นางฟ้าของผู้ป่วย “ศศิธร ณ น่าน” ทำไม…? เลือกจะเป็นพยาบาลเอกชน

นางฟ้าของผู้ป่วย “ศศิธร ณ น่าน” ทำไม…? เลือกจะเป็นพยาบาลเอกชน

นางฟ้าของผู้ป่วย “ศศิธร ณ น่าน” ทำไม…? เลือกจะเป็นพยาบาลเอกชน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นกระแสดราม่าหนักเมื่อเดือนก่อนในการสาธารณสุขไทยหลัง ครม. "บิ๊กตู่" มีมติไม่บรรจุพยาบาลลูกจ้างชั่วคราวของรัฐนับหมื่นอัตรา(ต่อมาในการประชุม ครม.23 พ.ค.60 ได้อนุมัติอัตราเพื่อบรรจุทั้งหมดตามที่ขอภายในระยะเวลา 3ปี) "โรงพยาบาลเอกชน" จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่พยาบาลท่านใดรอไม่ไหวและไม่อยากรออีกต่อไป

“ศศิธร ณ น่าน” หรือ “น้องตะนอย” พยาบาลวิชาชีพรุ่นใหม่วัย 24 ปี โรงพยาบาลเปาโลพหลโยธิน ที่ไม่เลือกเป็นพยาบาลในสังกัดโรงพยาบาลรัฐบาลแต่เลือกทำงานพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนได้ให้เหตุผลไว้อย่างน่าสนใจว่าทำไม…? ถึงเลือกเป็นพยาบาลโรงพยาบาลเอกชน

ค่าตอบแทน ความพึงพอใจ และความสุข 

“ถ้ายอมรับตรงๆ ก็คือค่าตอบแทนที่เราพึงพอใจค่ะ เพราะทุกคนที่ทำงานก็มีความหวังอยากจะได้ค่าตอบแทนที่คุ้มค่ากับงานที่เราทำ แต่ถามว่าทำไมไม่เป็นพยาบาลของโรงพยาบาลรัฐบาลโดยส่วนตัวไม่ได้คิดไว้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะเราเลือกเองได้ที่จะอยู่ในที่ๆ เราพอใจและมีความสุขที่จะทำงาน”

ส่วนเรื่องความแตกต่างของการทำงานพยาบาลโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐบาล พยาบาลสาวได้เล่าเสริมว่า รูปแบบงานพยาบาลไม่มีอะไรแตกต่างกัน แต่การเป็นพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชนจะต้องเข้าใจและตระหนักเรื่อง ‘การบริการ’ และ ‘การใส่ใจ’

“สำหรับโรงพยาบาลรัฐบาลส่วนตัวไม่แน่ใจว่าพยาบาลหนึ่งคนต่อคนไข้กี่คน แต่สำหรับโรงพยาบาลเอกชนพยาบาลหนึ่งคนคนดูแลคนไข้ 5 คน ฉะนั้นการดูแลการบริการ และการเข้าถึงคนไข้จะทำให้งานที่ออกมามีความละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งก็สอดคล้องกับจุดประสงค์ของคนไข้ที่เขาเลือกมารักษาที่โรงพยาบาลเอกชนเพราะเขาก็คิดแล้วว่าเขามาโรงพยาบาลเอกชนเพราะอยากได้รับการบริการและการใส่ใจเป็นพิเศษ


‘ความต้องการ’ คนไข้คืองานหนักที่ ‘พยาบาลเอกชน’ ต้องเข้าใจ

“เราก็ต้องยอมรับให้ได้ค่ะถ้าเลือกจะเป็นพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน เพราะคนไข้ที่เลือกเข้ามารักษาที่โรงพยาบาลเอกชน ต่างมีความคาดหวังมากเพราะเขาพร้อมที่จะเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเราก็ต้องมองในมุมที่เอาใจเขามาใส่ใจเราเขาป่วยมาเขาอยากที่จะหาย เราต้องอธิบายแผนการรักษาให้เข้าใจ ว่า ณ ตอนนี้ได้รับการรักษาไปถึงขั้นตอนใดบ้าง อย่างปีนี้ที่หอพักผู้ป่วยที่ทำอยู่เป็นส่วนที่ดูแลคนไข้ต่างชาติ โดยเฉพาะคนไข้โซนอาหรับ และกำลังจะเปิดรับคนไข้พม่า กัมพูชา ซึ่งการรับคนไข้หลากหลายเชื้อชาติต่างวัฒนธรรมเราก็ต้องรับมือกับความต้องการคนไข้หลากรูปแบบเมือเขามารักษาคือเขาต้องการที่จะหายจากโรค และมีเราคอยดูแลเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลาที่เขาพักรักษาตัวอยู่ที่นี่กระทั่งจนดีขึ้น การที่คนไข้ได้กลับบ้าน ถือเป็นความสุขของคนอาชีพพยาบาล เพราะเหมือนเราได้เป็นส่วนหนึ่งทำให้เขาหายกลับมาเป็นปกติอีกครั้งค่ะ”

แม้จะรู้ว่าอาชีพพยาบาลเอกชนนอกจากความต้องการคนไข้ที่ค่อนข้างสูงบวกกับงานที่ค่อนข้างหนัก แต่พยาบาลสาวก็มีทางออกคือ ‘การสร้างกำลังใจให้ตัวเอง’ โดยไม่นำปัญหาจากที่ทำงานมาเก็บสะสมเมื่องานจบทุกอย่างก็ต้องจบ

“อาชีพของพยาบาลต้องสร้างกำลังใจกับตัวเองบ่อยๆ อย่างเช่น เราเจอปัญหาอะไรระหว่างทำงานที่ทำให้เรารู้สึกในทางลบเราก็ต้องเปลี่ยนความคิดตัวเองให้เป็นบวกให้เร็วที่สุด เพราะอาชีพของพยาบาลทำหน้าที่เป็นเหมือนศูนย์กลาง ศูนย์รวมของสหสาขาวิชาชีพ แพทย์ กายภาพบำบัด เภสัช งานของเราต้องประสานทุกหน่วยและทุกอย่าง ถ้าระหว่างในการทำงานเราเจอปัญหาอะไรแล้วเรารู้สึกลบไม่คิดบวกไม่มีการสร้างกำลังใจให้ตัวเอง แน่นอนว่านอกจากกำลังใจที่ไม่มีให้ตัวเองแล้วเราจะไม่รู้สึกอยากทำงาน และงานที่ออกมาก็จะไม่มีคุณภาพ ส่วนตัวจะใช้วิธีคิดว่าให้ทุกอย่างจบงานจบแล้วพรุ่งนี้ค่อยเริ่มต้นใหม่ แต่ถ้าเราไม่จบเก็บปัญหาสารพัดที่เจอมาคิดเราจะเครียดเราจะไม่มีกำลังใจและไม่มีแรงผลักดันให้ตัวเองทำงานตรงนี้ จากงานที่เหนื่อยอยู่แล้วเราก็จะเหนื่อยเพิ่มขึ้นไปอีก”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook