คุณแม่มือใหม่ควรรู้ กับวิธีดูแลทารกแรกเกิดดุจราวคุณแม่มืออาชีพ !

คุณแม่มือใหม่ควรรู้ กับวิธีดูแลทารกแรกเกิดดุจราวคุณแม่มืออาชีพ !

คุณแม่มือใหม่ควรรู้ กับวิธีดูแลทารกแรกเกิดดุจราวคุณแม่มืออาชีพ !
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนท้องแรกที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน คงอารมณ์เต็มไปด้วยความตื่นเต้นระคนกับความกังวลใจ ไม่ว่าจะเป็นขณะตั้งครรภ์ กลัวลูกน้อยจะเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ หรือเมื่อลูกน้อยคลอดออกมาตั้งแต่วันแรก ตัวเองจะต้องรับมืออย่างไรบ้าง คุณแม่มือใหม่อย่างเพิ่งกังวลและตกใจจนทำให้เกิดความเครียดแบบไม่รู้ตัว แค่หลักการง่ายๆ ที่จะแนะนำต่อไปนี้ ก็จะเป็นตัวช่วยดูแลลูกน้อยในวัยแรกเกิดให้ราบรื่นราวกับเป็นคุณแม่มืออาชีพกันเลยทีเดียวค่ะ

เข้าใจสัญชาตญาณของทารกวัยแรกเกิด

สิ่งที่คนท้องจะพบได้หลังจากลูกน้อยคลอดออกมาแล้ว นั่นก็คือ ธรรมชาติของการเอาตัวรอดที่เด็กทารกจะต้องหาทางให้ตัวเองมีชีวิตรอดให้ได้ในสภาพแวดล้อมใหม่นอกครรภ์มารดา สิ่งแรกที่พวกเขาต้องใช้คือทักษะในการหายใจ คุณแม่ต้องเข้าใจว่าเมื่อลูกน้อยคลอดออกมาเพียงแค่เสี้ยววินาทีแรก ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของพวกเขาจะเริ่มทำงานในทันที

เด็กสามารถที่จะได้ยินเสียงสิ่งแวดล้อมรอบด้านได้ เนื่องจากพัฒนาการของใบหูสมบูรณ์ดีตั้งแต่อายุครรภ์ 7 เดือนแล้ว เด็กจะมีความรู้สึก หนาว ร้อน จะร้องไห้เป็นสัญญาณให้คุณแม่ทราบว่าพวกเขารู้สึกไม่สบายตัว หากเกิดคามเปียก แฉะ หรือรู้สึกหิวนม แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่พัฒนาคือการมองเห็น ซึ่งในช่วงแรกเกิดนี้เด็กทารกจะมองเห็นภาพเป็นลางๆ ขาวดำในระยะไม่เกิน 1 ฟุต

หลักการเตรียมตัวดูแลลูกน้อยในวัย 0 วันขึ้นไป

ตั้งแต่เด็กทารกคลอดออกมา ในวัยแรกเกิดสิ่งที่ต้องทำในการดูแลพวกเขาคือ ตรวจพัฒนาการทางร่างกายก่อนว่ามีอะไรบกพร่องหรือไม่ เด็กจะมีประสาทสัมผัสในการคว้า จับ เมื่อแม่เอานิ้วไปสัมผัสกับมือของลูกน้อย พวกเขาจะค่อยๆ กำมือเข้าหา ในช่วงแรกเกิดเช่นนี้ อาหารสำคัญที่สุดคือ "นมแม่" ซึ่งน้ำนมจะมีการผลิตขึ้นในคนท้องก่อนหน้าที่ลูกน้อยจะคลอดออกมาอยู่แล้ว เพื่อเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะนมน้ำเหลืองที่มีสารภูมิต้านทานโรคในปริมาณสูง

เด็กทารกแรกคลอดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ ทำให้คุณแม่มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะไม่รบกวนช่วงเวลาในการเตรียมตัวฝึกเลี้ยงลูกน้อยในช่วงเดือนแรก และไม่ต้องตกใจหากเด็กจะนอนยาวๆ ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่กินอะไรเลย ซึ่งเป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ ภายในร่างกายยังคงมีการสะสมอาหารจากสายสะดือของคุณแม่เอาไว้อยู่

คุณแม่ลูกอ่อนมือใหม่จะได้พบกับพฤติกรรมที่ไม่คุ้นชินของลูกน้อยแตกต่างจากในช่วงที่ตัวเองเป็นคนท้อง ไม่ว่าจะเป็นอาการแหวะนม อาเจียนออกมาบ่อย หากไม่ถี่ ก็ไม่ถือว่าอันตราย แต่หากถี่เกินไป อาจมาจากหูรูดบริเวณกระเพาะอาหารทำงานหนัก หรือเติบโตไม่เต็มที่ ภาวะท้องอืดในเด็ก การขับถ่ายที่เกิดขึ้นแบบที่คุณแม่ไม่ทันตั้งตัว

พฤติกรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับมือเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ช่วยลดความเหนื่อยในการเลี้ยงดูพวกเขาในช่วงแรกเริ่ม ให้เข้าใจถึงสัญญาณที่เด็กพยายามสื่อสารกลับมานั่นเองค่ะ

ขอบคุณภาพประกอบจาก : pixabay.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook