4 เรื่องกังวลใจที่พ่อแม่ไม่กล้าพูดกับเราตรงๆ

4 เรื่องกังวลใจที่พ่อแม่ไม่กล้าพูดกับเราตรงๆ

4 เรื่องกังวลใจที่พ่อแม่ไม่กล้าพูดกับเราตรงๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     Sanook! เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า พอลูกเรียนจบ มีงานทำเป็นหลักเป็นฐาน คนเป็นพ่อแม่ก็หมดเรื่องกังวล เพราะเหมือนได้ทำหน้าที่ของตัวเองเต็มที่แล้ว

     แต่เอาเข้าจริง เราคิดว่าความกังวลของคนเป็นพ่อเป็นแม่ไม่ได้จบที่เรื่องแค่นั้นหรอก เพราะถึงจะหมดกังวลเรื่องลูก แต่ก็มีความกังวลใหม่ๆ เข้ามาตามวัยที่เพิ่มขึ้น เพียงแต่พ่อแม่อาจจะเลือกเก็บความไม่สบายใจนี้เอาไว้กับตัวเพราะกลัวจะโดนมองว่าถ้าบอกออกไปจะสร้างความหนักใจให้กับลูกด้วย

     ถ้าเป็นแบบนี้ คงต้องเป็นหน้าที่ของลูกที่อยู่ในวัยทำงานอย่างเราแล้วล่ะที่จะต้องพยายามทำความเข้าใจพ่อแม่ที่เข้าสู่วัยสูงวัยและเดาใจท่านให้ออกว่า ความกังวลใจในชีวิตของคนวัยใกล้เกษียณหรือเกษียณแล้วคืออะไร ก่อนที่ความกังวลนั้นจะสะสมใหญ่ขึ้นจนบั่นทอนจิตใจของคนที่เลี้ยงเรามา และอาจลุกลามไปบั่นทอนสุขภาพด้วย

     ทีม Sanook! เองก็มีพ่อแม่ที่อยู่ในวัยนี้เหมือนกัน แต่เราใช้วิธีเปิดใจคุยกับท่านก็เลยได้รับรู้ว่าเรื่องหนักใจของคนวัยนี้มีอะไรบ้าง

      - รู้สึกว่าตัวเองอ่อนแอ
     จากการศึกษาพบว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของคนสูงวัยนั้นจะรู้สึกกลัวมากกับความอ่อนแอของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ก่อนหน้านี้เคยยกของหนักๆ ด้วยตัวเองได้ แต่ตอนนี้ไม่สามารถทำได้อีกแล้ว เรื่องที่เหมือนจะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างนี้นี่ล่ะที่ทำให้ความกังวลพอกพูนได้ เพราะจะนำไปสู่ความรู้สึกที่ว่าตัวเองต้องพึ่งพาผู้อื่น แล้วถ้าขอความช่วยเหลือบ่อยๆ ก็กลัวจะโดนมองว่าเป็นภาระ

     - กลัวการรีไทร์
     ลองคิดถึงตัวเราเองสิว่า ถ้าจู่ๆ วันหนึ่ง ชีวิตประจำวันที่เคยตื่นเช้า อาบน้ำแต่งตัว ออกไปทำงาน กลับบ้าน และพักผ่อนมาหลายสิบปีต้องเปลี่ยนไป เราจะรู้สึกว่างเปล่าหรือเคว้งคว้างแค่ไหน พ่อแม่ของเราเองก็คงรู้สึกไม่ต่างไปจากนี้มากสักเท่าไหร่ โดยเฉพาะคนที่ยังอยากทำงานแต่อายุไม่เอื้อเพราะถึงเกณฑ์เกษียณแล้ว จากที่มีเป้าหมายในทุกวันก็กลายเป็นกังวลว่าจะทำอะไรในแต่ละวันดี บางรายที่แย่ไปกว่านั้นคืออาจรู้สึกว่าตัวเองหมดคุณค่า ไม่เป็นที่ต้องการก็เป็นได้

     - สูญเสียความมั่นใจ
     แน่นอนว่าเมื่ออายุมากขึ้นนั้น ร่างกายของเรามีความเปลี่ยนแปลงสารพัด ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้คนสูงวัยรู้สึกสูญเสียความมั่นใจในตัวเองไป ไม่ว่าจะเป็นผิวที่เริ่มหย่อนคล้อย เริ่มลงพุง หุ่นเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม เหล่านี้ล้วนแต่ลดความมั่นใจและนั่นก็เป็นสัญญาณที่ไม่ดีเสียเลย

     - ปัญหาสุขภาพ
     แน่นอนอยู่แล้วว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพก็มากขึ้นตามวัย โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้นทำให้บางครั้งเมื่อเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ก็จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อไปในอนาคตได้ และบางคนก็เลือกที่จะไม่ได้ไปหาหมอเพราะกลัวว่าจะเป็นโรคร้ายแรง ต้องใช้ทั้งเวลาและเงินในการรักษา ซึ่งจะกลายเป็นภาระให้ลูกหลานได้

     Sanook! อาจจะโชคดีตรงที่พ่อแม่ยอมเปิดใจพูดถึงความกังวลที่มีแบบตรงไปตรงมา แต่ถ้าพ่อแม่ของคุณไม่ยอมพูดแบบตรงๆ แล้วล่ะก็ เรามองว่าเป็นหน้าที่ของลูกที่จะช่วยให้พ่อแม่พร้อมกับรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความไม่สบายใจเหล่านี้ โดยเริ่มจาก

     - หมั่นพาพ่อแม่ไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี ซึ่งกิจกรรมนี้นอกจากจะมีผลดีโดยตรงกับสุขภาพของท่านแล้ว ยังทำให้พ่อแม่รับรู้ได้ถึงความใส่ใจของลูกด้วย

     - เชียร์ให้พ่อแม่ทำความรู้จักเทคโนโลยียุคนี้ ศึกษาและพัฒนาทักษะใหม่ๆ ให้ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ข้อนี้นี่เราไม่ได้หมายความว่าจะให้พ่อแม่ของเราพัฒนาไปถึงขั้นเป็น expert ในด้านเทคโนโลยีและดิจิตัล แต่เอาพอแค่ให้ท่านเรียนรู้ที่จะหาความสุขและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ และได้ใช้สมองไปด้วยในเวลาเดียวกัน

     - สร้างความรู้สึกไม่กลัวกับคำว่า “แก่” ให้กับพ่อแม่ การพูดคุยให้ท่านเห็นถึงคุณค่าของประสบการณ์ที่มาจากวัยที่มากขึ้นจะทำให้ผู้สูงวัยรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง และพร้อมที่จะรับความแก่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต โดยไม่กลัวและกังวล



     นอกจากสิ่งเหล่านี้ที่เราสามารถตอบแทนพระคุณท่านด้วยการช่วยให้พ่อแม่เตรียมตัวเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยอย่างมั่นใจแล้ว การหาหลักประกันเพื่อความมั่นคงของชีวิตให้ท่านก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งน่าจะดีกว่าหากเราสามารถเลือกทำประกันเพื่อผู้สูงอายุที่ไม่ต้องกังวลเรื่องของปัญหาสุขภาพให้กับท่าน อย่างประกันชีวิตผู้อาวุโสโอเค (เพื่อผู้สูงอายุ) ที่มีรายละเอียดคือ
     - รองรับความต้องการสำหรับผู้สูงวัยที่ต้องการสมัครในระหว่างอายุ 50 – 70 ปี
     - เริ่มต้นเบี้ยประกันเพียงวันละ 6 บาท
     - ให้ความคุ้มครองตลอดชีวิต โดยมีวงเงินสูงสุดถึง 200,000 บาท
     - สามารถสมัครได้โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ
     พยายามทำความเข้าใจความคิด ความรู้สึกของพ่อแม่แล้วเรียนรู้การเป็นผู้สูงวัยไปพร้อมๆ กับท่านกันเถอะ จะได้ช่วยลดความกังวลและเป็นผู้สูงวัยที่มีความสุข ไม่กลัวคำว่า “แก่”

     ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันชีวิตผู้อาวุโสโอเค (เพื่อผู้สูงอายุ) ได้ ที่นี่





[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook