ชุดไทยจิตรลดา ความสวยสง่า ที่คู่ควรกับหญิงไทย
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/wo/0/ud/10/53657/thai.jpgชุดไทยจิตรลดา ความสวยสง่า ที่คู่ควรกับหญิงไทย

    ชุดไทยจิตรลดา ความสวยสง่า ที่คู่ควรกับหญิงไทย

    2016-10-26T14:15:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

     

    การแต่งกายให้ถูกกาลเทศะ เหมาะสมกับการเข้าถวายความอาลัยพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายในพระบรมมหาราชวัง ทุกคนควรพึงทำตามอย่างเคร่งครัด

    ท่ามกลางความโศกเศร้าของคนไทยทั้งประเทศ ทุกคนร่วมไว้ทุกข์ แสดงอาลัยด้วยการแต่งกายในชุดสีดำ คนที่มีความประสงค์อยากเข้าร่วมถวายสักการะในพระบรมมหาราชวัง ควรแต่งกายให้เรียบร้อยด้วย

    สำหรับคุณผู้หญิงที่ไม่รู้จะแต่งกายอย่างไรให้เหมาะสมที่สุด การแต่งกายด้วย "ชุดไทย" หรือ "ชุดไทยจิตรลดา" ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สมควรเป็นอย่างยิ่ง

    จะเห็นได้ว่าดาราคนดังเลือก "ชุดไทยจิตรลดา" ขณะร่วมพิธีหรือกิจกรรมกันทั้งสิ้น แต่กว่าจะมาเป็น "ชุดไทยจิตรลดา" ที่เห็นกันมากในช่วงนี้ Sanook! Women จะพาไปทราบถึงประวัติที่มากันค่ะ

    ชุดไทยจิตรลดาชุดไทยจิตรลดา

    ประวัติความเป็นมาของชุดไทยพระราชนิยม

    การแต่งกายของมนุษย์ซึ่งเริ่มต้นแต่ยุคอียิปต์ เรื่อยๆ มา จนถึงปัจจุบันเราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆ ตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป การแต่งกายมีการพัฒนาการเรื่อยมาจากการใช้ผ้าผืนพันกายเพื่อปกปิดร่างกาย หรืออาจใช้ช่วยป้องกันการร้อนหนาวของมนุษย์ ต่อมาเป็นชุดคลุมหลวมๆ ที่เรียกว่าทุนิค (Tunic) จนมาสู่การตัดเย็บเพื่อให้พอดีกับรูปร่าง และเป็นแฟชั่นแบบเสื้อต่างๆ มากมายจนถึงปัจจุบัน ความนิยมเป็นครั้งคราว นิยมแฟชั่นหรูหรา หรือ แฟชั่นที่มีรูปแบบเรียบง่าย ความรู้สึกเก่าๆ ได้หวนคืนมา ผู้หญิงเริ่มกลับมานิยมเน้นแฟชั่นที่แสดงออกถึงความเป็นสตรีเพศโดยใส่กระโปรงบานยาว บางช่วงก็กระโปรงแคบสอบสั้นโชว์เรียวขา แฟชั่นก็จะหวนกลับไปกลับมาอย่างนี้

    การแต่งกายแบบไทยของสตรีไทยได้วิวัฒน์ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงเสด็จไปเจริญสัมพันธไมตรี กับต่างประเทศในปี พ.ศ. 2503 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงรับสั่งให้อาจารย์ สมศรี สกุมลนันท์ หาเครื่องแบบทั่วเป็นเอกลักษณ์ของไทย ขึ้นตามประวัติศาสตร์ ท่านจึงได้คิดค้นจากประวัติความเป็นมาแต่ดังเดิม แล้วดัดแปลงให้เข้ากับสมัยนิยมที่ใช้กันทั่วไป คือ "เครื่องแต่งกายชุดพระราชนิยมของไทย" มาจนทุกวันนี้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเป็นผู้ริเริ่มแต่งฉลองพระองค์นี้ บางครั้งก็เรียก "ชุดไทยพระราชนิยม" มีทั้งหมด 8 ชุด 

    ชุดไทยจิตรลดาชุดไทยจิตรลดา

    1 ชุดไทยจิตรลดา (Thai Chitlada)
    ชุดไทยจิตรลดา เสื้อเข้ารูปคอกลมมีขอบ คอตั้ง สาปติดกระดุมด้านหน้า 5 เม็ด แขนยาวจรดข้อมือเข้าชุดกับผ้าซิ่นป้ายหน้า หรือ เป็นเสื้อแขนกระบอก นุ่งกับผ้าซิ่นทอลายขวาง ใช้ได้ในหลาย โอกาส เช่น เป็นชุดเช้าไว้ใส่บาตรไปวัด หรือ ไปงานมงคล งานสำคัญต่าง ๆ

    ชุดไทยจิตรลดา คือ ชุดไทยพิธีกลางวัน ใช้ผ้าไหมเกลี้ยงมีเชิงหรือ เป็นยกดอกหรือตัวก็ได้ ตัดแบบเสื้อกับซิ่น ซิ่น ยาวป้ายหน้าอย่างแบบลำลอง เสื้อแขนยาว ผ่าอก คอกลม มีขอบตั้งน้อยๆ ใช้ในงานที่ผู้ชายแต่งเต็มยศ เช่น รับประมุข ที่มาเยือนอย่างเป็นทางการที่สนามบิน ผู้แต่งไม่ต้องประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ แต่เนื้อผ้าควรงดงามให้เหมาะสมโอกาส

    2 ชุดไทยอมรินทร์ (Thai Amarin)
    3 ชุดไทยบรมพิมาน (Thai Boromphiman)
    4 ชุดไทยจักรพรรดิ (Thai Chakkraphat)
    5 ชุดไทยจักรี (Thai Chakkri)
    6 ชุดไทยเรือนต้น ( Thai Ruean Ton)
    7 ชุดไทยศิวาลัย ( Thai Siwalai)
    8 ชุดไทยดุสิต (Thai Dusit)

    จะมีใครสวยสง่า เรียบร้อย ตามแบบฉบับหญิงไทยใน "ชุดไทยจิตรลดา" บ้าง ตาม Sanook! Women มายลโฉมกันเลยค่ะ

    ขอบคุณข้อมูลประกอบhttp://www.dstd.mi.th/

    ขอบคุณภาพประกอบ : อินสตาแกรม apitsada, annethong, finaleweddingmagazine, pangkwankao, lee_natalie, whanpavarisa, taewaew_natapohn, boompanadda, bellacampen, chermarn, mint_chalidaicepreechaya, ningpanita, maypitchy, myriabenedetti, pooklook_fonthip

    อัลบั้มภาพ 65 ภาพ

    อัลบั้มภาพ 65 ภาพ ของ ชุดไทยจิตรลดา ความสวยสง่า ที่คู่ควรกับหญิงไทย