ลูกน้อยในครรภ์ตัวเล็ก มีวิธีเพิ่มน้ำหนักอย่างไรให้ได้ผล

ลูกน้อยในครรภ์ตัวเล็ก มีวิธีเพิ่มน้ำหนักอย่างไรให้ได้ผล

ลูกน้อยในครรภ์ตัวเล็ก มีวิธีเพิ่มน้ำหนักอย่างไรให้ได้ผล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การตั้งท้องเป็นเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อน แม้จะเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจสำหรับคุณแม่มือใหม่ แต่มันก็มักจะตามมาด้วยความกังวลใจอย่างมากมาย โดยเฉพาะปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ของการเปลี่ยนแปลงทางสรีระที่คุณแม่ไม่เคยเจอมาก่อน ปัญหาลูกน้อยในครรภ์ที่ตรวจพบว่ามีขนาดตัวเล็กกว่าเกณฑ์ที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับอายุครรภ์ตามมาตรฐาน ทำให้คุณแม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนรู้สึกกังวลใจ กลัวลูกน้อยจะคลอดออกมาแล้วไม่แข็งแรง

หากคุณแม่รู้สึกว่าลูกในท้องตัวเล็กจนเกินไป ลองมาดูวิธีเพิ่มน้ำหนักครรภ์ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลูกน้อยของคุณแม่จะได้คลอดออกมามีน้ำหนักปกติ และแข็งแรงสมบูรณ์ปลอดภัยหายห่วงกันดีกว่าค่ะ

การสังเกตว่าจะลูกน้อยในครรภ์มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่ ?

หลักการสังเกตว่าทารกในครรภ์ของคุณแม่รู้สึกว่าไม่โตตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ซึ่งบางครั้งความสงสัยนี้สามารถพบได้โดยอาจไม่ใช่การตรวจจากข้อมูลทางการแพทย์ ซึ่งพบว่าหากน้ำหนักตัวของคุณแม่ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่ควรจะเป็น แน่นอนว่าน้ำหนักตัวของแม่และลูก ย่อมมีความสัมพันธ์กัน หากเป็นการตั้งครรภ์เด็กทารกเพียงคนเดียว น้ำหนักตัวของคุณแม่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุครรภ์เริ่มเข้าสู่เดือนที่ 3 และเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ แต่กรณีที่้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น มาพร้อมกับอาการแพ้ท้องด้วย ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติที่อาจจะมีน้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ ได้ เพราะคุณแม่กินอาหารได้น้อยลงก็เป็นได้

การเพิ่มน้ำหนักให้เจ้าตัวน้อยในครรภ์เติบโตได้มาตรฐาน

สำหรับแนวทางในการรักษา หากพบว่าปัญหาลูกน้อยมีน้ำหนักตัวต่ำมากเกินไป ทำให้เด็กทารกในครรภ์ตัวเล็กมากกว่าปกติ สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำได้อย่างง่ายที่สุด นั่นก็คือการเลือกเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งแตกต่างจากการกินอาหารเพื่อเน้นพลังงาน กินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ นม เนื้อสัตว์ โดยทั้งหมดควรเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป

ในระหว่างวันคุณแม่ตั้งครรภ์ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด เพราะอาการเหล่านี้จะไปส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยให้หยุดชะงัก เสี่ยงที่เด็กจะมีขนาดตัวเล็กกว่าเกณฑ์ได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าที่เหมาะสม

หากมีโรคประจำตัวควรดูแลตัวเองให้ดี พบแพทย์และรักษาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่หากความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีภาวะอื่นที่น่าสงสัยแทรกซ้อนมาด้วย ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุ จะได้ดูแลรักษาภาวะผิดปกติที่อาจจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยได้ทันนั่นเองค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook