รู้และเข้าใจ “วัยทอง” ของผู้หญิง

รู้และเข้าใจ “วัยทอง” ของผู้หญิง

รู้และเข้าใจ “วัยทอง” ของผู้หญิง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พอพูดถึง “วัยทอง” ผู้หญิงทุกคนแทบจะอยากหยุดเวลาเอาไว้ ไม่อยากก้าวเข้าสู่การเป็นวัยทอง. . . แล้วทำไมเราจะต้องกลัวขนาดนั้น วัยทอง...จะทำให้เราต้องเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน มาทำความเข้าใจ

พร้อมๆ กันเลยค่ะวัยทอง คืออะไร ?

“วัยทอง” ก็คือช่วงอายุหนึ่งของชีวิต เป็นวัยที่รังไข่สร้างฮอร์โมนออกมาน้อยและไม่สม่ำเสมอทำให้มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ วัยทองรังไข่ทำงานน้อยลงทำให้สร้างฮอร์โมนออกมาน้อยลง ทำให้บางท่านอาจจะมีประจำเดือนมากขึ้นบางคนน้อยลง บางคนประจำเดือนห่างบางคนก็มาถี่ ฮอร์โมนนี้จะช่วยในการมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกระดูก ลดระดับ Cholesterol

วัยทอง เริ่มอายุเท่าไหร่ ?

ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่30 ปีขึ้นไปจน 50ปีสามารถเกิดวัยทองได้ โดยเฉลี่ยคืออายุ 51 ปี สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ตัดรังไข่ก็สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่

วัยทอง มีอาการแบบไหน ?

- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเช่นมาเร็ว มาช้า มามาก มาน้อย มานาน

- มีอาการร้อนตามตัว หรือมีเหงื่อออก และหนาวสั่นในเวลากลางคืน อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที

- มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือปวดตามข้อและกระดูก ไปจนถึงปวดศีรษะ ความจำลดลง

- มีอาการนอนหลับยาก ตื่นเร็ว อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก

- มีอาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เร็ว เครียดง่าย หงุดหงิดโดยไม่มีสาเหตุ โกรธง่าย ใจน้อย ควบคุมอารมณ์ได้ยาก บางคนหลงลืมง่าย เวียนศีรษะ ซึมเศร้า

- เส้นผมจะหยาบและบางลง หลุดร่วงง่าย รวมไปถึงผิวหนังก็จะบางและแห้งลงด้วย เกิดอาการแพ้ได้ง่าย

- รูปร่างจะเปลี่ยนไป เอวหนาขึ้น ไขมันเพิ่มขึ้น

- การคุมกำเนิด ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปีหลังประจำเดือนครั้งสุดท้ายผู้ป่วยบางคนจะมีความรู้สึกทางเพศลดลงแต่บางรายมีความรู้สึกทางเพศสูงขึ้น

- ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับ estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลงผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะร่วมเพศ และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น อาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอ วัยทอง ต้องรับมืออย่างไร ?

- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเน้นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม โยเกิร์ต พืชตระกูลถั่ว เต้าหู้ งาดำ ปลาเล็กปลาน้อยที่รับประทานพร้อมก้าง ผักใบเขียว เป็นต้น

- งดรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และเลือกรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะๆ เต้นรำ รำมวยจีน เต้นแอโรบิค

- ฝึกการควบคุมอารมณ์ให้มีความคิดในทางบวก และทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน

- ตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ปีละ 1 ครั้ง ตรวจเช็คความดันโลหิต ตรวจเลือดหาระดับไขมัน ตรวจภายใน เช็คมะเร็งปากมดลูก ตรวจหามะเร็งเต้านม และตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก เป็นต้น

- ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ รวมไปถึงการเลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์

ติดตามคอลัมน์อื่นๆ เพิ่มเติม ดาวน์โหลดนิตยสารในเครือจีเอ็มได้แล้วที่   

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook