงที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีเส้นใยอาหาร และไม่มีไขมันอิ่มตัว * กินขนมปังชนิดที่ทำจากธัญพืช เช่น โฮลวีต หรือน้ำตาลที่ไม่ได้ผ่านการฟอก * ดื่มน้ำกรองหรือน้ำบรรจุขวดดีกว่าการดื่มน้ำประปาโดยตรง Don’t * งดของหวาน ของกินเล่นจุกจิก เครื่องดื่มชา กาแฟ ถ้าอดไม่ไหวจริงๆ ควรเลือกอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ ชาหรือกาแฟที่ปราศจากคาเฟอีน * หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ อาหารแปรรูปที่ผ่านการกรรมวิธีการผลิตที่ซับซ้อน อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่ไม่สะอาด อาหารที่เจือสีหรือสารกันบูด ขัณฑสกร หรือสารเจือปนต่างๆ * หลีกเลี่ยงข้าวที่ขัดสีจนขาว ขนมปังขาวทุกชนิด อาหารที่มีสารเคมี อาหารกระป๋อง อาหารสุกๆ ดิบๆ ไข่ดิบ อาหารค้างคืนบูดเสีย * หลีกเลี่ยง เช่น น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีฟอง ขนมพุดดิ้งหวาน เค้ก อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารที่มีไขมัน เกลือและอาหารรสเค็ม * หลีกเลี่ยงอาหารที่ขัดสีจนขาว เช่น ข้าวสาร น้ำตาลทราย มักถูกทำให้ขาวสะอาดจนส่วนประกอบที่มีคุณค่าหายไป ทำให้ไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากแคลอรีที่เพิ่มขึ้น กระบวนการขัดสีในการผลิตข้าวสาร แป้ง และน้ำตาล ทำให้สูญเสียเส้นใยและวิตามินไป 5 วิถีธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมร่างกายสะอาด 1. หลีกเลี่ยงภาชนะหุงต้ม หรือใส่อาหารที่ทำจากทองแดง อะลูมิเนียมจากกระทะ อะลูมิเนียมฟอยล์ที่ใช้ห่ออาหาร ผงชูรส ซึ่งเป็นต้นเหตุของการสูญเสียเกลือแร่ในระยะยาว และทำลายวิตามินหลายชนิดที่อยู่ในร่างกาย บางรายที่แพ้อาจมีอาการปวดหัว มึน ริมฝีปากบวม 2. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น การใช้น้ำยาทำความสะอาด ยาระงับเกลิ่นเหงื่อ ยาฆ่าแมลง 3. ตรวจดูผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้าน เพื่อความปลอดภัยควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัตถุธรรมชาติ ไม่มีสารเคมี 4. ไม่ควรขับรถเข้าไปในที่ที่มีการจราจรหนาแน่น ถ้าจำเป็นควรดูให้ดีว่าปิดกระจกหน้าต่างรถสนิทแล้ว 5. ไม่ยืนใกล้ด้านหน้าเตาไมโครเวฟขณะกำลังใช้งานอยู่ Short note Nutrient เมื่อออกจ่ายตลาดควรเลือกอาหารที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เลือกอาหารที่สดที่สุด เช่น ผลไม้ ควรซื้อตามฤดูกาล เลือกผลไม้ที่มีผิวเต่งขั้วไม่แห้งเหี่ยว เนื้อสัตว์ ปลาควรซื้อจากร้านที่เชื่อถือได้ว่าสะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่เป็นพิษต่อร่างกาย รองลงมา คือ อาหารที่แช่ไว้ในตู้เย็น หลีกเลี่ยงอาหารบรรจุกระป๋อง ทั้งผักสดและผลไม้ ควรระวังสารเคมี ยาฆ่าแมลงที่ตกค้าง ล้างให้สะอาดก่อนกินทุกครั้ง ถ้าไม่มีเวลาไปจ่ายของที่ตลาด หลีกเลี่ยงอาหารบรรจุกระป๋องทุกชนิด อ่านฉลากอาหารทุกครั้งที่เลือกซื้อเพื่อดูส่วนประกอบ และคุณประโยชน์ที่จะได้รับ รวมทั้งสารต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ อาหารธรรมชาติจากแม่สู่ลูก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook