รับมือกับคำวิจารณ์แบบมืออาชีพ

รับมือกับคำวิจารณ์แบบมืออาชีพ

รับมือกับคำวิจารณ์แบบมืออาชีพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ห้วงเวลาปลายปีอย่างนี้ นอกจากจะเป็นช่วงของการประเมินผลงาน ก็ยังอาจรวมถึงการเปิดอกเปิดใจกันถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละคน แต่คำวิพากษ์วิจารณ์ไม่ว่าจะร้ายกาจหรือไม่ก็ตาม ก็ยากที่จะทำใจทั้งนั้น แต่ว่ากันว่าวิธีการรับมือกับคำวิจารณ์ของคุณนี่เองที่บอกได้ว่า คุณจะยิ่งใหญ่ต่อไปได้หรือเปล่าในอนาคต ถ้าคุณยังทำได้ไม่ดีพอ วันนี้เราก็มีเคล็ดลับมาฝาก

คำวิจารณ์สามประเภท

คำวิจารณ์อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท นั่นก็คือ คำวิจารณ์ที่ยุติธรรมและเป็นไปตามความจริง คำวิจารณ์ที่อาจเป็นจริง แต่้นำเสนอออกมาในแบบเป็นปฏิปักษ์ และคำวิจารณ์ที่ไม่เป็นจริงและเหยียดหยาม อย่างไรก็ตาม คำวิจารณ์ถือเป็นโอกาสในการปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น

มันอาจมีคนที่สะใจกับคำหยาบคาย แต่คำวิจารณ์ส่วนใหญ่มักมีเจตนาที่สร้างสรรค์ การตอบโต้ ทุ่มเถียง หรือการทำตัวไม่น่านับถือกับคำวิจารณ์ที่สร้างสรรค์ไม่ให้ประโยชน์อะไรเลย นอกจากอาจทำให้เรื่องเล็กน้อยกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้น ความเต็มใจที่จะรับคำวิจารณ์ในเชิงสร้างสรรค์ และทำอะไรบางอย่างกับมัน เป็นสัญญาณของความเป็นผู้ใหญ่และความเป็นมืออาชีพ

ใครวิจารณ์กันล่ะ

ก่อนอื่นให้แน่ใจว่าคุรถูกวิจารณ์จริงๆ และดูว่าคำวิจารณ์มาจากไหน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ลูกค้า หรือเจ้านาย มันอาจเป็นความอิจฉาได้หรือเปล่า แม้แต่ผู้จัดการระดับอาวุโสหลายคนก็ยังอาจรู้สึกถูกคุกคามได้จากพนักงานที่เด็กกว่าซึ่งกำลังไต่เต้าขึ้นมาในบริษัท ส่วนเพื่อนร่วมงานก็อาจวิจารณ์คุณเพื่อทำให้ความสามารถของเขาดูเหนือกว่า แต่คำวิจารณ์จากลูกค้ามักจะไม่ค่อยมาจากความอิจฉา และอาจะไม่มีอะไรมากไปกว่าแค่ความต้ิองการบ่นว่า

การดูว่าาคำวิจารณ์มาจากไหน คืิหัวใจสำคัญสำหรับการหาวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับมัน อย่างเช่น ในกรณีของ อาร์โนลด์ ชวาร์เซเนกเกอร์ ก่อนการเลือกตั้งที่แคลิฟอร์เนียเมื่อปี 2003 ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ฝ่ายตรงข้ามได้โจมตีดาราดังด้วยข้อกล่าวหาเรื่องการคุกคามทางเพศ ซึ่งเขาเลือกที่จะขอโทษ และทำให้ไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา การปฏิเสธจะกระพือเปลวไฟให้ลุกฮือขึ้นไปอีก เช่นที่เรได้เห็นจากกรณีของ บิล คลินตัน

มืออาชีพต้องรับมือแบบนี้

- มันเป็นความผิดของคุณหรือเปล่า วางอีโก้ของตัวเองไว้ซะ ลองฟังฟีดแบ็กอย่างเป็นกลาง และให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจมันอย่างถูกต้อง จากนั้นพิจารณาทางเลือกที่จะพลิกสถานการณ์ร้ายให้กลายเป็นดี

- อย่าหาแพะรับบาป อย่าแก้ตัว โทษคนอื่น หรือไม่ยอมรับความจริง ด้วยความหวังว่าประเด็นนั้นๆ จะจางหายไปเอง บ่อยครั้งคำอธิบายฟังดูจะคล้ายคำแก้ตัวหรือปฏิเสธโดยไม่ได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น การยอมรับและหาทางออกอย่างชัดเจนจะช่วยได้มากกว่า

- อย่าต่อสู้กับระบบ คุณอาจถูกวิจารณ์ในเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของคุณ บางทีนโยบายของบริษัทคือเป้าหมายที่แท้จริง หรือทั้งแผนกเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อย่าถือเป็นเรือ่งส่วนตัว และจัดการกับสถานการณ์เท่าที่จะทำได้ ถ้าคุณเป็นผู้นำควรรับเผือกร้อนแทนทีมของคุณก่อน แล้วค่อยพูดคุยกับทีมงานเพื่อหาทางออกด้วยกัน

- ยอมรับข้อจำกัด ถ้าคุณถูกวิจารณ์ในข้อที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ควรแบ่งงานให้คนอื่นเข้ามาร่วมรับผิดชอบ และรู้ว่าควรแบ่งงานให้คนอื่นในเรื่องใดบ้าง โดยไม่เ้อาอีโก้ส่วนตัวเข้ามาขวาง คำวิจารณ์ในเรื่องธรรมชาติของคนเราอาจเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับ แต่คนที่ประสบความสำเร็จมักเรียนรู้ที่จะวางเฉยต่อคำวิจารณ์ ซึ่งไม่เกี่ยวกับความสามารถในการทำงานของพวกเขา อย่างเช่นเมื่อนักข่าวเอ่ยถึงทรงผมที่เป็นเอกลักษณ์ โดนัลด์ ทรัมป์ ก็จะเพียงแค่หัวเราะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook