คุยเฟื่องเรื่องหลังคลอด

คุยเฟื่องเรื่องหลังคลอด

คุยเฟื่องเรื่องหลังคลอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เก้าเดือนของการรอคอยสิ้นสุดลงแล้ว ทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดีคุณได้รับการดูแลอย่างดีจากแพทย์ พยาบาล ญาติมิตรที่มาแสดงด้วยความยินดี วันเวลาในโรงพยาบาลช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วเหมือนจฝัน เอาละค่ะ ถึงเวลาจัดกระเป๋าเก็บของกลับบ้านแล้ว คราวนี้คุณจะเริ่มมีคำถามมากมายในความคิด แล้วเริ่มตื่นตระหนกว่าเราจะไปหาคำตอบที่ไหนดีล่ะเนี่ย ฉบับนี้ เราจะมาคุยกันถึงเรื่องของสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นกับคุณในช่วงหกอาทิตย์แรกหลังคลอดจะได้เตรียมตัวรับมือก่อนล่วงหน้าได้ไง ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี คือกุญแจสำคัญในการให้นมแม่ได้สำเร็จ วันแรกๆ ทารกยังไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากมาย เพราะยังมีอาหารสะสมจากในท้องแม่ ไม่ต้องกังวลว่าน้ำนมจะไม่พอให้ลูก กระเพาะหนูยังเล็ก แค่สองช้อนชาก็เต็มกระเพาะหนูแล้ว ถ้ารีบให้เกินกว่านั้น กระเพราะหนูอาจจะกางเกินกว่าความจำเป็นได้จ้า......... น้ำคาวปลา(Lochia) การให้นมแม่แก่ลูกจะทำให้ร่างกายหลังสารอ็อกซิโทซิน ซึ่งจะลดปริมาณน้ำคาวปลาและช่วยให้มดลูกหดตัวเร็วขึ้น น้ำคาวปลาจะเป็นสีคล้ำในวันที่ 4 และลดปริมาณลงเรื่อยๆ และไม่ควรมีกลิ่นผิดจากประจำเดือนธรรมดา หากมีอาการผิดปกติให้รีบปรึกษาแพทย์ มดลูกหดตัว คุณอาจจะรู้สึกว่ามดลูกหดตัวในระหว่างการให้นม ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ จะรู้สึกมากในอาทิตย์แรก และจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ รู้สึกคัดหน้าอก เนื่องจากเริ่มมีการผลิตน้ำนมในช่วงนี้ ถือเป็นระยะที่คุณและลูกกำลังพยายามที่จะจัดระบบการให้นมลูกอยู่ ถ้าคุณแม่กลัวเจ็บและหยุดให้นมลูก ก็จะทำให้หน้าอกยิ่งคัดเพิ่มขึ้นค่ะ บางครั้งลูกจะหงุดหงิดเมื่อดูดนมจากหน้าอกที่คัด เพราะอมลานนมไม่สะดวก ในกรณีเช่นนี้ ให้บีบน้ำนมออกก่อนเพื่อลดอาการคัด แล้วจึงให้ลูกดูดนมค่ะ เจ็บหัวนม อย่าลืมว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังวางรากฐานของการให้นมแม่อยู่ เพราะฉะนั้น พยายามให้นมลูกสองเต้าทุกครั้งที่ให้นม อาจจะสลับกันข้างล่ะ 5 นาที ในช่วงแรกๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลานานจน ถึงข้างล่ะ 15 นาที แล้วจึงเริ่มการให้นมด้านใดด้านหนึ่ง การกระทำเช่นนี้จะช่วยให้หัวนมทนการดูดของลูกได้ดีขึ้น สำหรับกรณีหัวนมแตก ให้เริ่มให้นมข้างที่ไม่เจ็บก่อน เพราะช่วงแรกลูกจะดูดแรงเนื่องจากความหิว แล้งจึงสลับไปให้ด้านที่เจ็บในภายหลัง แต่ขอให้จัดท่าให้ถูกต้องเพื่อช่วยลดอาการเจ็บ สำหรับหัวนมที่แตกนั้น มีวิธีดูแลแบบง่ายๆและแสนจะเป็นธรรมชาติแต่ได้ผลดี คือการบีบน้ำนมแม่นี้แหละค่ะ ทาไว้รอบๆ หัวนมแล้วผึ่งให้แห้ง ไม่ควรปิดไว้ให้อับเพราะจะทำให้หายช้า ไม่ควรใช้ผลิตภันฑ์ที่มีสารจากปิโตรเลียม หรือวาสลิน เวลาอาบน้ำ ล้างด้วยน้ำธรรมดาไม่ต้องล้างด้วยสบู่เพราะจะทำให้หัวนมที่แห้งยิ่งแตกกันไปใหญ่ รับประทานอาหาร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพิ่มขึ้นประมาณ 500 แคลลอรี่ในกรณีที่น้ำหนักตัวปกติ ถ้าคุณน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ก็อาจจะต้องเพิ่มจำนวนแคลอรี่ พยายามเพิ่มสารอาหารจำพวกโปรตีนและแคลเซียม เพราะมีความจำเป็นต่อการผลิตน้ำนม ดื่มน้ำประมาณ 8-10 แก้ว รวมทั้งน้ำซุป นม และน้ำผลไม้ ลูกมีแก๊ส เนื่องจากช่วงแรกระบบย่อยของเด็กทารก ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงมีแก๊สอยู่เสมอ บางคนอาจจะเข้าใจว่าลูกเป็นโคลิก พยายายมสังเกตอาหารที่คุณรับประทานว่าทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายท้องหรือเปล่า อาหารที่มีแก๊สส่วนใหญ่จะเป็นพวกผักดิบ กระหล่ำปลี หอม กระเทียม อาหารนม และช็อคโกแล็ต หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกคาเฟอีน และแอลกอฮอล อาการเหนื่อย เป็นเรื่องปกติของครอบครัวที่มีสมาชีกใหม่ เพราะลูกอาจยังดูดนมถื่และตื่นบ่อย ยังนอนไม่เป็นเวลา เพราะกำลังปรับตัวเข้ากับโลกใหม่ของเขาคุณแม่อาจจะหาเวลานอนตอนลูกนอน หรือให้คุณพ่อช่วยดูลูกไปก่อน เพราะถ้านอนไม่พอก็จะมีผลต่อการผลิตน้ำนม เรื่องงานบ้าน หรือการสังสรรค์อาจจะปล่อยวางไปบ้างก็ไม่ว่ากันค่ะพอร่างกายปรับได้แล้วก็จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น หากท้องผูก พยายามอย่าทานยาช่วยถ่าย เพราะจะไปถึงลูกด้วยนะคะ ลองทานอาหารประเภทผักผลไม้ช่วยดีกว่า ถ้าจำเป็นต้องทานยาให้ปรึกษาแพทย์ทุกครั้งและอย่าลืมระบุด้วยว่ายังให้นมลูกอยู่ อารมณ์ซึมเศร้าหลังคลอด เป็นเรื่องปกติ พยายามคุยกับคุณพ่อถึงเรื่องนี้ใว้ก่อนและบอกให้คอยให้กำลังใจด้วย อย่าเข้าใจว่าเป็นเรื่องส่วนตัว คุณพ่อจะได้เตรียมตัวรับมือได้ถูก สำหรับตัวคุณแม่ก็พยายามให้คุณพ่อดูแลลูกบ้าง อาจจะออกไปเดินเล่นพร้อมกัน อย่าปฏิเสธความช่วยเหลือจากคนอื่น คุยกับคุณแม่คนอื่นๆบ้าง (เราไม่ได้อยู่ในสภาพการณ์เช่นนี้คนเดียว) ทานอาหารนอกบ้านและอย่าลืมดูแลตัวเองด้วยนะคะ ก่อนคุณพ่อออกไปทำงานฝากดูลูกก่อน ในขณะที่คุณจะได้มีเวลาแต่งหน้าแต่งตัวให้สดชื่น เรื่องคำแนะนำที่แตกต่างกัน จากคนรอบข้างที่ผู้ปรารถนาดีเป็นเรื่องปกติค่ะ แทนที่จะรู้สึกหงุดหงิดหรืออึดอัด ให้รู้สึกดีเถอะค่ะ ว่ามีคนรักและห่วงลูกเราและตัวเราเยอะแยะ หากคำแนะนำต่างจากสิ่งที่คุณเชื่อ อย่าเพิ่งถกเถียงไป เงียบใว้เก็บมาคิดดู หากมีโอกาสก็ค่อย ๆ อธิบายเหตุผลของคุณ เรื่องการเลี้ยงลูกมีหลายทางเลือกไม่มีอะไรที่ถูกที่สุด และผิดที่สุดหรอกค่ะ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ความสะดวกใจของคุณ ท้ายที่สุดลูกคนนี้ก็ลูกของคุณการตัดสินใจเลือกอะไรให้ลูกอยู่ที่ตัวคุณเอง หากคุณมั่นใจว่าได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดกับเขาแล้ว เวลาจะเป็นสิ่งพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นค่ะ ทำตัวให้สบายคลายเครียด เมื่อกลับถึงบ้านพยายามหามุมสงบพิเศษสำหรับคุณและลูกในช่วงให้นม ดูมุมที่ทีบรรยากาศสบายๆ ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป มีเพลงฟังให้สบายอารมณ์ หาโต๊ะเล็กๆพร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ อาทิ สำลีชุบน้ำต้มสุก กระดาษทิชชู น้ำดื่มสำหรับคุณแม่ หมอนหนุนแขน ถังขยะเล็ก ๆ ฯลฯ มาวางใว้ในระยะเอื้อมมือถึง มีที่ให้คุณพ่อมานั่งให้กำลังใจ คอยจับมือลูก เพราะเวลาให้นมเป็นเวลาพิเศษสำหรับครอบครัว พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนต่าง ๆ นี่เป็นเพียงบางเหตุการณ์บางความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นในช่วงแรกๆ ในระยะหลังคลอด ซึ่งเป็นระยะเวลาที่คุณกับลูกน้อยเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และเป็นรากฐานสำคัญสำหรับความสัมพันธ์ อันแนบแน่นของครอบครัวใหม่ แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายแต่จะประทับรอยยิ้มใว้ใจหัวใจคุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ลืม ขอบคุณข้อมูลจาก จุลสาร สายธารรัก กลุ่มนมแม่

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ คุยเฟื่องเรื่องหลังคลอด

คุยเฟื่องเรื่องหลังคลอด
คุยเฟื่องเรื่องหลังคลอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook