เลี้ยงจนลูกไม่รู้จักโต

เลี้ยงจนลูกไม่รู้จักโต

เลี้ยงจนลูกไม่รู้จักโต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
จากหนังสือเรื่อง Emotional Intelligence: Why It Can Matter More Than IQ ซึ่งเขียนโดยแดเนียล โกลแมน ผู้เขียนได้อ้างผลการศึกษาของเจโรม เคแกน เรื่องเด็กที่เป็นโรคขี้กลัวโดยธรรมชาติ เขาพบว่าเด็กขี้กลัวที่ถูกเลี้ยงอย่างประคบประหงม ยุงไม่ให้ไต่ไรไม่ให้ตอม มีแนวโน้มที่จะโตเป็นผู้ใหญ่ที่ขี้ขลาด ในทางตรงกันข้ามแม่ที่เลี้ยงลูกโดยให้ลูกได้มีโอกาสเผชิญกับสิ่งท้าทาย และแก้ปัญหาด้วยตนเองทีละเล็กทีละน้อย จะสามารถพัฒนาให้ลูกเป็นคนที่ไม่ขลาดกลัวในภายหลัง ผลการศึกษาข้อนี้ท้าทายความเชื่อเดิมของพ่อแม่ชาวอเมริกันหลายคนในยุคนี้ที่เชื่อว่า ควรปกป้องลูกให้พ้นจากความทุกข์ยากในชีวิต แต่ในความจริง เด็กที่ขี้กลัวขี้ตกใจโดยธรรมชาติ ก็มีโอกาสพัฒนาตนเองให้กล้าขึ้นได้ หากพ่อแม่สนับสนุนให้เอาชนะความกลัวเหล่านั้น เลี้ยงจนลูกไม่รู้จักโต เป็นคำที่นักจิตวิทยาใช้เรียกลักษณะการเลี้ยงลูกที่หลายท่านพอจะทราบกันอยู่บ้างแล้ว หรือบางคนอาจเรียกง่ายๆว่า เลี้ยงลูกเป็นเด็กอมมือ ในปัจจุบันนี้มีภาวะครอบครัวล่มสลาย และเด็กถูกทอดทิ้งเกิดขึ้นทั่วไป พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงมองว่าเรื่องเหล่านี้ไม่น่าจะเป็นปัญหาใหญ่ แต่เราก็คงหลีกหนีความจริงไม่พ้น ปัจจุบันมีเด็กอเมริกันจำนวนมากที่เขียนหนังสือไม่จบประโยค แล้วเราจะหวังให้เขาแต่งและพิมพ์เรียงความห้าหน้าให้ถูกทั้งหลักไวยากรณ์และการเว้นวรรคตอนได้อย่างไร เด็กหลายคนที่ออกจากบ้านเมื่ออายุยี่สิบเศษยังใช้เครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าไม่เป็น รวมทั้งไม่รู้วิธีทอดไข่ รีดเสื้อ หรือเขียนเช็ค นอกจากนี้ ผู้ชายอเมริกันอายุรางยี่สิบห้าถึงยี่สิบแปดปีที่ยังไม่ยอมแยกบ้านก็มีจำนวนสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง อาจสูงถึงประมาณสามสิบเปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว หนำซ้ำหลายคนยังไม่ยอมจ่ายค่าเช่าบ้าน หรือแม้แต่จะช่วยงานบ้าน ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษ 1970 สมัยที่ผู้เขียนยังทำงานอยู่ในโรงเรียนสาธิตอนุบาลของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เราได้สังเกตพบแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง เด็กอายุสามหรือสี่ขวบบางคนพอวาดเขียนหรือทำการบ้านไปได้ครู่เดียว ก็จะหยุดมือเพื่อรอรับคำชมจากครูทุกๆ เส้นที่วาดหรือทุกๆบรรทัดที่เขียน เมื่อสอนได้ระยะหนึ่ง เราก็ได้รู้ว่าพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้ชมเชยและให้รางวัลเด็กแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เด็กทำได้ซึ่งอาจกระทำไปโดยเจตนาดี หรืออาจกำลังหลงใหลกระแสเรื่องความรักและนับถือตนเองอย่างมาก จึงไม่ต้องการให้ลูกขาดความรักและนับถือตนเอง อันที่จริงแล้วการให้แรงเสริมทางบวกมากเกินไปอาจก่อให้เกิดผลในทางตรงข้าม เด็กจะยึดติดกับของรางวัลหรือคำชมเชยยจากบุคคลอื่นจนแทบจะไม่ยอมทำอะไรถ้าไม่ได้รับคำชม ภาวะเช่นนี้อาจทำให้เด็กรักและนับถือตนเองน้อยลงๆทุกทีจนถึงขั้นอันตราย ในหนังสือ Smart parenting: Hoe to Parent so Children Will Learn แต่งโดย ดร.ซิลเวีย ริมม์ ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั่วสหรัฐอเมริกา เธอได้กล่าวถึงเด็กที่ต้องพึ่งพาคนอื่นตลอดเวลาเพราะถูกเลี้ยงดูแบบประคบประหงมว่า สามารถมีอิทธิพลต่อคนรอบข้างได้ เพราะทุกคนต่างก็ใจดีและห่วงใยในตัวเด็กอยู่แล้ว เมื่อประกอบกับเครื่องแสดงออกซึ่งอำนาจของเด็ก (น้ำตาและการเรียกร้องการเห็นใจ) จึงยิ่งเย้ายวนให้พ่อแม่และครูพากันปกปเด็กต่อไป โดยไม่ทันรู้ตัวว่ากำลังตัดโอกาสเด็กในการจัดการกับสิ่งท้าทายในชีวิต ทว่าพ่อแม่ทุกคนล้วนแต่มีเจตนาดี การเลี้ยงลูกเป็นงานหนักที่ไม่มีใครเคยได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้องเต็มรูปแบบ แต่การชมเชยและให้รางวัลเด็กในทุกเรื่องเล็กๆที่เด็กทำนั้นไม่ได้ช่วยอะไร กลับจะทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาโดยไม่รู้จักรสชาติของการดิ้นรนเพื่อความสำเร็จ ในทศวรรษ 1960 วอลเตอร์ มิชเชล นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำงานวิจัยชิ้นสำคัญเรื่อง การชะลอการทำตามความประสงค์ของเด็ก (Delay of Gratification in Children) ซึ่งเขาค้นพบว่า เด็กอายุสี่ขวบที่คว้าขนมไปกินทันทีที่มีคนให้ กับเด็กที่ยอมอดใจรออีกนิดเพื่อให้ได้ขนมมากชิ้นขึ้น จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีลักษณะแตกต่างกันมาก เมื่อถึงช่วงวัยรุ่น คนที่สามารถชะลอการทำตามความประสงค์ได้จะอดทนรอได้ดีกว่า ประสบความสำเร็จสูงกว่า และสามารถปรับตัวทางอารมณ์และทางสังคมได้ดีกว่า มีปัญหาน้อยกว่า มีคนรักและมีความสุขมากกว่าคนที่ตอนเป็นเด็กไม่ยอมทนรอเพื่อรับขนมมากๆชิ้น นับว่าผลการวิจัยของมิชเชลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง บทความจากหนังสือ 7 วิธีร้ายทำลายลูก : สนพ.นานมีบุ๊คส์

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ เลี้ยงจนลูกไม่รู้จักโต

เลี้ยงจนลูกไม่รู้จักโต
เลี้ยงจนลูกไม่รู้จักโต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook