การติดต่อของเชื้อนิวโมคอคคัส (โรคไอ พี ดี)

การติดต่อของเชื้อนิวโมคอคคัส (โรคไอ พี ดี)

การติดต่อของเชื้อนิวโมคอคคัส (โรคไอ พี ดี)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ช่องทางการติดต่อ เชื้อนิวโมคอคคัสนั้นจะพบได้ทั่วไปในผู้ใหญ่และในเด็กเล็กแม้ว่าจะมีสุขภาพแข็งแรงดีก็ตาม โดยพบได้ที่โพรงจมูกและลำคอซึ่งอาจไม่มีอาการใดๆ(เป็นพาหะ)ค่ะ แต่จะแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ง่าย โดยการไอ หรือ จาม ทำให้ละอองเสมหะหรือน้ำมูกแพร่กระจายออกไป ซึ่งเป็นการแพร่กระจายคล้ายกับโรคหวัดนั่นเองค่ะ ฉะนั้นเด็กเล็กที่ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอก็อาจติดเชื้อได้ค่ะ ลักษณะการติดเชื้อและอาการที่แสดงออก เชื้อนิวโมคอคคัส เป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในหลายๆ ระบบของร่างกาย และระดับความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ ปริมาณของเชื้อ และความแข็งแรงของร่างกาย ซึ่งี่พบได้บ่อยๆคือ การติดเชื้อในกระแสเลือด เด็กจะมีไข้สูง ร้องกวน งอแง อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ช็อก เสียชีวิต นอกจากนี้เชื้ออาจกระจายไปสู่อวัยวะอื่นๆ เช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบ ปอด กระดูก และข้อ เป็นต้น การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่นหูน้ำหนวก เด็กจะมีอาการไข้สูง ปวดหู งอแง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การติดเชื้ออาจลุกลามไปที่อวัยวะข้างเคียงหรือสมองได้และสามารถเกิดหูน้ำหนวกเรื้อรัง แก้วหูทะลุ การได้ยินบกพร่องซึ่งมีผลต่อการพัฒนาการของเด็กด้วย การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอดอักเสบเด็กจะมีอาการไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบ ซึ่งอาจรุนแรง ถึงขั้นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และเสียชีวิตได้ถ้ได้รับการรักษาล่าช้า การติดเชื้อในระบบประสาท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบเด็กจะมีอาการไข้สูง ปวดศรีษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็งหากเกิดกับเด็กทารกจะวินิจฉัยได้ยาก อาจมีอาการงอแง ซึม ไม่กินนม และชักได้ ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีอาจเสียชีวิตหรือพิการ หูหนวก หรือปัญญาอ่อน ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจากโรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ การติดต่อของเชื้อนิวโมคอคคัส (โรคไอ พี ดี)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook